ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,164 ผู้ชมทั้งหมด :43,974,293 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :6,303
ตะกรุด หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว พอกผง ลงรักถักเชือกเก่าๆ มันส์ๆ ขนาดยาว 5 นิ้ว โตประมาณมวนบุหรี่ สวยเดิมๆ
พ่อเฒ่ายิ้ม วัดหนองบัว . ปรมาจารย์ใหญ่สายเมืองกาญจน์ ผู้ถ่ายทอดวิชาการทำตะกรุดลูกอมอันลือลั่นให้ หลวงปู่ใจวัดเสด็จ ที่ราคา ว่ากันดัวยเลข 6 หลัก สำหรับตะกรุดหลวงปู่ยิ้มนั้นจะเป็นตะกรุด พันด้ายสายสิญจน์(ด้ายสาว) พอกผง ลงรักแดง พุทธคุณ เมตา มหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุด
หลวงปู่ยิ้ม จนฺทโชติ วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
หลวงปู่ยิ้ม จนฺทโชติ วัดหนองบัว (วัดอุปลาราม) ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี จากการบันทึกของพระโสภณสมาจารย์ (เหรียญ สุวรรณโชติ) ซึ่งเป็นศิษย์ก้นกุฏิ และเป็นสมภารรูปต่อจากหลวงปู่ยิ้ม ได้ความว่า
หลวง ปู่ยิ้ม ท่านเป็นชาววังด้ง จ.กาญจนบุรี เกิดปีมะโรง เดือนห้า วันอังคาร พ.ศ. 2387 เป็นบุตร นายยิ่ง นางเปี่ยม บิดามารดาประกอบอาชีพค้าไม้ไผ่ล่องไปขายที่ปากอ่าวแม่กลอง จนเป็นที่รู้จักของชาวแม่กลองเป็นอย่างดี
ครั้นได้อายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดทุ่งสมอ อ.พนมทวน พระอาจารย์กลีบ วัดหนองบัว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง วัดเหนือ และพระอาจารย์อินทร์ วัดทุ่งสมอ เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า "จนฺทโชติ"
เมื่อบวชแล้วท่านได้เรียนหนังสือขอม บาลี มงคลทีปนี มูลกัจจายน์ พระเจ้า 10 ชาติ สูตรสนธิ จนชำนาญ อีกทั้งยังสามารถท่องปาฏิโมกข์ได้ตั้งแต่พรรษาที่ 2 ด้วยตัวท่านชอบเกี่ยวกับวิชาความรู้และวิทยาคมจึงได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ แดงพระคู่สวดว่า ที่จังหวัดสมุทรสงคราม มีพระเกจิอาจารย์เก่งๆ อยู่หลายรูป ท่านได้เดินทางไปหาอาจารย์รูปแรกคือ หลวงพ่อพระปลัดทิม วัดบางลี่น้อย อ.อัมพวา ท่านเป็นอุปัชฌาย์เก่าแก่ของวัดบางช้าง เรียนทางทำน้ำมนต์โภคทรัพย์ อยู่ปากอ่าวแม่กลองได้เรียนวิชาทำธงกันอสุนีบาต (สายฟ้า) และพายุคลื่นลม วิชาหลายลงอักขระทำรูปวงกลม เวลาไปทะเลแล้วขาดน้ำจืดให้เอาหวายโยนลงไปในทะเลแล้วตักน้ำในวงหวายน้ำจะจืด ทันที ลูกอมหมากทุยก็เป็นที่เลื่องลือ เพราะท่านได้สำเร็จจินดามนต์ เรียกปลาเรียกเนื้อได้
อีกรูปคือ หลวงพ่อกลัด วัดบางพรม เรียนทางมหาอุตม์ ผ้าเช็ดหน้าทางมหานิยม เชือกคาดเอว เครื่องรางรูปกระดูกงูกันเขี้ยวงา ทางคงกระพันชาตรี หลวงพ่อกลัดรูปนี้สามารถย่นระยะทางได้ และรูปสุดท้ายคือ หลวงพ่อแจ้งวัดประดู่อัมพวา ได้เรียนทางแพทย์แผนโบราณ มีดหมอ ทางมหาประสานเชือกคาดชื่อตะขาบไฟ หรือ ไส้หนุมาน
"หลวงปู่ยิ้ม" เป็นพระที่ชอบทางรุกขมูลธุดงควัตรออกพรรษา แล้วท่านมักจะเข้าป่าลึกเพื่อหาที่สงบทำสมาธิท่านรู้ภาษาสัตว์ทุกชนิด ชื่อเสียงกิตติศัพท์ของท่านโด่งดังไปทั่วเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ใน กรุงเทพฯ อาทิ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งโปรดทางวิชาไสยศาสตร์ ได้ไปหาท่านถึง 2 ครั้ง เลื่อมใสและนับถือท่านเป็นอาจารย์ ขอเรียนวิชาจากท่านได้มีดหมอจากท่าน 1 เล่ม ไว้ประจำพระองค์ มีดหมอมีสรรพคุณปราบภูตผีปีศาจ และปราบคนที่อยู่ยงคงกระพัน ถ้าได้ถูกคมมีดของท่านแล้วต้องเป็นอันได้เลือด ไม่ว่าคนนั้นจะเก่งเพียงไร ก็ไม่สามารถคุ้มครองได้
เสด็จในกรมฯ ทรงโปรดเป็นอันมาก ทั้งๆ ที่ว่าท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท มาแล้ว ก็ยังเกรงวิชาของหลวงปู่ยิ้ม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านเคยธุดงค์มาจำวัดกับหลวงปู่ยิ้ม ที่วัดหนองบัว และได้แลกเปลี่ยนวิชากัน
หลวงปู่ยิ้มท่านเป็นพระสมถะไม่หลงวิชาอาคม จำนวนศิษย์ของท่านเท่าที่ปรากฏ คือ
1. พระโสภณสมจารย์ (เหรียญ) วัดอุปลาราม (วัดหนองบัว)
2. พระเทพมงคลรังษี (ดี) วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)
3. พรกาญจนวัตรวิบูลย์ (ล่อน) วัดลาดหญ้า
4. พระโสภณสมณกิจ (หัง) วัดเหนือ
5. พระครูวัตตสารโสภณ (ดอกไม้) วัดดอนเจดีย์
6. พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ
7. พระอธิการ (แช่ม) วัดจุฬามณีอัมพวา)
8. พระครูสกลวิสุทธิ (เหมือน รัตนสุวรรณ)
วัตถุมงคลของท่านตลอดจนเครื่องรางของขลังต่างเป็นที่ต้องการของบรรดาลูก ศิษย์ อาทิ พระปิดตา พิมพ์ใหญ่ (อ่าวจุฬา) พิมพ์สังกัจจายน์ใหญ่ พิมพ์สังกัจจายน์เล็ก, พิมพ์แข้งซ้อนใหญ่, พิมพ์แข้งซ้อน, พิมพ์เข่าบ่วง, พิมพ์เข่าบ่วงใหญ่, พิมพ์ขัดเพชร เป็นต้น
รูปแหวนพิรอดของท่านสังเกตุจะมีหัวยอด และรักแดงครับ
ในบรรดาแหวนพิรอดจากหลายๆสำนัก แหวนพิรอดหลวงปู่ยิ้ม นับเป็นหนึ่งในแหวนพิรอดยอดนิยมที่จัดอยู่ในอันดับต้นๆเช่นกัน เคยได้กล่าวไว้แล้วว่า เครื่องรางไม่มีรูปแบบที่ตายตัว แต่จะต้องมีเอกลักษณ์ที่สังเกตได้ ดังนั้นการที่จะได้ข้อยุติในเครื่องรางแต่ละชิ้น แต่ละสำนัก ล้วนแต่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่ เคยต้องเห็นหรือสัมผัสมามาก บางครั้งจำเป็นต้องถาม เพราะความรู้ต่างๆที่ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นต่อรุ่น อาจขาดตอนหายไปบ้าง
แหวนพิรอดหลวงปู่ยิ้มถักจากผ้ายันต์ โดยการนำผ้ายันต์มาม้วนเป็นเส้นแล้วจุ่มหรือทาด้วยน้ำข้าว เพื่อให้ผ้ายันต์ที่ม้วนตัวเป็นเส้นอยู่ไม่ฟูขึ้นมา ทำให้แน่นขึ้นสะดวกในการถัก ก่อนถักจะมีการนำด้ายสายสินญ์มามัดทับผ้ายันต์ไว้ให้สวยงาม จึงเริ่มลงมือถักเป็นแหวนพิรอดขึ้นมา เสร็จแล้วนำไปลงรักน้ำเกลี้ยงอีกครั้ง เพื่อให้แหวนพิรอดมีความแข็งแรงขึ้น และเป็นการรักษาผิวของด้ายสายสินญ์และผ้ายันต์ไว้
การพิจารณาแหวนพิรอดหลวงปู่ยิ้ม โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นลักษณะการถัก สีสันของแหวน ตลอดจนรักน้ำเกลี้ยง จะแตกต่างไปจากแหวนของสำนักอื่นมาก โดยเฉพาะสีสันของแหวนจะออกไปทางน้ำตาลอมแดงเสียมากกว่าจะเป็นดำ ลักษณะของรักน้ำเกลี้ยงจะซึมเป็นเนื้อเดียวกันกับตัวแหวน ตามซอกอาจมีขุยให้สังเกตได้
เชือกคาด หรือไส้หนุมาน
ท่านได้สร้างวัตถุมงคล ทั้งพระเครื่องและเครื่องราง ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับความนิยมจากผู้ที่เลื่อมใส วัตถุมงคลเหล่านี้ได้กระจัดกระจายอยู่กับบุคคลต่างๆ ทั้งในท้องที่และต่างถิ่น จนอาจเป็นการยากที่จะรวบรวมได้ทั้งหมด พูดถึงพระเครื่องของหลวงปู่ยิ้มที่โด่งดังมากๆเห็นจะได้แก่พระปิดตาเนื้อผง ที่ทุกคนคงรู้จักกันดี และยังมีพระปิดตาที่ทำด้วยเนื้อตะกั่วอีก ส่วนเครื่องรางก็มี เสือแกะจากไม้รัก ลูกอม ตะกรุด ผ้ายันต์ และแหวนพิรอด
หลวงปู่ยิ้มมรณภาพ เมื่ออายุ 66 ปี เมื่อพ.ศ.2453
ข้อมูลข่าวสด http://www.khaosod.co.th/