"ตะกรุดยอดนิยมอันดับ1ล้านนา ที่ลือเลื่องประสบการณ์ด้านมหาอุด แคล้วคลาดอย่างเอกอุ!! (ดอกประวัติศาสตร์)"
"ตะกรุด หนังควายตายพรายพอกครั่ง ครูบาชุ่ม วัดวังมุย ลำพูน"
ดอกประวัติศาสตร์คู่กายศิษย์สายตรงในทำเนียบ!!
ดอกนี้เป็นตะกรุดดอกคู่กายติดตัวศิษย์ครูบาชุ่ม ผู้ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิอาวุโสของวงการพระภาคเหนือ คือ "คุณลุง เสมอ บรรจง"ศิษย์สายตรงครูบาชุ่มผู้มีส่วนร่วมสร้างวัตถุมงคลของครูบาชุ่ม
ดอกนี้ท่านถักเชือกหุ้มไว้ ใช้ติดตัวตลอดเวลา
ด้วยท่านเป็นศิษย์สายตรงครูบาชุ่ม จึงไม่มีเหตุผลใดที่ท่านจะใช้ตะกรุดหนังขององค์อื่น และ สันนิษฐานว่าที่ท่านเลือกใช้ดอกนี้คงเป็นดอกพิเศษที่ครูบาชุ่มลงให้ท่านซึ่งเป็นศิษย์ในทำเนียบคนหนึ่งอย่างพิเศษ(ปัจจุบันคุณลุงเสมอ ได้ถึงแก่กรรมแล้ว ขอร่วมไว้อาลัยและขอนำตะกรุดของท่านมาลงเผยแพร่เป็นความรู้สู่อนุชนรุ่นหลัง ขอกราบขอบพระคุณครับ)
ตะกรุดครูบาชุ่มถือว่าเป็นตะกรุดยอดนิยมของล้านนา ที่โดดเด่นทางด้านมหาอุดแคล้วคลาดอย่างเอกอุ คำว่า"ยอดนิยม"ผมขอชี้แจงดังนี้คือ เป็น"ตะกรุดที่ได้รับความนิยมสูงกันมาทุกยุคทุกสมัย" ถ้าถามถึงตะกรุดทางเหนือคนก็จะนึกถึงตะกรุดครูบาชุ่มก่อน
ส่วนตะกรุดทรงคุณค่าหายากของล้านนานั้นยกให้ตะกรุดยันต์ดาบสหรีกัญไชย ครูบาขันแก้ว(และ ยังถือว่าเป็นหนึ่งในพญายันต์ล้านนา) ตะกรุดเก้ากุ่ม3กษัตริย์ครูบาวัง ตะกรุดโหงพรายครูบาก่ำ วัดน้ำโจ้ และ ตะกรุดลิ้นบ่าง ครูบาสม เป็นต้น ครับ
ข้อมูลโดย เชน เชียงใหม่
ลูกศิษย์สายตรงของครูบาชุ่ม ในปัจจุบันพอจะกล่าวถึงได้ดังนี้
1. หลวงพ่อทองใบ โชติปัญโญ เจ้าอาวาสวัดหรหมวนารามหรืออดีต ครูทองใบ สายพรหมมา เป็นศิษย์ได้รับอนุญาตให้สร้างเหรียญครูบาเจ้าชุ่มรุ่นแรกปี พ.ศ. 2517
2. พระอาจารย์หมื่อน ญาณเมธี วัดพรหมวนาราม นอกจากเป็นศิษย์แล้วท่านยังเป็นหลานแท้ ๆ ของครูบาเจ้าชุ่ม คือตุ๊ลุงหมื่นเป็นบุตรของแม่อุ้ยแก้ว พี่สาวร่วมอุทรของครูบาเจ้าชุ่ม ตุ๊หมื่นได้เก็บรักษาเครื่องระลึกถึงครูบาเจ้าชุ่มไว้หลายอย่าง เช่นภาพถ่ายเก่าๆ ดาบ เล็บ และอัฐิ
3. พ่อหนานปัน จินา เป็นศิษย์ที่มีความสนใจในด้านวิชาอาคมขลังและพิธีกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะศาสตร์ในเรื่องตะกรุดซึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดจากครูบาเจ้าชุ่มมาพอสมควร ปัจจุบันท่านเป็นผู้อาวุโสของหมู่บ้าน
4. พ่ออุ้ยตุ่น หน่อใจ เป็นศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่สองอย่างคือปลงเกศาให้ครูบาเจ้าชุ่ม และช่วยสร้างพระผงให้ท่าน
5. พ่อหนานทอง ปัญญารักษา อายุ 68 ปี เป็นศิษย์อีกท่านที่ปัจจุบันทำหน้าที่ ปู่จารย์ เจ้าพิธีประจำวัดชัยมงคล(วังมุย) พีอหนานทองเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพิธีพุทธาภิเษกรูปเหมือนหลวงปู่ชุ่มเมื่อ พ.ศ. 2520
6. พ่อหนานบาล อินโม่ง เป็นศิษย์ที่เคยติดตามครูบาเจ้าชุ่มไปธุดงค์ตามสถานที่ต่าง ๆ หลายแห่ง
7. คุณลุงเสมอ บรรจง ชมรมพระตลาดบุญอยู่ เป็นผู้มีส่วนร่วมสร้างวัตถุมงคลของครูบาเจ้าชุ่ม
8. พ่อเลื่อน กันธิโน เป็นศิษย์ที่ติดตามอุปัฏฐากครูบาเจ้าชุ่มไปในที่ต่าง ๆ จนถึงวินาทีสุดท้ายที่ท่านไปมรณภาพที่กรุงเทพฯ
9. อุ๊ยหมื่น สุมณะ (เพิ่งเสียชีวิตในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 ด้วยวัย 101 ปี) เป็นศิษย์อาวุโส ซึ่งมีวัยวุฒิน้อยกว่าครูบาเจ้าชุ่ม 10 ปี เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับประวัติการสร้างวัดใหม่
10. อุ๊ยหนานทอง (เสียชีวิตแล้ว) เป็นลูกศิษย์ของครูบาเจ้าชุ่ม แล้วยังเป็นประติมากรผู้รังสรรค์พระรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย ในขณะที่ท่านรักษาตัวอยู่ ณ วัดจามเทวี ก่อนที่ท่านจะไปมรณภาพที่วัดบ้านปาง
อุ้ยหนานทองเป็นคนบ้านริมปิง อ.เมือง จ.ลำพูน ท่านได้พบกับครูบาชุ่มตั้งแต่อายุ 15 ปี ตอนนั้นหลวงครูบาชุ่มจาริกไปถึงบ้านริมปิง บ้านเดิมของอุ้ยหนานทอง หนุ่มน้อยได้บังเกิดความเคารพศรัทธาครูบาชุ่มจนขอติดตามกลับมาที่วัดวังมุยด้วย ครูบาชุ่มก็เมตตาพามา และจัดการบวชให้เป็นสามเณรที่วัดเก่า (วัดศรีสองเมือง) ต่อมาเมื่ออายุหนานทองอายุครบ 20 ปี หลวงปู่ครูบาชุ่มก็ได้จัดการอุปสมบทให้เป็นพระภิกษุที่วัดใหม่ คือวัดชัยมงคล (วังมุย)
ช่วงที่บวชเป็นสามเณร สามเณรทองได้เป็นลูกมือช่วยสร้างพระที่วัดมหาวัด จึงได้นำประสบการณืและวิฃาความรู้ครั้งนั้น มาใช้ในงานปั้นพระประธานไว้ในโบสถ์วัดเก่า จำนวน 3 องค์ ขนาดเท่าคนจริง แต่หลังจากวัดเก่าได้ถูกทิ้งร้าง พระประธานทั้ง 3 องค์ ที่สามเณรทองปั้นไว้ ก็หายสาบสูญไป
พอครูบาชุ่มได้มาดำเนินการสร้างวัดใหม่ คือวัดชัยมงคล (วังมุย) ท่านก็ได้มอบหมายให้อุ้ยหนานทองรับหน้าที่ปั้นพระประธาน และพระขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมาก
11. หลวงพ่อบุญรัตน์ กนฺตจาโร เจ้าอาวาสวัดโขงขาว จ.เชียงใหม่
เครดิตข้อมูล หนังสือ วังมุยแห่งหริภุญไชย ขอขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ