ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,164 ผู้ชมทั้งหมด :43,974,293 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :9,042
๙๙๙ ปู่ฤาษีนารอด เนื้ิอเงินยุครัชกาล ขนาดเล็ก มีแต่งเก่าสุดคลาสสิก
ฤๅษีนารท หรือ ฤๅษีนารอด
พระนารท หรือ พระนารอด หรือ พระนาระทะ แล้วแต่จะเรียก
เป็น1 ใน พระประชาบดี (เทวฤษีที่เป็นพระผู้สร้าง) ๑๐ องค์ คือ เป็นผู้ประดิษฐ์ "วีณา" -- พิณน้ำเต้า
พระฤๅษีนารทบำเพ็ญพรตอยู่เชิงเขาโสฬส นอกเมืองลงกา เมื่อคราวหนุมานไปถวายแหวนแก่นางสีดาได้เหาะเลยเมืองลงกาเพราะไม่รู้จักทาง ไปพบกันเข้าจึงเกิดการประลองฤทธิ์กัน แต่หนุมานเกิดพ่ายแพ้ต่อฤทธิ์พระฤๅษีจึงยอมอ่อนน้อม และเมื่อคราวหนุมานไปเผากรุงลงกาไฟที่ติดหางหนุมานจะดับอย่างไรก็ไม่สามารถดับได้ หนุมานจึงไปหาพระฤๅษีนารทให้ช่วยดับไฟให้
พระฤาษีนารอด เป็นครูของฤาษีทั้งปวง ทรงกำเนิดจากเศียรที่ ๕ ของพระพรมธาดา ทรงเพศเป็นฤาษี พระฤาษีนารอดถือว่าเป็นฤาษีองค์แรกของไตรภูมิ ไม่ว่าจะมีการบูชาสิ่งใด หากไม่มีการเชิญท่านแล้ว พิธีกรรมนั้นมักไม่สมบูรณ์
รูปลักษณ์ของท่านที่สร้างเป็นหัวโขน(ศรีษะครู)สำหรับบูชาเป็นรูปหน้าพระฤาษีหน้าปิดทอง สวมลอมพอกฤาษี มี(กระดาษ)ทำเป็นผ้าพับเป็นชั้นลดหลั่นกันไป เสียบอยู่กลางลอมพอก
สิ่งที่เกี่ยวกับพระฤาษีนารอด เพิ่มเติม
พระรอดเป็นพระเครื่องราง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้พระสมเด็จฯ และพระนางพญา ได้ถูกขนานนามว่าเป็น " เทวีแห่งนิรันตราย " ทั้งได้แสดงคุณวิเศษทางแคล้วคลาดเป็นที่ประจักษ์มาแล้วมากมาย ตามตำนานกล่าวว่า "พระนารทฤาษี" เป็นผู้สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้น จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พระนารท" หรือ "พระนารอด" ครั้นต่อมานานเข้ามีผู้เรียกและผู้เขียนเพี้ยนไปเป็น "พระรอท" และในที่สุด ก็เป็น"พระรอด" อีกทั้งเหมาะกับภาษาไทยที่แปลว่า รอดพ้น จึงนิยมเรียกพระพิมพ์เครื่องรางชนิดนี้ว่า พระรอด เรื่อยมาโดย ไม่มีผู้ใดขัดแย้ง พระรอดพบในอุโมงค์ใต้เจดีย์ใหญ่วัดมหาวัน หรือที่เรียกว่า มหาวนาราม ณ จังหวัดลำพูน ซึ่งปรากฏอยู่ถึงจนปัจจุบันนี้ อนึ่ง วัดมหาวันเป็นวัดโบราณของมอญลานนาในยุคทวาราวดี ขณะที่พระเจ้าเม็งรายยกทัพมาขับไล่พวกมอญออกไปราว พ.ศ.1740 นั้น ก็พบว่าวัดนี้เป็นโบราณสถานอยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นจึงไม่น่ามีปัญหาใดเลยว่า พระรอดนี้ควรมีอายุ เกินกว่าพันปีเป็นแน่ แต่เพิ่งมาพบเมื่อประมาณ 50 ปีมานี่เอง ๙๙๙