ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,164 ผู้ชมทั้งหมด :43,974,293 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :9,230

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
กะลาราหูสุดขลัง แห่ง วังเหนือ เขลางค์นคร
ราคา :
ขายแล้ว
รายละเอียด :

"กะลาราหูสุดขลัง แห่ง วังเหนือ เขลางค์นคร "

"กะลาราหู ครูบาอินทร์ วัดบ้านใหม่ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ลงรักชาดทองเก่า คู่จิ๋ว หายาก ได้พิเศษกะลาเผือก "

หนึ่งในศิษย์เอกองค์สำคัญผู้สืบทอดวิชาสร้างกะลาต่อจากครูบานันตาและสร้างเสกได้อย่างเข้มขลัง

ด้วยวัตรปฏิบัติที่ท่านถือเคร่งครัดตามครูบานันตาผู้เป็นอาจารย์ทุกประการ

กะลาราหูของท่านนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์พุทธคุณสูงใช้แทนของครูบานันตาผู้เป็นอาจารย์ได้เลย (ข้อมูลภายในพื้นที่ยังเล่ากันว่า ชาวบ้านแถววังเหนือนั้นนับถือและศรัทธาในกะลาครูบาอินทร์เป็นอันมากด้วยความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังตลอดจนประสบการณ์ต่างๆที่ผู้ใช้ต่างร่ำลือต่อๆกันมา ถึงขนาดว่า แม้จะเอากะลาราหูของครูบานันตาผู้เป็นอาจารย์มาแลกยังไม่ยอมแลกด้วยเลย)

ตามประวัติครูบาอินทร์ท่านได้พบกับครูบานันตาในคราวที่ครูบานันตาท่านได้มาก่อสร้างพระเจดีย์ในพื้นที่เขตอำเภอวังเหนือ

ได้กราบฝากตัวเป็นศิษย์และร่ำเรียนวิชาอาคมต่างๆจากครูบานันตา โดยเฉพาะวิชาการสร้างกะลาแกะรูปพระราหู

ซึ่งครูบาอินทร์ท่านก็เป็นหนึ่งในผู้แกะกะลาถวายครูบานันตา (ครูบานันตาเป็นผู้จาร และ ปลุกเสก)

ราหูของท่านมีประสบการณ์มากมายทั้งทางเรื่องหนุนดวง หนุนชะตา เฉกเช่นเดียวกับ

ของครูบานันตา และ ในยุคกลางถึงยุคปลายของท่าน ท่านได้สร้างกะลา

ขนาดเล็กขึ้นมา โดยรูปแบบศิลปะกะลาของท่านนั้น ไม่เคยเปลี่ยน คือ 

เป็นศิลป์คาบดาบ ตั้งแต่ยุคที่ท่านแกะให้ครูบานันตาปลุกเสกก็เป็นศิลป์นี้ศิลป์เดียว

เพียงแต่ ที่ท่านแกะถวายครูบานันตา และ กะลาที่เป็นยุคต้นๆ ของท่าน จะแกะลึกกว่า

สำหรับลายมือนั้น ทุกกระบวนการของการสร้างการเสกกะลา ท่านเป็นผู้ลงมือทำเอง

ทั้งหมด จึงเป็นลายมือท่านจารเพียงองค์เดียว และ ยังตรงกับปัํบสาหรือตำราคัมภีร์ของท่าน

ที่ท่านได้เขียนไว้ทุกประการ 

ลักษณะลายมือเส้นสายลายยันต์ของท่านจะสวยคมลึก มีจุดพิจารณาชี้ชัดได้ง่ายอยู่หลายจุด

 

นับว่าเป็นกะลาราหูหนึ่งของล้านนา ที่น่าใช้ น่าศึกษาสะสม และ อนุรักษ์ไว้ครับ

 

ข้อมูลโดย : เชน เชียงใหม่ เขียนบันทึกเพื่่อการอนุรักษ์เผยแพร่ เมื่อ  3/พค/58

ขอขอบคุณผู้ร่วมให้ข้อมูลหลายๆ ท่าน  พี่เจริญ พี่เจตน์ และ น้องเจ ลำปาง

อนุรักษ์สืบสานร่วมกันครับ

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
0894303877
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด