ตะกรุดโสฬสมงคล ยุคต้น อ.แปลก วัดสะพานสูง มันส์สุดๆ
ตัวจริงเสียงจริง สวยสมบูรณ์ เอกลักษณ์ ครบสูตร เก่ามันครับ
ศิษย์สายตรง คนเดียวเท่านั้นที่เป็นฆราวาส และต้องถือเป็นฆราวาสจอมขมังเวทแห่งวัดสะพานสูงขนานแท้ นักเลงนักเล่นตะกรุดในยุคนั้นต่างแห่แหนเดินทางมาหา"อาจารย์แปลก ร้อยบาง " เพื่อให้ช่วยจารตะกรุดโสฬสมหามงคล เพื่อไว้ป้องกันตัวและเพื่อความเป็นสิริมงคล
วัตถุมงคลของท่านอาจารย์แปลกนั้น โด่งดังเรื่องเครื่องรางของขลัง ท่านได้ปลุกเสกเอาไว้ด้วยกับหลายอย่าง เช่น ลูกอมผงพุทธคุณ ผ้ายันต์กันภัย ตะกรุดโสฬสมหามงคล ฯลฯ แต่ที่ได้รับความนิยมที่สุด และเป็นที่รู้จักกันทั่วไป คือ ตะกรุดโสฬสมหามงคลที่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนมาจากสายสำนักวัดสะพานสูง อักขระเลขยันต์ที่ลงไว้ในตะกรุดเป็นยันต์โสฬสมหามงคล ดังเช่นตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม และหลวงปู่กลิ่นทุกประการ
ลักษณะที่แตกต่างในการสร้างตะกรุดของท่านอาจารย์กกกแกกกกกกกกกกกหกกกกกปลก คือ ท่านจะทุบโลหะแล้วรีดค่อนข้างหนากว่าตะกรุดของหลวงปู่เอี่ยม และหลวงปู่กลิ่น มีขนาดหนา
และลักษณะม้วนตะกรุดจะม้วนให้มีรูร้อยตะกรุดกว้างใหญ่กว่า มองด้วยตาเห็นได้ชัดเจน
มีทั้งที่พอกผงและไม่พอกผง เชือกที่ใช้ถักมีทั้งด้ายสายสิญจน์ และเชือกปอแบบเส้นใหญ่ รวมแล้วตะกรุดของท่านอาจารย์แปลกเป็นเครื่องรางที่นำมาใช้ติดตัวแทนอาจารย์ท่านอื่นในสำนักวัดสะพานสูงได้เลย มีเอกลักษณ์ที่แน่นอน ดูง่าย พุทธคุณครบทุกด้าน ยอดเยี่ยมมาก เรียกได้ว่า ครอบจักรวาล
วิธีการสร้างตะกรุด อ.แปลก สะพานสูง
การสร้างตะกรุดของท่านอาจารย์แปลก ท่านจะทุ่มเทในการสร้างเป็นอย่างมาก ประณีตในการเสก ขนาดทุ่มเทระดมสรรพกำลังที่มีอยู่เพื่อให้ได้ตะกรุดที่มีอานุภาพขั้นสูง ถึงขึ้นที่ต้องคาบแผ่นทองแดงและเหล็กจาร ปีนขึ้นไปบนต้นตาลหน้าวัดที่สูงเป็นสิบๆเมตร เมื่อถึงปลายยอดก็ใช้ขาหนีบต้นตาลไว้แล้วห้อยหัวลงมาเพื่อทำการจารตะกรุด แล้วเสกจนเสร็จ ถึงได้ลงมาจากต้นตาล ซึ่งท่านห้อยหัวอยู่บนนั้นนานเป็นหลายชั่วโมง พอได้ลงมาศิษย์ก็ถามว่าทำไมท่านจึงต้องปีนต้นตาลเช่นนั้น ท่านว่า มันแรง มันร้อน มันร้อนมากๆ ต้องไปให้ลมแรงๆโกรกใส่ ของๆฉันต้องแรง!!!
ดังเช่นหลวงปู่กลิ่นมักจะกล่าวกับลูกศิษย์เสมอว่า "ฉันมีแต่เมตตามหานิยม ถ้าอยากได้ของเหนียว ๆ ให้ไปที่กุฏิท่านขาว ของแบบนั้นฉันไม่มี ท่านขาวเขาเก่งทางด้านนี้" (ท่านขาวองค์นี้ก็หมายถึงอาจารย์แปลก ซึ่งนุ่งขาวห่มขาวอยู่ที่วัดสะพานสูง) "
เครดิตข้อมูล : ขอขอบคุณ ข้อมูลที่มาจากผู้เขียนไว้เดิมหลายๆ ท่าน ขออนุญาตรวบรวมเรียบเรียงเพื่อประกาศเกียรติคุณครูบาอาจารย์และเพื่อการอนุรักษ์ศึกษาสะสมครับ