ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,164 ผู้ชมทั้งหมด :43,974,293 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :6,491

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
หลวงพ่ออํา วัดตลุก จ.ชัยนาท
ราคา :
ขายแล้ว
รายละเอียด :

"รูปถ่ายซีเปียหนึ่งในเกจิชื่อดังเมืองชัยนาท"พระครูสถิตสมณวัตร (หลวงพ่ออ่ำ) ท่านเกิดที่บ้านหนอง ตำบลตลุก เมื่อปี พ.ศ. 2397 โยมบิดาชื่อ น้อย เมื่อตอนวัยหนุ่มนั้นท่านได้เล่าเรียนวิชาหมัดมวยและคาถาอาคม และมีลูกน้องอยู่หลายคน พออายุครบ 20 ปี โยมบิดามารดาจึงได้ไปฝากกับหลวงพ่อเกิด วัดตลุก และอุปสมบทที่วัดตลุก ในราวปี พ.ศ. 2417 เดิมทีท่านจะบวชแค่ 15 หรือ 20 วันเท่านั้น แต่โยมบิดา-มารดาขอให้บวชครบพรรษา ครั้นพอออกพรรษาหลวงพ่ออ่ำก็ไม่ยอมลาสิกขา กลับมุ่งเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณ จึงได้เดินทางมาทางโคราช เนื่องจากทราบว่ามีอาจารย์ดีซึ่งชำนาญการบำบัดรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรและรากไม้ เมื่อท่านไปถึงบ้านครูหมอยา ซึ่งเป็นคฤหัสถ์ ลูกสาวครูจึงนำภัตตาหารมาถวาย เป็นเนื้อทอดหนึ่งจาน ซึ่งเจ้าของบ้านใช้เวทมนตร์ทำให้เห็นเป็นเนื้อทอด ท่านก็ไม่ยอมฉัน แล้วท่านก็คลายเวทมนตร์ ในที่สุดปรากฏว่าเนื้อทอดจานนั้นก็กลายเป็นเศษไม้ เจ้าของบ้านชอบใจว่าท่านสามารถแก้มนต์ได้ จึงรับว่าจะถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้ท่าน แต่ต้องสึกมาเป็นฆราวาสเสียก่อน ท่านจึงต้องสึกออกมาเรียนเป็นเวลา 6 เดือน ก็สามารถศึกษาได้จนหมดทั้งวิชาทางแพทย์และวิทยาคมต่างๆ หลังจากนั้นท่านจึงได้กลับมาบวชใหม่ จากนั้นท่านก็ธุดงค์ไปยังชายแดนเขมรอีก 6-7 ปี จึงกลับมาที่วัดตลุก

หลังจากนั้นไม่นานหลวงพ่อเกิดก็มรณภาพลง ท่านจึงเป็นเจ้าอาวาส วัดตลุกสืบต่อมาในราวปี พ.ศ. 2448 หลังจากท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดตลุกแล้ว ท่านก็รักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ชาวบ้าน ทั้งผู้คนที่ถูกคุณไสยต่างๆ มากมาย จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว เชื่อกันว่าท่านมีวาจาสิทธิ์พูดอะไรจะเป็นอย่างนั้น นอกจากในด้านการรักษาต่างๆ แล้ว หลวงพ่ออ่ำท่านก็ได้สร้างเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดอีกหลายอย่าง จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด

หลวงพ่ออ่ำท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสถิตย์สมณวัตร เจ้าคณะแขวงสรรพยา ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2468 ท่านก็เริ่มอาพาธและมรณภาพลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2468 แม้หลวงพ่ออ่ำจะมรณภาพไปนานแล้วแต่ชาวบ้านยังรักเคารพท่านเสมอมา และจัดงานประจำปี เพื่อระลึกถึงท่านเป็นประจำทุกปี

ในปี พ.ศ. 2467 ปีที่ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ศิษยานุศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงพ่ออ่ำสร้างเหรียญเป็นที่ระลึกหนึ่งเหรียญ เพื่อแจกให้แก่ศิษย์ในงานฉลองสมณศักดิ์ เหรียญนี้เป็นเหรียญเก่าเหรียญหนึ่งของจังหวัดชัยนาท และเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์เหรียญหนึ่งครับ

พระเกจิอาจารย์สายหลวงพ่ออ่ำ วัดตลุก

ถ้านับพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าของจังหวัดชัยนาท ก็มีอยู่หลายท่าน อย่างเช่น หลวงปู่ศุข แห่งอำเภอวัดสิงห์, หลวงพ่อเฒ่า (ปั้น) วัดคังคาว แห่งอำเภอสรรคบุรี หรืออำเภอเมือง ก็มีหลวงพ่อคง วัดบางกะพี้ และทางอำเภอสรรพยา ก็จะมีหลวงพ่ออ่ำ วัดตลุก ที่มีชื่อเสียงไม่แพ้ท่านที่กล่าวไปข้างต้น

วัดตลุก หรือวัดอินทราราม (ในปัจจุบัน) เป็นวัดโบราณ ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย อยู่ ม.1 ต.ตลุก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท นามเจ้าอาวาสที่ครองวัดตั้งแต่แรกไม่ปรากฏบันทึกไว้ชัดเจนนัก แต่ที่มีชื่อเสียงที่ชาวชัยนาทให้ความนับถือกันก็คือ พระครูสถิตสมณวัตร (อ่ำ) ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าแห่งจังหวัดชัยนาทรุปหนึ่ง ท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านเกิดเมื่อพ.ศ. 2394 และมรณภาพเมื่อปี 2468
แต่วัดตลุกยังมีเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน ที่สมควรนำมาเผยแผ่นามของท่านให้เป็นที่รู้จักกัน

ถ้านับจากหลวงพ่ออ่ำ ก็จะปรากฏนามดังนี้

1. พระครูสถิตสมณวัตร (อ่ำ) 2394-3468

2. หลวงพ่อบุญ (จำสมณศักดิ์ไม่ได้) 2410-2488

3. หลวงพ่อเทียบ (ท่านเป็นพระลูกวัด) 2422-2495

4. หลวงพ่อทรัพย์ (ท่านเป็นพระลูกวัด) 2429-2523

5. พระครูบุญธรรมวิทย์ (ชม) 2444-2527

6. หลวงพ่อเล็ก วัดบ้านหนอง 2437-2535 (หลวงพ่อเล็กนี้ ท่านครองอยู่วัดบ้านหนอง ต.ตลุก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท แต่เนื่องจากท่านเป็นพระเกจิอาจารย์สายวัตตลุก โดยท่านอุปสมบทที่ วัดตลุก โดยมีหลวงพ่ออ่ำ เป็นพระอุปัชฌาย์ และท่านถึงได้มาครองวัดบ้านหนองภายหลัง ประมาณปี 2470-2480 จึงสมควรแก่การบันทึกนามท่านไว้ในที่นี้ด้วย) 

""รูปถ่ายซีเปียของท่านหายากมากๆแทบไม่พบเจอถือเป็นของหายากที่มีค่าควรครอบครองครับ..สนใจโทร087-9888855-085-9888588"

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
087-9888855 0859888588
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด