"แพะไทใหญ่ล้านนา เครื่องรางแห่งชัยชนะ ขันติ และมหาเสน่ห์"
แพะทางเหนือบ้านเราเป็น"แพะภูเขา" สังเกตุเขาหูยาวที่เรียกบ้านเรา เพราะล้านนากับพม่าไทใหญ่นั้นมีความกลมกลืนด้านความเชื่อและวัฒนธรรมที่คล้ายเคียงกัน ในอดีตเคยผูกพันอยู่ร่วมดินแดนกันในหลายส่วน
เครื่องรางก็เช่นกัน สังเกตุได้จากการสร้างเครื่องรางวิชาอาคมทางล้านนาหลายๆอย่างมีการสืบสายวิชาจากไทใหญ่ หรือ ล้านนาเราเรียกเขาว่า ชาวเงี้ยว
ที่ผมกล่าวเช่นนี้หาได้คิดเล่นๆ มโนเอาเองไม่ ด้วยได้ข้อมูลที่แน่ชัดจากการศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง
ทำให้ทราบว่า เครื่องรางที่เป็นที่นิยมของล้านนา อาทิ เช่น ตะกรุดหนังควายตายพรายพอกครั่ง อย่างของครูบาชุ่ม ที่สืบตากพระมหาเมธังกร
ผ้ายันต์ม้าเสพนางครูบาวัง ล้วนเป็นสายวิชามาจากเงี้ยวหรือ ไทใหญ่ ชนกลุ่มน้อยของพม่าทั้งสิ้น ซึ่งวิชาเหล่านี้ได้สืบทอดต่อกันมาหลายๆร้อยปีครับ
กลับมาที่เรื่องแพะ เครื่องรางนี้ถ้าเป็นภาคกลางหรือเครื่องรางยอดนิยมเราคงนึกถึงแพะหลวงพ่ออ่ำที่เด่นทางมหาเสน่ห์
แต่ถ้าแพะทางเหนือเรา กลับเป็นเครื่องรางทางชัยชนะ เพราะคำว่า แพะ ล้านนาเรียกแป๊ะ ไทใหญ่ แป้ แป้คำนี้ แปลว่า ชนะครับ
จึงเชื่อกันว่า ผู้ใดมีเครื่องรางนี้ ย่อมมีชัยชนะอยู่เหนือศัตรู และ อีกนัยตามนิสัยแพะเจ้าชู้หนึ่งตัวมีเมียเป็นฝูงจึงเชื่อเรื่อง มหาเสน่ห์เช่นกัน
นอกจากนั้นแพะยังเป็นสัตว์ที่อดทน ซึ่งความอดทน หรือ ขันตินั้นผู้ใดประพฤติได้ย่อมนำสุขมาให้
ข้อมูลทั้งหมดนี้ เขียนเผยแพร่โดย เชน เชียงใหม่ เมื่อเช้านี้ 5 /สค /59 ครับ อนุญาตให้ยืมบทความในการไปใช้เพื่อการอนุรักษ์เผยแพร่
แต่โปรดให้เครดิตผู้เขียนค้นคว้าด้วยนะครับ ขอบคุณครับ ^^