ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,164 ผู้ชมทั้งหมด :43,974,293 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :4,842
"ยอดแห่งหนุมาน เปลี่ยนซุ้มให้ท่านใหม่ รับปีใหม่"
"1ใน5แห่งสุดยอดเบญจภาคีเครื่องรางเมืองสยาม
และอมตะหนุมานอันดับ1ตลอดกาล"
"หนุมาน หลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุล"
พิมพ์หน้าโขน เนื้อไม้รักซ้อนแกะเก่า พิเศษมีลงรักเก่ามาเดิมๆ สุดคลาสสิค
ในแวดวงนักสะสมเครื่องรางของขลัง มักจะพูดกันติดปากว่า เสือหลวงพ่อปานหนุมานหลวงพ่อสุ่น ซึ่งแสดงถึงความเก่งกล้าสามารถในการปลุกเสกเครื่องรางของขลังแต่ละชนิด ของแต่ละพระเกจิอาจารย์ ที่เชี่ยวชาญเวทย์วิทยาคมไม่เหมือนกัน และถ้าเป็นเรื่อง หนุมาน แล้วก็คงไม่มีใครเกิน หนุมาน ของพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าที่เรืองเวทย์วิทยาคมอย่างหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน เกาะเกร็ด จ.นนทบุรี
"ขุนกระบี่วานร ฤทธิเกริกไกร หนึ่งในสยาม" คือสมญานามที่คนในวงการพระเครื่องตั้งให้กับ หนุมาน หลวงพ่อสุ่น นับเป็นสุดยอดของขลังหนึ่งในชุดเบญจภาคี ที่นักสะสมใฝ่หาไว้มาครอบครองบูชาหลวงพ่อสุ่น มีนามเดิมว่า สุ่น นามสกุล ปานกล่ำ ท่านเป็นชาวนนทบุรี ไม่มีใครคราบว่าท่านอุปสมเมื่อไหร่ แต่ที่ทราบคือท่านมีฉายาว่า "จันทโชติก"
ในสมัยที่ท่านเป็นพระลูกวัด ท่านมีจริยวัตรที่ดีงามจนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน จวบจนเจ้าอาวาสมรณะภาพลง ชาวบ้านจึงได้แต่งตั้งท่านขึ้นเป็นพระอธิการเพื่อครองวัดแทน ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุน ตั้งแต่หนุ่ม ปลูกต้นรัก และต้นพุดซ้อน ดูแลอย่างดี ด้วยการทำน้ำมนต์รดต้นไม้ทั้งสองเสมอมา
แม้จะไม่มีใครรู้ว่าท่านศึกษาเล่าเรียนมาจากไหนเนื่องจากไม่มีใครกล้าเข้าไปสอบถามจนท่านมรณะภาพลงไป แต่จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในละแวกนั้นเล่าว่า ท่านกับหลวงพ่อกลิ่นวัดสะพานสูงนั้น รักใคร่กันมาก และมักจะไปมาหาสู่กันเสมอ อีกทั้งท่านยังมีเมตตาต่อผู้ที่มากราบไหว้ ใครเจ็บป่วยมาก็รักษาเยียวยาจนหายเป็นปกติการสร้างหนุมานในสมัยที่ท่านยังเป็นพระลูกวัด ท่านได้นำไม้สองชนิดคือ "ต้นรักซ้อน" และ "พุดซ้อน" มาปลูกไว้ในบริเวณวัด
ท่านได้ทำน้ำมนต์รดอยู่ทุกวันจะกระทั่งไม้ทั้งสองนั้นโตได้ที่ และได้ฤกษ์งามยามดี ท่านจึงลงมือขุด โดยทำพิธีพลีก่อนขุด พอเสร็จท่านก็นำไปตากให้แห้งสนิท เมื่อได้ที่แล้วท่านก็ให้ช่างฝีมือแกะสลักหนุมานเมื่อแกะเสร็จท่านก็รวบรวมหนุมานที่แกะเสร็จทั้งหมดใส่ลงในบาตรของท่าน แล้วเอาผ้าขาวห่อหุ้มภายนอก เก็บไว้ในกุฎิ ครั้นพอถึงวันเสาร์ท่านก็ให้พระลูกวัดลูกศิษย์ของท่านยกเข้าโบสถ์แล้วทำพิธีบวงสรวงบัดพลี เสร็จแล้วท่านจะปิดประตูหน้าต่างลั่นดานโบสถ์ทั้งหมด เพื่อทำการปลุกเสก และจัดเวรยามไม่ให้ไปรบกวนท่าน
ซึ่งท่านจะทำการปลุกเสกทุกๆ วันเสาร์ และเอาไปปลุกเสกต่อในกุฎิเช่นนี้ตลอดมา จนกระทั่งครบถ้วนกระบวนวิธี ท่านจึงนำมาแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์หนุมานของท่านมีสองชนิดคือ หนุมานหน้ากระบี่ และหนุมานหน้าโขน ซึ่งหนุมานแต่ละตัวนั้นทำยากมากเพราะต้องใช้ฝีมือช่างที่วิจิตรโดยแท้จริง หนุมานของท่านนั้นดูแล้วมีความเข้มแข็ง แสดงออกถึงความแกล้วกล้า
สมเป็นยอดทหารสำหรับเนื้อหนุมานนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 เนื้อ คือ เนื้อไม้พุดซ้อน เนื้อไม้รักซ้อน และเนื้องาช้าง กล่าวกันว่าที่เป็นเนื้องาช้างนั้นเพราะพอนำไม้พุดและไม้รักซ้อนมาแกะจนหมดแล้ว ท่านถึงได้นำงาช้างมาแกะสลัก (ทั้งไม้และงาจำนวนสร้างมีน้อยมากๆ)
เครดิตข้อมูล : อ้างอิง จากสารานุกรมพระเครื่อง สุดยอดเครื่องรางของขลัง ขอขอบคุณ มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ