ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,164 ผู้ชมทั้งหมด :43,974,293 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :4,170
๙๙๙ ตะปูเสกพอกผง ครูบาสิงห์แก้ว วัดปากกอง จ.เชียงใหม่ ๙๙๙
หายากสร้างน้อยหลักสิบต้นๆ ท่านสร้างจำนวนจำกัด วาระเดียวครั้งเดียวเมื่อสร้างเสร็จท่านได้ทำการปลุกเสกตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 ทุกเช้าเย็น จนกระทั่งมรณภาพปี พ.ศ.2535 นับว่าเป็นเครื่องรางที่ได้รับการปลุกเสกยาวนานมากครับ ...., ดอกนี้สภาพสวยสมบูรณ์ ดอกเล็กหายากๆ ครับ
เป็นสุดยอดเครื่องรางอันดับหนึ่งของท่าน ที่โดดเด่นชัดเจนทางเรื่องล้างอาธรรพ์กันภูติผีปราบปีศาจ (ข้อมูลจาก คุณหนึ่ง ธรรมสิริ สายตรง )
จำนวนการสร้างตะปูเสกพอกผงนั้น ได้สอบถามจาก “ลุงหมอวิจารย์ศิษย์เอกฆราวาสผู้ใกล้ชิด” ท่านได้บอกไว้ว่าตะปูเสกพอกผงนี้สร้างน้อยมากๆ คือ "สร้างทั้งหมดคือหลักสิบต้นๆ เท่านั้น"
ตะปูเสกพอกผงนั้นข้างในบรรจุตะปูเสกอาคม (ลุงหมอท่านเรียกว่าเป็นก่าสะท้อน) ด้านนอกพอกผงเป็นผงเดียวกับผงลูกอมคือ เนื้อผงคลุกรัก ออกสีเขียวครก เนื้อเดียวกันกับที่ท่านใช้ปั้น ลูกอมกันผีรุ่นแรก
ตะปูเสกก่าสะท้อน (ป้องกัน,สะท้อนกลับ) ที่มีคุณวิเศษทางด้านขับไล่ผีสางแก้คุณไสและป้องกันผีและวิญญาณอาฆาต โดยตะปูที่ไม่ได้พอกผงก็มี ท่านจะมอบให้ศิษย์เอาไว้ใช้ตอกเสาบ้านที่ตกน้ำมัน หรือ ตอกประตูบ้านเพื่อป้องกันภูติผีปีศาจและล้างอาธรรพ์ต่างๆ และยังมีคุณวิเศษทางด้านเมตตามหานิยมในตัว
วัตถุมงคลและเครื่องรางต่างๆ ของท่านเป็นของดีแห่งล้านนาที่มีประสบการณ์จากลูกศิษย์มากมาย ครูบาท่านได้รับฉายาจากลูกศิษย์ลูกหาและผู้นับถือว่า "ครูบาผีกลัว" เครื่องรางตะปูเสกพอกผงนี้ พระครูสิริธรรมโฆษิต(ครูบาสิงห์แก้ว)แห่งวัดปากกอง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ สร้างไว้โดยมี มวลสารต่างๆดังนี้ ...,
ตะปูเสกก่าสะท้อน "สร้างจากตะปูที่ท่านปลุกเสก" แล้วพอกด้วยผงพุทธคุณที่มีมวลสารต่างๆเช่นทรายเสก ก้านธูปเสก ผงหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ (หลวงพ่อสดได้นำผงปากน้ำมาให้ครูบาสิงห์แก้วครั้งมาปลุกเสกพระที่วัดพระสิงห์ ) และข้าวก้นบาตรครูบาสิงห์แก้ว , ผงปัทมัง , ผงอิทธิเจ และเกศามาผสม แล้วพอกที่ตะปูเสกลูกอมเกศาก็มีมวลสารเช่นเดียวกัน
เพียงแต่ตะปูเสกก่าสะท้อนจะมีเพิ่มพิเศษตรงที่ใช้หรับป้องกันคุณไสยให้สะท้อนกลับไปยังผู้ปล่อยมา และทั้งยังกันผีและไล่ผีได้ ทำน้ำมนต์ช่วยเหลือผู้ที่เจ็บป่วยจากการถูกผีสิง ผีอำ ขวัญผวา
:: ขอขอบพระคุณข้อมูลเขียนและเรียบเรียงเพื่อประกาศเกียรติคุณครูบาอาจารย์ โดย พี่เชน เชียงใหม่ (พ.ศ.2553 และ พ.ศ.2558) ณ ที่นี้ด้วยครับ ::