ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,164 ผู้ชมทั้งหมด :43,974,293 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :10,059
พระอุปคุตล้านนา ปางจกบาตร หยุดตะวัน เนื้อผงคลุกรัก ลงรักปิดทองเก่า ใต้ฐานฝังตะกรุดทองคำ ขนาดเล็กห้อยคอ
ชาวล้านนาเรา คงได้ยินหรือคุ้นหูกันดีกับ คำว่า ใส่บาตรเป็งปุด หรือ ใส่บาตรพระอุปคุต ตามความเชื่อคงชนชาวล้านนาซึ่งจะมีขึ้นในทุกปีที่มีวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ โดยไม่เจาะจงว่าต้องอยู่ในเดือนใด
ที่ จ.เชียงใหม่ จะตักบาตรคืนวันอังคารหลังเวลา 00.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เข้าสู่วันพุธ ในขณะที่ จ.เชียงราย ลำปาง และแม่ฮ่องสอน จะใส่ตักบาตรในคืนวันพุธเวลา 24.00 น. เป็นต้นไป
สำหรับประวัติความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่เข้าใจว่าทางภาคเหนือหรือดินแดนล้านนา คงรับอิทธิพลนี้มาจากพม่าอีกต่อหนึ่ง โดยพม่ามีความเชื่อว่า พระอุปคุตซึ่งเป็นภิกษุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นองค์อุปัชฌาย์ เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เสด็จลงไปจำศีลภาวนาอยู่ ณ สะดือทะเล ในรอบ 1 ปีจะขึ้นมาโปรดชาวเมืองก่อนเวลารุ่งอรุณ
หากกล่าวถึงพระอุปคุคปางจกบาตรนี้ เป็นปางหนึ่งที่พระอุปคุตแหงนหน้าหยุดพระอาทิตย์เพื่อฉันข้าวก่อนเพล แม้แต่พระอาทิตย์ไม่ว่าใหญ่แค่ไหนก็ต้องหยุดด้วยอานุภาพของท่าน
การนิยมสร้างพระอุปคุตปางนี้ไว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล และเชื่อกันในเรื่อง ความบริบูรณ์พูลสุข
สำหรับท่านผู้ทำจิตให้นอบน้อมบูชาสักการะองค์พระอุปคุตมหาเถระปราบมาร ทำสิ่งใดไม่ว่าจะมีปัญหา
มากแค่ไหน ก็สำเร็จทุกประการ
พระอุปคุตมหาเถระ ผู้เป็นอรหันตสาวกที่ทรงมหิทธนุภาพ เป็นพระอรหันต์สมัยหลังพุทธกาล ร่วยุคสมัยกับพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่
พระอุปคุตมหาเถระเป็นยอดเป็นยอดแห่งธรรมกถึกผู้เป็นเลิศแห่งการแสดงธรรม ท่านตั้งความปรารถนาที่จะอยู่รักษาพระพุทธศาสนาให้ครบ 5,000 ปีปกป้องคุ้มกันปราบมารและอุปทวอันตรายทั้งหลาย ผู้ใดปรารถนาความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม
จงนอบน้อมบูชาต่อพระอุปคุตเถระ เป็นสังฆานุสติ และปฏิบัติตนตามปฏิปทาของท่าน
คือ ฝึกตนเองให้สมบูรณ์ ขัดเกลากิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ของตนเองให้เบาบางและช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลายให้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุกอีกทั้งช่วยพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป
การที่พระอุปคุตมีอิทธิฤทธิ์ในการปราบมาร คล้ายกับการอวตารของพระวิษณุจากสะดือทะเล คนล้านนายุคก่อนจึงมักเปรียบพระอุปคุตว่าเป็น “วิษณุปางหมอเมือง”
ฤๅษีวาสุเทพได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาด้านตำรายาจากพระวิษณุมาฉันใด “เจ้าหลวงคำแดง” (อารักษ์เมืองเชียงใหม่ ซึ่งเชื่อกันว่า ท่านอยู่ที่ดอยหลวงเชียงดาว คอยปกปักษ์รักษาเมือง) ก็ได้รับการถ่ายทอดตำรายาจากพระอุปคุตฉันนั้น
ขอบคุณข้อมูล จากผู้เขียนไว้เดิม และจากหลายแหล่งที่มา ขออนุญาตนำมาเรียบเรียงอีกครั้งเพื่อการเผยแพร่อนุรักษ์ครับ ขอบคุณครับ