" ตะกรุดพิสมรใบลานบังปืน 1ใน9 เครื่องรางมงคลของเมืองไทย "
ตะกรุดพิสมรใบลาน หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย ลูกนี้ขนาดมาตราฐาน(เล็กกว่าเหรียญบาทหน่อย) ลงรักแดง มีทองเก่าเชือกมัดมาเดิม ผิวหิ้งฝุ่นขี้ยุงแบบบ้านๆ เห็นใบลานชัดเจน คลาสสิกไปอีกแบบครับ ลายถักฟอร์มมาตราฐาน รักเก่ามันส์ลึกถึงยุค ดูง่าย "ตัวจริง" ลูกสวยๆขนาดงามๆ ชั่วโมงนี้หาสวยๆแท้ๆยาก เป็นเครื่องรางยอดนิยมตลอดกาล ของท่านเด่นทางด้านแคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุตม์ เป็นอย่ายิ่ง.............สำหรับคอเครื่องรางชอบของดูง่าย ของสวยแชมป์ ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง เหมาะเลี่ยมสามห่วงแขวนไว้กลางสร้อย สนใจสอบถามได้ครับ (ดีกรีติดที่รางวัลที่ 2 งานจันทบุรี 23พ.ย. 57)
08-222-033-04 / LINE ID : 6champ
" 1 ใน 9 เครื่องราง ที่ควรหามาติดกาย "
" หมากดีที่วัดหนัง ถ้าเบี้ยขลังวัดนายโรง ไม้ครูคู่วัดอินทร์ส่วนมีดบินวัดหนองโพธิ์ พิสมรวัดพวงมาลัย ครั่งเหลือร้ายวัดโตนดหลวง ราหูคู่วัดศรีษะทอง เเหวนอักขระต้องวัดหนองบัว ลูกเเร่ที่วัดบางไผ่ ฤทธิ์เหลือร้ายหาใดปาน ทุกสิ่งล้วนเป็นมงคล ทั่วทุกคนควรค้นหา ติดกายยามญาตตรา ภัยมิกล้ามาเเพ้วพาน "
===> กรรมวิธีการสร้างตะกรุดพิสมร
ตะกรุดพิสมรหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย สมุทรสงคราม ทำจากใบลานบ้านบางปืน อ.อัมพวา สมุทรสงคราม นัยว่าชื่อบ้านบางปืน(บังปืน) คือ การข่มนามแจ้งเทพ ในสมัยนั้นดงใบลานของบางปืน การคมนาคมลำบากยากยิ่ง ไม่ง่ายเหมือนอย่างสมัยนี้ เมื่อท่านสั่งให้ลูกศิษย์เดินทางไปตัดใบลานจากบ้านบางปืน มักมีผู้ถามหลวงพ่อแก้วว่า "ทำไมถึงต้องไปเอาไกลขนาดนั้น"หลวงพ่อแก้วตอบว่า"อยากได้ของดีก็ต้องรี่ไป เอา ไกลแค่ไหนถ้าไม่ไป ก็ไม่ได้ของดี"เมื่อได้ใบลานจากบางปืนมาแล้ว ท่านจะตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดประมาณ 5-6 นิ้ว แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง จากนั้นจึงนำมาลงอักขระบนใบลาน ด้วยตัวขอม อ่านได้ว่า "ภู ภิ ภู ภะ"(หัวใจเสือสมิง บางทีก็เรียกว่า หัวใจสี่สหายครับ) ล้อมรอบด้วยตัว "มิ" ไว้ตรงกลาง ประกอบด้วยอักขระหนุนตามสมควรฤกษ์ยามตอนที่ท่านทำตะกรุดพิสมร เล่ากันว่าแม้จะมีเสียงนกร้องระงมทั่วป่า พอท่านเริ่มบริกรรมแล้วเริ่มเขียนอักขระเท่านั้น สรรพเสียงก็จะเงียบสงัด จนท่านลงอักขระครบถ้วนถึงจะกลับมาส่งเสียงเซ็งแซ่เหมือนเดิม หลวงพ่อบอกถือว่าเป็นฤกษ์มหาอุตอย่างยิ่ง ม้วนถักทอด้วยด้ายสายสินธิ์ ลงรักหรือยางไม้บางชนิดกันสึกเร็ว ปลุกเสกอย่างเข้มขลัง โดดเด่นด้านแคล้วคลาดคงกระพัน กันคุณไสย กันมีดกันปืนดีนักแลฯ