ธนบัตรหนึ่งบาทอันแสดงถึงความเป็นหนึ่ง ธนบัตรเรียกทรัพย์ที่หายากที่สุดของหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง ได้เมตตาจารไว้ให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดที่เป็นคหบดีท่านหนึ่งในอดีต ผู้ที่เป็นเจ้าของแหวนยุคต้นเนื้อทองคำและเนื้อเงินนับสิบวง และเหรียญรุ่นสองเนื้อทองคำและเนื้อเงินองค์แชมป์ในวงการ
ธนบัตรใบละหนึ่งบาทนี้เป็นธนบัตรแบบที่ 9
มีรูปแบบเหมือนกับธนบัตรแบบ ๔ แต่เปลี่ยนพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์เป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มี ๖ ชนิดราคา ได้แก่ ๕๐ สตางค์ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท พิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด เริ่มทยอยออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๑ ด้วยเหตุที่ธนบัตรแบบเก้า มีระยะเวลาการนำออกใช้นานกว่า ๒๐ ปี ประชาชนจึงคุ้นเคยกับสีของธนบัตรแต่ละชนิดราคาจนยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า สีของธนบัตรแบบเก้า เป็นต้นแบบของการกำหนดสีของธนบัตรในปัจจุบัน
ธนบัตรใบละหนึ่งบาทเลขที่ R152/ผ152 เลขที่ 839661 ลงชื่อ พระยาโทณวณิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวณิก) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดำรงตำแหน่ง 15 เมษายน 2491 - 30 พฤศจิกายน 2491
และลงชื่อนายเล้ง ศรีสมวงศ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนที่ 3 ดำรงตำแหน่ง 25 พ.ย. 2490 - 2 ก.ย. 2491
ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่หลวงพ่อทองศุข จะออกเหรียญและแหวนรุ่นแรกของท่านในช่วงปี 2492 ซึ่งถ้าจะนับแล้วนับว่าเป็นวัตถุมงคลชุดแรกที่ท่านสร้างโดยแท้
- ด้านหน้าธนบัตรปิดทองเก่าทั้งสี่มุมจารด้วยตัวนะด้วยดินสอทั้งสี่มุม - ด้านหลังซ้ายจารยันต์ครูที่ใช้หลังเหรียญของท่าน
- ตรงกลางจารด้วยนะหัวใจสตรีล้อมข้างด้วยตัวพุธและตัวนะ
- ด้านหลังขวาจารนะกัปป์ภัทร์
- ด้านหลังบนเขียนว่า "จะกะสะ สะกะจะ"
ธนบัตรฉบับนี้เป็นธนบัตรเรียกทรัพย์ดาราในหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ โดย พ.คำพันธุ์