ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,164 ผู้ชมทั้งหมด :43,974,293 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :6,709

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
ราหู หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง (กะลาเผือก ศิลป์ทรงเครื่อง ใส่เสื้อลายตาข่ายยุคต้น จารครบสูตร)
ราคา :
โชว์เครื่องราง
รายละเอียด :

๙๙๙ ราหู หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง นครปฐม

 

(กะลาเผือก ศิลป์ทรงเครื่อง ใส่เสื้อลายตาข่ายยุคต้น จารครบสูตร)

 

ขนาด 2*3 cm แบบเก๋าๆ จัดมันส์จี้ดดดด!!! วรรณะผิวนวลจันทร์..,หลังขี้ยุงตึม!!!

 

 

<< Cr..,คุณแสบ นครปฐม, คุณป๊อป นครปฐม, คุณเติ้ง-ปุ่น รักษ์ศิลป์ >> 

 

ป๊อป นครปฐม‎กลุ่มคนรักและศรัทธา พระราหูกะลาแกะ หลวงพ่อน้อย นาวารัตน์ อ.ปิ่น วัดศรีษะทอง

@@เปิดเผยความหมายการแกะลายใต้แขนพระราหู!!@@

 

วันนี้ทางคณะแอดมินขออนุญาตอธิบายเรื่องการแกะลายด้านล่างใต้แขนพระราหูที่ถูกเรียกด้วยความเข้าใจผิดเป็นลูกน้ำบ้าง, ดอกไม้บ้าง ฯลฯ ซึ่งที่จริงแล้วลายดังกล่าวนั้นมีชื่อเรียกที่ถูกต้องและมีความหมายตามแต่ละลายนั้นๆ โดยข้อมูลนี้อ้างอิงตามคำบอกเล่าที่ได้สัมภาษณ์ลุงศรี (ใหญ่) เมื่อปี 2548 และการพูดคุยสอบถามเพิ่มเติมจากลุงหนุ่ยบุตรชายลุงศรีในเวลาต่อมา

 

ก่อนอื่นต้องขอกล่าวถึงช่างแกะพระราหูคู่บุญของหลวงพ่อน้อยที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้นซึ่งก็คือ "ลุงศรี (ใหญ่ ) ไชยราษฎร์" ท่านเปรียบเสมือนนักปราชญ์ในด้านการแกะกะลา ซึ่งลุงศรีได้แรงบันดาลใจในการแกะศิลป์ของพระราหูมาจากลิเกโขนที่ท่านชื่นชอบเป็นการส่วนตัว และลิเกโขนยังเป็นสิ่งที่ชาวบ้านในละแวกนั้นคุ้นเคยและใช้แก้บนในการบนบานพระราหูมาตั้งแต่สมัยก่อน

 

ลุงศรีท่านสามารถอธิบายรูปร่างลักษณะของพระราหูผ่านศิลปะการแกะตามจินตนาการของท่านได้อย่างงดงามและมีเอกลักษณ์ โดยครั้งนี้จะเปิดเผยความหมายการแกะลายใต้แขนซึ่งแฝงบทบาทต่างๆของพระราหูไว้อย่างแยบยล

 

ลายแกะต่างๆแยกได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้ 

<< Cr : ป๊อป นครปฐม (ข้อมูล) , พี่เติ้ง รักษ์ศิลป์//Pun Parunya // (เรียบเรียง,รูปภาพพระราหู) , พี่แสบ นครปฐม //Sab Nat// , พี่มล เชือกคาด //กมล วิริยะตลอดกาล // ( รูปภาพพระราหู ) ตลอดจนแอดมินทุกๆท่าน [ Anan Kannasoot,Ohm Nologo,Tang Sasomsub,ลิ้ม นครปฐม ] >>

 

1. ลายเหนือเมฆ (หรือเมฆม้วน) (รูปพื้นสีเขียว) :

เนื่องจากพระราหูเป็นเทพที่มีอิทธิฤทธิ์ทรงเดชานุภาพครอบคลุมถึงสามโลก คือ โลกสวรรค์ โลกมนุษย์ และโลกนรก ด้วยอิทธิฤทธิ์ของพระราหูที่มีมากมายแม้ร่างกายท่อนล่างจะไม่มี ทำให้เวลาพระราหูเดินทางไปไหนก็ตามจะลอยอยู่บนท้องฟ้าโดยมีพาหนะเป็นเมฆหมอก ดั่งคำกล่าวที่ว่า "มาเหนือเมฆ" จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า "เหนือเมฆหรือเมฆม้วน" แบบนี้นั่นเอง

 

2. ลายสุริยัน-จันทรา (รูปพื้นสีฟ้า) :

หลายๆท่านคงเคยได้ยินกันมาแล้วว่าหลวงพ่อน้อยท่านทราบล่วงหน้าเรื่องการเกิดสุริยคลาสและจันทรคลาส ตามคำกล่าวมีอยู่ปีหนึ่งที่ได้เกิดสุริยคลาสและจันทรคลาสขึ้นในปีเดียวกัน จึงเป็นที่มาของการแกะแบบ "สุริยัน-จันทรา" ซึ่งตามรูปประกอบจะเห็นได้ว่าลายใต้แขนพระราหูอมจันทร์นั้นจะแกะเป็นดวงพระอาทิตย์กำลังขึ้นมาระหว่างกลางภูเขา นอกจากนี้ตามวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ พระอาทิตย์ พระจันทร์ และพระราหู ยังเป็นพี่น้องกันอีกด้วย

 

3. ลายเหนือสมุทร (รูปพื้นสีดำ) :

อิทธิฤทธิ์ของอสูรเทพราหูนั้นพิสดารอย่างยิ่ง เมื่อแรกกำเนิดนั้นมีร่างกายครึ่งบนเป็นยักษ์ครึ่งล่างเป็นพญานาค (อันเป็นที่มาของการแกะพระราหูเป็นทรงเสมาซุ้มพญานาคซ้ายขวา) มีร่างกายสีทองอมดำ ด้วยหน้าที่พระราหูนั้นเป็นผู้ควบคุมธาตุนำ้และธาตุลมบนสวรรค์จึงเกิดเป็นลักษณะการแกะพระราหูลอยอยู่ "เหนือผืนน้ำมหาสมุทร" แบบนี้ขึ้น

 

4. ลายเหนือดาว (รูปพื้นสีเหลือง) :

ตามรูปประกอบหลายท่านคงเคยเข้าใจว่าใต้แขนพระราหูนั้นแกะเป็นดอกไม้สี่กลีบ ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่อย่างที่คิด เพราะดอกไม้ที่เข้าใจนั้นจริงๆคือ "ดวงดาวบนท้องฟ้า" ดั่งที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าพระราหูนั้นมีอิทธิฤทธิ์ถึงสามโลกซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือชั้นสวรรค์ (อยู่เหนือท้องฟ้าและกลุ่มดาว) อีกทั้งในทางโหราศาสตร์พระราหูยังมีอิทธิพลส่งผลเกี่ยวกับเรื่องฤกษ์ยามอีกด้วย

 

5. ลายผ้าทิพย์เทวดา (รูปพื้นสีแดง) :

ลักษณะลายแกะนี้อ้างอิงถึงพระราหูตามวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ เมื่อครั้งแปลงกายเป็นเทวดา "ทรงผ้าทิพย์" ขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อแอบลอบดื่มน้ำอมฤตที่เหล่าเทวดาได้ทำพิธีเกษียรสมุทร แต่พระอาทิตย์และพระจันทร์ได้เห็นเข้าจึงนำเรื่องไปทูลพระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงทราบจึงขว้างจักรไปถูกกลางตัวพระราหูขาด 2 ท่อน แต่พระราหูได้ดื่มน้ำอมฤตไปถึงกลางลำตัว ร่างท่อนบนจึงเป็นอมตะ จากนั้นทุกครั้งที่พระราหูเจอพระอาทิตย์และพระจันทร์จึงได้เข้าไปจับกินด้วยความโกรธจนเกิดเป็นสุริยคราสและจันทรคราส

 

ขอกล่าวย้ำอีกครั้งว่าบทความนี้กล่าวถึง "การแกะลายด้านล่างใต้แขนพระราหูเท่านั้น" ไม่ใช่ "การอธิบายศิลป์แบบต่างๆของพระราหู" โดยศิลป์หน้าเดียวกันอาจแกะลายใต้แขนได้หลายแบบ ยกตัวอย่างตามรูปที่ลงประกอบ "ลายเหนือเมฆ", "ลายสุริยัน-จันทรา" และ"ลายผ้าทิพย์เทวดา" เป็นศิลป์นิยมหน้าเดียวกัน แต่ลายใต้แขนแกะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่นเดียวกันศิลป์หน้าอื่นๆ อาทิ หน้าจีน หน้านกฮูก หน้ายักษ์ ก็อาจมีการแกะลายใต้แขนหลายแบบแตกต่างกันไปภายใต้ 5 ลักษณะที่กล่าวไว้ นอกจากนี้ยังมีพวกศิลป์เศียรครูและศิลป์โบราณบางแบบที่แกะเฉพาะหน้าพระราหูอย่างเดียว ซึ่งเรื่องศิลป์การแกะหน้าต่างๆนี้ขอยกยอดไปอธิบายในครั้งต่อไป 

 

สุดท้ายบทความด้านบนนี้เขียนขึ้นด้วยความรักและความศรัทธาต่อหลวงพ่อน้อย พระอาจารย์ปิ่น พระราหู และครูบาอาจารย์สายวัดศีรษะทอง รวมทั้งเพื่อเชิดชูลุงศรี (ใหญ่) หากมีสิ่งใดผิดพลาดคณะแอดมินขอน้อมรับแต่เพียงผู้เดียว ขอบคุณครับ 

 

<< Cr : ป๊อป นครปฐม (ข้อมูล) , พี่เติ้ง รักษ์ศิลป์//Pun Parunya // (เรียบเรียง,รูปภาพพระราหู) , พี่แสบ นครปฐม //Sab Nat// , พี่มล เชือกคาด //กมล วิริยะตลอดกาล // ( รูปภาพพระราหู ) ตลอดจนแอดมินทุกๆท่าน [ลิ้ม นครปฐม,Anan Kannasoot,Tang Sasomsub,Ohm Nologo ] >> ๙๙๙

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
085-8798569
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด