ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,164 ผู้ชมทั้งหมด :43,974,293 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :14,820
อุติ่งงาแกะเก่า ยอดเครื่องรางเมตตามหาเสน่ห์ไทใหญ่ล้านนา
เครื่องรางงาแกะอุติ่งนี้ เป็นเครื่องรางของชาวไทยใหญ่ สร้างจากตำนานของ ขุนแสงอุติ่ง ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ตามความเชื่อของไทใหญ่ ซึ่งเป็นผู้เก่งทั้งทางรบทางรัก สามารถบังคับโขลงช้างได้ เมื่อออกรบครั้งได้ก็ชนะศึกกลับมาจึงมีผู้ถวายเจ้าหญิงให้มาเป็นสนมหลายองค์ ผู้คนจึงศรัทธาเรื่องความกล้าหาญปวงประชาราษฏร์อยู่เย็นเป็นสุข หมอครูจึงจำหมายเอาความดีงามทั้งปวงมาแกะเป็นรูปเทพอุติ่งทรงช้าง แต่ที่นิยมคือมักเสด็จกลับเข้าเมืองพร้อมกลับนารีบนหลังช้าง
อุเต่งหรืออุติ่ง มักเป็นของขุนนางหรือคหบดีเมื่อแกะได้จำนวนหนึ่งหมอครูจะหาฤกษ์ยามดีประกอบพิธีปลุกเสก โดยกำหนดขึ้นที่กลางป่าเป็นพิธีใหญ่มีขั้นตอนซับซ้อน เจ้าภาพต้องเป็นผู้มีฐานะจึงจะเป็นประธานในการสร้างอุติ่งได้ บริเวณที่ประกอบพิธีมีราชวัติขัดล้อมตั้งพิธีกรรมการปลุกเสกอุติ่งทำพิธีปลุกเสกกันหลายวัน ต้องปลุกเสกจนได้ยินเสียงช้างร้องจึงจะสำเร็จ เมื่อเสร็จพิธีจึงจะนำมอบคืนให้ใช้ตามกิจประสงค์ต่อไป
(อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือคงเข้มข่มขลังเครื่องรางล้านนา หน้า229 ของพ่อครู ผ.ศ.วิลักษณ์ ศรีป่าซางที่ปรึกษาชมรมเครื่องรางล้านนา)
อาณุภาพของ อุเต่งประเภทนี้ท่านรองเจ้าอาวาสวัดล้านตอง เชียงใหม่ ท่านได้เมตตาแปลจากตำราโบราณไว้ดังนี้
1.มีไว้กับตัว จักเป็นที่รักใคร่เมตตาเอ็นดูแก่คนและมนุษย์ทั้งหลาย แล เทพเทวดาจะคอยช่วยเหลือเรา
2.ผู้ใดมีไว้กับตัวจักทำการใดก็มิมีอุปสรรคในกิจจารงานที่ทำอยู่แล
3.ผู้ใดมีไว้กับตัวแม้นเดินทางใกล้ไกลจักคุ้มครองปลอดภัยให้ไปดีมีลาภแล
4.แม้นทำการค้าขาย ให้แช่น้ำประพรมของขาย จักทำให้ขายคล่องขายดีแล
5.แม้นจักไปติดต่อพบประการงานธุรกิจผู้ใหญ่ เจ้านานให้เมตตาเอ็นดู ขอความช่วยเหลือต่างๆ ให้แช่น้ำส้มป่อย7ฝักแล้วอาบน้ำนั้นก่อนไปแล้วพกติดตัวไปจักสมความปารถนาแห่งเราแล
6.ผู้ใดมีไว้กับตัวกับบ้านเรือน หมั่นสวดบูชาด้วยคาถาจะเป็นโภคทรัพย์ ลาภะทรัพย์ ธะนะทรัพย์ เจริญงอกงามด้วยทรัพย์สมบัติ มิมีอดอยาก เสาะแสวงหาทรัพย์สินเงินทองได้โดยงาน ทำมาค้าขึ้น อยู่เย็นเป็นสุขทุกเมื่อแล
สำหรับความหายากนั้น หายากมาก ชาวไทยใหญ่หวงมาก ถึง ขนาดที่ว่า ถ้าตายให้เอาไปฝังกับศพเจ้าของด้วย จึงมีให้พบเห็นกันน้อย
คาถาใช้กับอุติ่ง โอมตินนะ ตินนะ หัตติ หัตติ สัตตั๋ง จี๊นัง จิ๊นัง กับสะหย่ากับ โอม สวา หุม หุม
>>>ข้อมูลที่มา: อ้างอิงจาก หนังสือคงเข้มข่ามขลังเครื่องรางล้านนา ของ พ่อครู ผ.ศ. วิลักษณ์ ศรีป่าซาง ที่ปรึกษาชมรมเครื่องรางล้านนา
และ ขอขอบคุณ ท่านรองเจ้าอาวาส วัดล้านตอง สำหรับข้อมูลเรื่องอาณุภาพของอุติ่ง และคาถาบูชาอุติ่ง ครับ