ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,164 ผู้ชมทั้งหมด :43,974,293 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :5,653
ตะกรุดสาริกา(หนังหน้าผากเสือ) หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม
ตะกรุด สาริกา(หนังหน้าผากเสือ) หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม ต.ดอนตูม จ.นครปฐม สร้างประมาณ ปี 2510-15 ถักเชือกลงรักปิดทองเต็มดอก สภาพสวยเดิมๆผิวหิ้ง ไม่ผ่านการใช้ครับ ขนาดยาว 1.2 นิ้ว ดอกอ้วน 1 ซม. มีประสบการมากมายนัก จนทำให้ท่านมีเชื่อเสียงโด่งดังมาก พุทธคุณเด่นทางด้าน มหาอุต คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย กันคุณไสย กันภูตผีปีศาจ ต้องพูดได้ว่าดีทุกด้านครับ ตามตำราการใช้ตะกรุดของท่าน ที่สือทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนั้นดังนี้.............. ( คาถาปลุกตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ) ตั้ง นะโม 3 จบ อุตธัง อัตโธ ปัดนะ นะโมพุทธายะ นะแคล้ว โมคลาด พุทธปัด ธาปิด ยะมิถูก นะสันตะรันโตผิด โสอิกะวิติภา ( วิธีการใช้ตะกรุด ) ทั้ง 4 ทิศ 1.เวลาสู้ ให้ตะกรุดไว้ด้านหน้า 2.เวลาหนี ให้ตะกรุดอยู่ด้านหลัง 3.ใช้เป็นเมตตาทางผู้หญิง ให้ตะกรุดอยู่ด้านซ้าย 4.ใช้เป็นเมตตาทางผู้ชาย ให้ตะกรุดอยู่ด้านขวา......... ( ประวัติและเกียติคุณ หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม ) หลวงพ่อเต๋ คงทอง เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน 2434 ณ บ้านสามง่าม หมู่4 โยมบิดาชื่อ จันทร์ โยมมารดาชื่อ บู่ นามสกุล สามง่ามน้อย ท่านมีพี่น้อง 7 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 เมื่ออายุครบ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่กับหลวงลุง แดงซึ่งเป็นลุงของท่าน พร้อมกับร่วมกันจัดสร้างวัดใหม่ไปพร้อมกัน รวมทั้งได้ศึกษาวิชาอาคมจาก หลวงลุงแดงไปด้วย เมื่อ พ.ศ.2454 ท่านมีอายุครบ 21 ปี จึงได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี พระครูอุตตรการบดี ( หลวงพ่อทา) วัดพระเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์เทศ วัดทุ่งผักกูด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการจอม วัดลำเหย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า คง ทอง เมื่ออุปสมบทแล้วได้ไปศึกษาเล่า เรียนทั้งทางธรรมและวิชาอาคมกับหลวงพ่อทา วัดเพียงแตก ต่อมาเมื่อหลวงลุงแดง ก่อนมรณภาพลงได้ฝากฝังวัดสามง่ามให้หลวงพ่อเต๋ ดูแล ( หลวงพ่อเต๋ เริ่มออกธุดงค์ ) ระหว่าง พ.ศ.2455-2477 รวมเป็น 17 ปี รวมทั้งการศึกษาอาคมเพิ่มเติ่มนอกเหลือจากการศึกษาจาก หลวงลุงแดงและหลวงพ่อทาวัดพะเนียงแตก ต่อมาได้ไปศึกษาวิชาเพิ่มเติมกับ หลวงพ่อแช่ม วัดตา ก้องจากนั้นก็ธุดงค์ไปเรื่อยๆ ในสถานที่ต่างๆและได้ไปเรียนเพิ่มกับพระอาจารย์รูปอื่นๆรวมทั้งอา จารย์ฆราวาสที่เป็นชาวเขมร ซึ่งเคยเป็นอดีตแม่ทัพเขมร และเป็นอาจารย์ที่หลวงพ่อเต๋ให้ความนับ ถือมาก ( ในสมัยท่านมีชีวิตหลวงพ่อเต๋จะทำการไหว้ครูเขมรมิขาด) ภายหลังที่กลับมาพำนักได้ 3 ปี ท่านได้ทำการปฏิสังขรณ์วัดสามง่าม อย่างมานะอันแรงกล้าอย่างหาที่สุดเปรียบมิได้ รวมทั้งการพัฒ นา โรงพยาบาล สถานีอนามัย โรงเรียน สถานีตำรวจ ฯลฯ หลวงพ่อเต๋ เป็นผู้กอปรด้วยความเมตตา ปราณี ท่านจะให้ความรักแก่ศิษย์ทุกคนโดยไม่เลือกที่รักที่ชัง นอกจากนี้ท่านยังให้ความเมตตาแก่สัตว์ เลี้ยง ก่อนท่านจะฉันภัตตาหาร ท่านจะต้องให้ข้าวสัตว์เหล่านี้เป็นนิล เมื่อ พ.ศ.2475 กรรมการสงฆ์ จังหวัดได้พิจารณาแต่งตั้งให้หลวงพ่อเต๋เป็นเจ้าอาวาสวัดสามง่าม และปี พ.ศ.2476 แต่งตั้งให้ท่านเป็น เจ้าคณะตำบล ปกครอง 5 วัด ( การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อเต๋ ) ท่านจะสร้างไว้หลายแบบหลายชนิดในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 แต่ละอย่างล้วนมีอภินิหารเป็นที่ประ จักษ์และเล่าขานกันมาทุกวันนี้ วัตถุมงคลของท่านไม่ได้เน้นเรื่องความสวยงามแต่เน้นเรื่องพุทธคุณ เพราะท่านตั้งใจสร้างเพื่อให้บูชาพกติดตัวป้องกันภัยต่างๆ ส่วนมากเป็นเนื้อ ดินผสมผงป่นว่าน เนื้อ ดินอาถรรพณ์ที่นำมาเป็นมวลสารนั้นได้แก่ ดิน 7 โป่ง ดิน 7 ป่าช้า ดินขุยปู เป็นต้น ด้านหลังพระทุก พิมพ์จะประทับชื่อ หลวงพ่อเต๋ กดลึกลงเนื้อพระ ส่วนวัตถุมงคลที่สร้างชื่อเสียงให้ท่านจนทุกวันนี้คือ ตุ๊กตาทอง ( กุมารทอง) ตำราการสร้างได้จากหลวงลุงแดง นำดิน7 โป่ง ดิน 7 ป่าช้า ดินขุยปู เป็นต้นมา ปั้นแจกชาวบ้าน นำไปเพื่อคุ้มครอง การปลุกเสกนั้นหลวงพ่อเต๋ จะปั้นแล้วเอาวางนอนไว้แล้วทำการ ปลุกเสกให้ลุกขึ้นมาเองตามตำรา ผู้ที่ได้รับไปบูชามักจะมีเรื่องเล่าสู่กันฟังเป็นมี่อัศจรรย์ทางต่างๆ หลวงพ่อเต๋ คงทอง มรณะภาพลงโดยอาการสงบเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2524 รวมสิริอายุได้ 90 ปี 6 เดือน 10วัน พรรษาที่ 59 ปัจจุบันทางวัดเก็บรักษาสังขารท่านไว้ให้ลูกศิษย์ลูกหารวมทั้งผู้เคารพ ศรัทธาไปกราบ ไหว้จนทุกวันนี้