***** เบี้ยแก้ โทเร ห่วงเดี่ยว หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม*****
เบี้ยแก้รุ่นนี้ เรียกกันว่า รุ่นไทยโทเร หรือเรียกกันติดปากว่า "เบี้ยแก้โทเร "
ตามประวัติการสร้างนั้นโรงงานไทยโทเรเท็กซ์ไทล์มิลส์ฯ ซึ่งอยู่ใกล้กับวัดกลางบางแก้ว ได้มาขอเมตตาบารมีให้หลวงปู่เพิ่มท่านช่วยสร้างเบี้ยแก้เมื่อประมาณปี 2516-18
โดยทางโรงงานได้นำห่วงแสตนเลสมาถวาย(กลายเป็นเอกลักษณ์ชัดเจนมาตรฐานของรุ่นนี้)
เพื่อนำมาสร้างเป็นเบี้ยแก้สำหรับแจกในงานทอดกฐิน
รวมทั้งตั้งใจแจกให้คนงานที่ว่ากันว่า มักจะโดนผีที่โรงงานหลอกกัน
จำนวนการสร้างของเบี้ยโทเรนั้นจำนวนจำกัด และ มีเพียงรุ่นเดียว มีเอกลักษณ์มาตรฐานที่หูห้อย แต่อาจมี หูเดียว สองหู และ สามหู
<<< ลูกนี้เป็นแบบห่วงเดี่ยว อย่างหนาๆ ยุคต้นๆ สร้างก่อนมีจำนวนน้อย และ หายากสุด >>>
ขนาดมาตรฐาน ทรงนิยม รักแท้ดูง่ายได้อายุ น้ำหนักดี ปรอทวิ่งดี ครับ
(Cr..,พี่แจ้ เสนา)
=============================
เบี้ยแก้ หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
เบี้ยแก้ หมายถึง เครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งสำหรับแก้คุณไสย มนต์ดำ และยาสั่ง ทำด้วยเบี้ยจั่นซึ่งเป็นหอยทะเลชนิดหนึ่ง บรรจุปรอทเอาไว้ภายใน แล้วปลุกเสกด้วยอาคม เบี้ยแก้จึงนับว่าเป็นเครื่องรางของขลัง ที่ควรมีติดกาย เปรียบเทียบประดุจดังว่า เป็นเครื่องรางคู่กายที่จำเป็นต้องมีอย่างขาดเสียไม่ได้ เพราะสามารถทั้งกัน ทั้งแก้คุณไสยมนต์ดำต่างๆ เช่นเดียวกับมีดหมอ
เบี้ยแก้นั้นมีการสร้างมาแต่ครั้งโบราณ สรรพคุณในการใช้นั้นก็ตรงกับชื่อคือใช้แก้กันได้สารพัด ใช้ป้องกันคุณไสยต่างๆ ป้องกันภูตผีปีศาจ ป้องกันไข้ป่า ป้องกันยาพิษยาสั่ง อยู่คงเขี้ยวงาทุกชนิด ป้องกันและแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ผลชะงัด ในด้านร้ายกลับเป็นดี จะมีคุณสมบัติในเรื่องช่วยให้เรื่องร้ายๆ หรือ เรื่องที่ไม่ดีต่างๆ ให้กลับกลายเป็นเรื่องที่ดี อย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งเป็นจุดสำคัญของคำว่า " เบี้ยแก้ " ที่มีความหมายว่า แก้ในสิ่ง
ที่ไม่ดี ให้กลับเป็นดีขึ้นได้
หลวงปู่เพิ่มท่านมักจะเป็นผู้ถ่อมตนในการสร้างวัตถุมงคลอยู่เสมอ ใครจะมาขอมงคลวัตถุจากท่านก็ตามท่านมักจะมอบให้ แล้วบอกให้ผู้รับอย่าตั้งอยู่ในความประมาท และเมื่อมีใครก็ตามถามหลวงปู่ว่าของหลวงปู่ดีอย่างไร ท่านก็จะบอกได้แต่เพียงว่าให้ไว้เป็นที่ระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพียงเท่านั้นเอง การสร้างมงคลวัตถุของหลวงปู่หากจะลำดับว่าท่านสร้างอะไรเป็นสิ่งแรก แล้วก็คงต้องบอกว่า “เบี้ยแก้” เพราะท่านสร้างมานานมาก หลังจากท่านครองเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วได้ไม่กี่ปี ท่านสร้างครั้งแรกเมื่อใด ท่านตอบว่าจำไม่ได้เสียแล้วรู้เพียงว่าเมื่อเป็นเจ้าอาวาสได้ไม่นาน ซึ่งก็คงจะราว ๆ ปี พ.ศ. 2485 เพราะท่านเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. 2482 ท่านเล่าว่ามีญาติโยมเขามาขอให้ท่านทำให้ ท่านก็บอกปัดไปหลายครั้งหลายหน แต่ในที่สุดก็ทนโยมที่มาขอร้องอยู่เสมอไม่ได้จึงทำให้ไปตามความรู้ความ สามารถที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงปู่บุญและเมื่อทำไปแล้วก็มีคนมาขอให้ทำ ให้ต่อมาโดยมิขาด ในช่วงเวลาอันยาวนานถึง 40 ปี
หลวงปู่สร้างเบี้ยแก้ให้บรรดาศิษย์ และผู้เคารพ
นับถือท่านไม่น้อย ผู้ที่ได้ไปต่างก็หวงแหน เพราะเป็นของขลังประจำตัวมิได้ให้กันง่าย ๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะให้ท่านทำให้ไว้คนละ 1 ตัวเท่านั้น หลวงปู่เป็นอุปัชฌาย์บวชให้กุลบุตรมาจำนวนนับพันคน ผู้ที่หลวงปู่บวชให้แต่ละคนส่วนมากก็จะมีเบี้ยแก้ของหลวงปู่เสมอไป เพราะระหว่างบวชอยู่ก็จัดเตรียมเครื่องทำเบี้ยแก้ไปถวายให้หลวงปู่ทำให้
กรรมวิธีการทำเบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่ม ผู้ที่ต้องการเบี้ยแก้จะต้องไปจัดหา หอยเบี้ย 1 ตัว ปรอทน้ำหนัก 1 บาท ชันนะโรงใต้ดินกลางแจ้ง 1 ก้อน แผ่นตะกั่วขนาด 4 x 5 นิ้ว 1 แผ่น เอาของทั้งหมดใส่ถาดพร้อมดอกไม้ธูปเทียนไปถวายหลวงปู่ท่านจะรับสิ่งของเอา ไว้ จากนั้นท่านจะเสกปรอทแล้วเทปรอทจากขวดใส่ฝ่ามือเรียกเอาปรอทใส่เบี้ย แล้วอุดด้วยชันนะโรงที่ปากหอย จากนั้นท่านจะส่งถาดคืนให้พร้อมหอยที่กรอก แล้วบางทีท่านจะบอกว่า “ไปขอให้ท่านสมุห์เจือเขาทำให้นะจ๊ะ” หมายถึงผู้ที่ทำเบี้ยแก้จะต้องเอาสิ่งของดังกล่าวไปหาพระสมุห์เจือกุฏิริม แม่น้ำนครชัยศรี สมุห์เจือก็จะเอาแผ่นตะกั่วมาห่อหุ้มหอยเบี้ยที่กรอกปรอทเอาไว้แล้วใช้ด้าม มีดเคาะจนแผ่นตะกั่วแนบสนิทกับตัวหอย ปฏิบัติการนี้นานประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง จนกระทั่งแผ่นตะกั่วเรียบสนิทดี ฝีมือการเคาะนี้หากไม่มีความชำนาญ เบี้ยจะออกมาไม่สวย และเมื่อเอาให้หลวงปู่ลงจารอักขระจะจารยากมาก พระสมุห์เจือมีความชำนาญมาก ท่านเคาะเบี้ยแก้เป็นประจำมานานไม่น้อยกว่า 30 ปีแล้ว จนปัจจุบันท่านรับภาระทำเบี้ยแก้แทนหลวงปู่ได้ขลังและเป็นที่รู้จักกันดี ทั่วไป
เมื่อหุ้มตะกั่วแล้วผู้ทำเบี้ยจะต้องนำเบี้ยแก้ที่หุ้ม นั้นไปหาหลวงปู่อีกครั้ง ถวายให้ท่านลงจารอักขระบนตะกั่วที่ห่อหุ้มเบี้ยเอาไว้ บางรายก็เอาผ้าแดงผืนเล็ก ๆ ให้หลวงปู่ลงยันต์ให้ด้วยก็มี พอท่านจารเสร็จก็จะปลุกเสกให้ บางทีท่านอาจให้มารับวันหลัง บางทีท่านก็จะปลุกเสกให้เดี๋ยวนั้น
หลังจากหลวงปู่ปลุกเสกและจารอักขระให้เสร็จก็เป็นอันว่า เสร็จเรียบร้อย แต่ส่วนใหญ่จะนำเอาเบี้ยแก้ที่ปลุกเสกเสร็จแล้วกลับไปหา “สมุห์เจือ” อีกครั้งหนึ่งเพื่อขอให้ท่านถักเชือกหุ้มห่อหอยเบี้ยแก้ให้ ซึ่งพระสมุห์เจือมีฝีมือการถักเป็นเยี่ยมมาก ภายหลังท่านถักไม่ไหวเพราะมีมาก จึงมอบให้พระพีระ อภิวัฒโน ช่วยถัก ซึ่งมีฝีมืองดงามพอ ๆ กัน เพราะท่านเป็นพระอารมณ์เย็นทำได้ประณีตบรรจง แต่ปัจจุบันนี้ทั้งสององค์นี้มีภาระมากเกินจะทำให้ได้
การลงอักขระบนตัวหอยเบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่มรุ่นแรก ๆ จะมีความคล้ายคลึงกับหลวงปู่บุญ กล่าวคือท่านจะลง “เฑาว์มหาอุตม์” “เฑาะว์มหาพรหม” (ขึ้นยอด) และ “อัง” เอาไว้บนหลังเบี้ย ส่วนใต้ท้องเบี้ยจะลง “พุทธซ้อน” ต่อมาภายหลังท่านสายตาไม่ค่อยดี ท่านมักจะลงเฉพาะส่วนหลังเบี้ยเท่านั้น ข้อนี้พอจะจำแนกเบี้ยรุ่นแรก ๆ กับรุ่นหลัง ๆ ได้ค่อนข้างแน่นอน การลงรักหรือยางมะพลับนั้นอยู่ที่ผู้ทำเบี้ยแก้ว่าชอบ อย่างใด มักจะทำอย่างนั้น บางรายไม่ลงรักหรือยางมะพลับแต่เอาไปทาเคลือบน้ำมัน “ซิกมาว่า” ก็มี “ยูริเทน” ก็มี สิ่งเหล่านี้เอาเป็นข้อยุติมิได้แน่นอน
การอาราธนาเบี้ยแก้หลวงปู่เพิ่ม ท่านบอกว่าให้รำลึกถึงพระคุณพระธรรม พระสงฆ์ และหลวงปู่บุญอาจารย์ของท่านเป็นที่ตั้งและระมัดระวังตนอย่าประมาท เพียงเท่านี้เองไม่มีอะไรพิสดารแปลกไปกว่านี้ ท่านกล่าวว่าของศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่จิตใจคือการยึดมั่นถือมั่น และดำรงอยู่ในศีลธรรมอันดี บารมีคุณพระจึงจะปกป้องคุ้มครอง และดลบันดาลให้มีแต่ความสุขความเจริญ แต่หากปฏิบัติตนไม่เหมาะสมไม่อยู่ในศีลธรรมคุณพระย่อมไม่คุ้มครองแน่นอน บารมีเบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่มมีประสบการณ์มาก มีเรื่องเล่ากล่าวขานกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะคนนครชัยศรีและในแวดวงของศิษย์หลวงปู่แต่ละท่านจึงมีความเชื่อมั่น ในเบี้ยแก้ของหลวงปู่มาก ถึงแม้บางรายพยายามจะหาเบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญแต่เมื่อหาไม่ได้จริง ๆ ก็ใช้เบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่มแทนได้สบายมาก
ในช่วงปลายอายุหลวงปู่เพิ่ม หลวงปู่เพิ่มได้เรียก “ พระอาจารย์ใบ ” และ “ หลวงปู่เจือ ” ขึ้นไปพบพร้อมด้วยดอกไม้ธูปเทียน เพื่อถ่ายทอดวิชาเบี้ยแก้และวิชาบางประการให้ทั้งสองรูป แล้วกระซิบบอกว่า ถ้าท่านไม่อยู่แล้ว วิชาเบี้ยแก้ จะ ได้ไม่สูญไปจากวัดกลางบางแก้ว แล้วพูดว่า “ ให้ใบทำก่อน ”หมายถึงให้พระอาจารย์ใบทำก่อนเหมือนมีความหมายแฝงเอาไว้ในอนาคต เพราะหลังจากหลวงปู่เพิ่มมรณภาพพระอาจารย์ใบก็ทำเบี้ยแก้ได้ประมาณ 1 ปี พระอาจารย์ใบก็มรณภาพจากนั้น “ อาจารย์เซ็ง ” ก็ทำเบี้ยอยู่ได้อีกไม่นานก็มรณภาพจึงถึงวาระของ “ หลวงปู่เจือ ” “ หลวงปู่เพิ่ม ” เหมือนจะรู้ว่าใครจะต้องทำก่อนทำหลัง ท่านจึงสั่งไว้เช่นนั้นตลอดเวลาที่ผ่านมา “ หลวงปู่เจือ ” ทำเบี้ยแก้ไว้มากมายมากกว่าทุกหลวงปู่ของวัดกลางบางแก้วรวมกันทั้งหมด
SPECIALS THANK ท่านนายกฯ สมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย (ป๋าพยัพ คำพันธุ์) , คณะกรรมการชุดเครื่องรางยอดนิยมทุกท่าน , คุณต้น แจ่มมณี , เวปเครื่องรางไทย ,http://www.watkbk.com/ , คุณสุธน ศรีหิรัญ , คุณบอล , เฮียอ้วน นครปฐม , คุณป้อม ท่าพระจันทร์ , คุณตั้ม คติพุทธ , นพ.ชุมพล แย้มเจริญ , คุณหมอต้น , คุณเด็จ พงษ์พานิช , เฮียฐนภพ , คุณวุธ , จ่าเจี๊ยบ ปากน้ำโพ , คุณจรัล ราชสีห์ , คุณเจี๊ยบ อ่างทอง , คุณระ ภูเก็ต , คุณตุ๊ก สุพรรณ , คุณจักรพงศ์ , คุณตี๋ นครปฐม , คุณแจ้ เสนา , คุณเมธี บุญทอง , คุณเชน เชียงใหม่ ฯลฯ