" ตะกรุดหนังหน้าผากเสืออันดับ 1 แห่งเมืองกรุงเก่าอยุธยา "
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา หนึ่งในเกจิยุคสงครามโลกที่โด่งดัง / / / ดอกนี้ขนาดเล็กยาวเพียง 1 นิ้ว เท่านั้น มัดสามเปราะ ลงบรอนทองเต็มทั้งดอก ฟอร์มมาตราฐานสากล ดอกนี้ตัวจริงเสียงจริง ซึ่งพบเจอและหมุนเวียนในวงการน้อยมาก และเป็นดาราในหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลัง สนใจสอบถามได้ครับ
===> 08-222-033-04 / LINE ID : 6champ <==
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดอยุธยา หนึ่งในเครื่องรางเสือที่ทรงคุณค่าและหายากยิ่ง หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ท่านเริ่มสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือเมื่อปี พ.ศ. 2490 เมื่อมีคนเอาหนังเสือโคร่งตัวหนึ่งมาถายหลวงพ่อเพื่อใช้เป็นอาสนะรับแขกหรือใช้นั่งกรรมฐาน หลวงพ่อจงท่านกลับไม่ใช้เก็บไว้ในกุฏิ พระภิกษุรูปหนึ่งภายในวัดเห็นว่า ถ้าเอามาทำตะกรุดแจกจ่ายให้กับผู้มีจิตศรัทธาในองค์ท่านหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกจะได้ประโยชน์มากกว่า จึงเรียนให้หลวงพ่อจงท่านทราบ ซึ่งหลวงพ่อจงท่านก็เห็นด้วย
กรรมวิธีการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ของหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
การสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกจึงได้เกิดขึ้นตั้งแต่บัดนั้น โดยนำหนังเสือมาตัดเป็นแผ่นขนาดเท่าตะกรุด จากนั้นนำไปลอกขนออกก็มีไม่ลอกขนออกก็มี แล้วแต่ความเหมาะสมของหนังเสือชิ้นนั้นๆ แล้วจึงทำพิธีลงอักขระเลขยันต์ด้วยกระทู้เจ็ดบท จากนั้นจึงนำมาม้วนเป็นตะกรุด ผูกด้วยเชือกหรือสายสิญจน์สามเปราะ แต่ละเปราะกำกับด้วยอักขระ มะ อะ อุ หรือนำเชือกหรือเชือกสายสิญจน์มาควั่นถักจนเต็มความยาวของตะกรุด หลังจากนั้นนำมาทาด้วยยางมะพลับแล้วปิดทอง พอแห้งสนิทดีแล้วท่านหลวงพ่อจงก็จะนำเข้าพิธีปลุกเสก การปลุกเสกตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ของท่านหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกนั้น ท่านจะใช้คาถากำกับไปทางด้านมหาอุตม์ แต่เคยมีผู้ถามท่านว่า ใช้ในทางเมตตามหานิยมจะใช้ได้หรือไม่ หลวงพ่อจงท่านก็ตอบว่า " ได้ "
อุปเท่ห์วิธีการใช้ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ของหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
ใช้ดีทางเมตตามหานิยม มหาอำนาจ แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี แลกันเขี้ยวงา กันไข้ป่าดง กันสัตว์ร้ายทางบกทางน้ำ เป็นเสน่ห์แก่ชายหญิง ไปเหนือไปใต้สารทิศใดมีผู้คนเกรงขาม เอาไว้แก่ตัวคนพาลจะทำร้ายมิได้ แขวนไว้หัวนอน กันโจรผู้ร้าย กันฟืนไฟต่างๆ ใช้ได้ ๑๐๘ ประการ ดีนักแล เมื่อท่านจะไปไหน ให้ระลึกถึงหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ตั้งนะโม 3 จบ แล้วท่องพระคาถาด้วย “อิทธิ ฤทธิ พุทธนิมิตตัง ขอเดชะเดชัง ขอเดชเดชะ จงมาเป็นที่พึ่งแก่ มะอะอุ บัดเดี๋ยวนี้ด้วยเถิด” ว่าสามเที่ยวหรือเจ็ดเที่ยวแล้วนำพกพาติดตัวป้องกันภัยได้ ๑๐๘ ประการแล