ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,164 ผู้ชมทั้งหมด :43,974,293 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :15,142
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวาย จ.ปทุมธานี พ.ศ.๒๓๙๘-๒๔๗๕
.
ต้นตำหรับตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ๑ ในเบญจภาคีที่มีความเก่าแก่และหายากที่สุด โดยปรมาจารย์ผู้ทรงอภิญญา เลื่องชื่อที่สุดในยุคทั้งพุทธคุณและประสบการณ์ เป็นหนึ่งเดียวในสยามที่ถวายแด่รัชกาลที่ ๕ เฉกเช่นเดียวกับเขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน สมเป็นยอดบนสุดของตำนานตะกรุดหนังหน้าผากเสือไทย
.
ด้วยตำหรับที่เคร่งครัดใช้เฉพาะส่วนหน้าผากเสือเท่านั้น เสือหนึ่งตัวต่อหนึ่งชิ้น ของหมุนเวียนจึงน้อยมากทั้งอาจารย์ถึงลูกศิษย์ โดยเฉพาะของหลวงพ่อหว่างผู้เป็นอาจารย์ ของแทบไม่มีหมุนเวียนให้เห็น เป็นดั่งตำนานที่อยู่บนหิ้ง เฉพาะผู้ตระหนักจริงจึงพยามหยิบฉวย หากต้องวาสนาย่อมหวงแหนเป็นที่สุด
.
ดอกนี้ขนาดเล็กเพียง ๑.๓ นิ้ว "สวยเดิม ชัดเจน ทรงคุณค่า" พร้อมบัตรนิตยสารพระท่าพระจันทร์
.
ถ้าว่ากันแบบตรงไปตรงมาก็ต้องบอกว่า ตะกรุดหนังหน้าผากเสือในสยามนั้นคงมีไม่กี่สำนัก แต่ถ้าเพียงหนังเสือนั้นมีหลายสำนัก ตัวจริงๆของหลวงปู่นาค วัดอรุณฯ มีหมุนเวียนเพียงหลักสิบยี่สิบเท่านั้น ส่วนของหลวงพ่ออื่นนั้นหลักหลายๆสิบ ที่เป็นหนังเสือนั้นก็จะมีมาก แต่ของหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวาย ตัวจริงๆแทบไม่มีหมุนเวียนเลย
.
พระธรรมานุสารี ศิลสาราภิรักษ์ สังฆปาโมกข์ (สว่าง ธัมมโชโต) หรือเจ้าคุณหว่าง อดีตพระราชาคณะ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี อดีตเจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย
.
เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๘ โยมบิดาชื่ออ่อน โยมมารดาชื่อทิม บ้านอยู่หลังวัดเทียนถวาย เชื้อสายมอญ อุปสมบท ณ วัดเทียนถวาย แล้วมาจำพรรษาที่วัดบางกระดี จากนั้นจึงเข้ามาศึกษาปริยัติธรรม กรรมฐานวิปัสนา แลวิทยาคมต่างๆ ณ วัดสระเกษฯ กทม. ก่อนจะกลับมาอยู่ที่วัดบางกระดี และชาวบ้านก็มาอาราธนาให้เป็นเจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย พ.ศ.๒๔๓๕ เป็นต้นมา
.
หลวงพ่อหว่างเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านเป็นอันมาก และเป็นที่ยำเกรงของนักเลงทั้งหลายกฤตยาคมของท่านขจรขจาย วัตถุมงคลของท่านเป็นที่ต้องการอย่างสูง หากแต่ท่านไม่ได้สร้างพระเครื่อง วัตถุมงคลของท่านมีเพียงผ้าประเจียดแดงและตะกรุดหนังหน้าผากเสืออันเลื่องลือเป็นที่สุด
.
สร้างน้อยแจกน้อยหายากมาแต่อดีต ด้วยท่านเคร่งครัดตามบังคับวิชาโบราณ ตำหรับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว แห่งกรุงศรีอยุธยา สร้างเฉพาะปีที่มีฤกษ์วันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ เท่านั้น ด้วยหน้าผากเสือหนึ่งตัวต่อหนึ่งชิ้น ใช้เพียงตำแหน่งหว่างคิ้วของเสือตัวนั้นๆ อันเป็นตำแหน่งจักระศูนย์รวมแห่งพลัง ตบะ เดชะ มหาอำนาจ ทั้งเป็นยอดมหาอุตม์ในตัว ตั้งเครื่องพลี แช่น้ำมนต์ โกนขน ฝนบางให้เท่ากัน จารอักขระเลขยันต์ตามสูตร จึงม้วนแน่นไว้กับเชือกคล้องจนหนังแห้งรัดตัว แล้วปลุกเสกอย่างน้อยทั้งไตรมาส รอจนถึงฤกษ์เสาร์ ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ที่กำหนดไว้ ก่อนตั้งโต๊ะทำพิธีปลุกเสกใหญ่ จึงสำเร็จให้ลูกศิษย์ไว้บูชา
.
นี่เป็นของสำคัญที่ไม่ได้แจกพร่ำเพรื่อ จึงทำให้ตะกรุดตำหรับนี้มีจำนวนน้อยมาก ทั้งของหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวาย ผู้เป็นอาจารย์และหลวงปู่นาค วัดอรุณฯ ผู้เป็นศิษย์ ด้วยตำหรับการสร้างที่จำกัดอย่างยิ่ง โดยเฉพาะของหลวงพ่อหว่างนั้นผ่านกาลเวลามาเนิ่นนานกว่าทุกสำนัก ตัวจริงๆแทบไม่มีให้หมุนเวียนเปลี่ยนมือ จนเป็นตำนานที่อยู่บนหิ้ง เฉพาะผู้ที่รู้จริงจึงพยามหยิบฉวย หากต้องวาสนาย่อมหวงแหนเป็นที่สุด
.
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทุกครั้งที่เสด็จทางชลมารคไปพระราชวังบางปะอิน เมื่อถึงวัดเทียนถวายพระองค์จะแวะขึ้นไปนมัสการหลวงพ่อหว่างอยู่เป็นนิจ ครั้งในปี พ.ศ.๒๔๔๙ ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับหลวงพ่อหว่าง ทั้งพระราชทานทรัพย์จำนวน ๒๐ บาท แด่วัดเทียนถวาย และหลวงพ่อหว่างก็ได้ถวายตะกรุดหนังหน้าผากเสืออันเลื่องลือแด่พระองค์ท่านด้วย
.
นี่จึงเป็นปฐมตำนานอันยิ่งใหญ่ เป็นตะกรุดหนังหน้าผากเสือหนึ่งเดียวในสยามที่ได้ถวายแด่รัชกาลที่ ๕ เฉกเช่นเดียวกับเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย
.
หลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวาย ท่านเป็นอาจารย์ของหลวงปู่นาค วัดอรุณฯ ผู้ได้รับการถ่ายทอดวิชาตะกรุดหนังหน้าผากเสืออันเลื่องลือแต่เพียงผู้เดียวด้วยตำหรับโบราณอย่างเคร่งครัดจนหมดสิ้น ฉะนั้นตะกรุดของท่านทั้งสองจึงไม่ต่างกัน หากแต่หาของอาจารย์ไม่ได้ ก็ยังใช้ของลูกศิษย์แทนได้อย่างไม่ผิดแผกเป็นสำคัญ
.
ทั้งหลวงพ่อหว่างท่านยังเป็นอาจารย์ของหลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ แม้กระทั่งหลวงปู่ช่วงวัดบางหญ้าแพรก ก็มาเรียนวิชาทำผ้าประเจียดแดงกับท่าน
.
หลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวาย มรณภาพ พ.ศ.๒๔๗๕ สิริอายุได้ ๗๗ ปี โดยหลวงปู่นาค วัดอรุณฯเป็นแม่งานในพิธีพระราชทานเพลิงศพผู้เป็นพระอาจารย์ พ.ศ.๒๔๗๖ ทั้งจัดสร้างของชำร่วยมาแจกจ่ายเป็นรูปถ่ายหลวงพ่อหว่าง ซีเปียติดกระจกทรงข้ามหลามตัดขนาดห้อยคอ อันเป็นที่นิยมในสมัยปัจจุบันอีกด้วย
.
ซึ่งในยุคโบราณนั้น ตะกรุดหนังหน้าผากเสือหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวาย ครองอันดับหนึ่งอย่างไม่ต้องสงสัย จนเป็นที่กล่าวขานสืบต่อกันมาจากนักเลงของขลังรุ่นคุณทวดว่า "ตะกรุดหนังหน้าผากเสือต้องยกให้วัดเทียนถวายเป็นที่สุด"
.
๑ หอพระ ๑ ฦา ๙