ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,164 ผู้ชมทั้งหมด :43,974,293 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :12,559
เครื่องราง เหรียญหล่อทองคำโบราณ
ลวดลายของเหรียญที่พบนั้น ด้านหนึ่งเป็นรูปพระอาทิตย์ครึ่งดวงแผ่รัศมี มีจุดไข่ปลาเรียง ๒ แถว อีกด้านมีสัญลักษณ์ศรีวัตสะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระนารายณ์อยู่ตรงกลาง ข้างหนี่งของศรีวัตสะเป็นบัณเฑาะว์ หมายถึงกลองเล็กชนิดหนึ่งที่พราหมณ์ใช้ในพิธีต่างๆ อีกข้างหนึ่งเป็นเครื่องหมายสวัสดิกะหมายถึงความโชคดี ส่วนบนสุดของเหรียญเป็นรูปดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ลวดลายที่ปรากฎบนเหรียญแสดงให้เห็นความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์
ศรีวัตสะ (Srivatsa) มีรูปแบบเป็นเรือนหรืออาคารจำลองเล็กๆ มียอดแหลมคล้ายหน้าจั่ว ใช้ในลักษณะของสัญลักษณ์มากกว่ารูปเหมือนจริง และเป็นสัญลักษณ์ที่มักพบในงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องในศาสนา ไม่ว่าจะเป็นจารึก ประตูทางเข้าศาสนสถาน ประติมากรรม ตราประทับดินเผา สายสร้อย และเหรียญ ฯลฯ นักวิชาการได้ให้ความหมายของศรีวัตสะไว้หลายความหมาย [๑] เช่น “ที่รักของเทพธิดาแห่งโชคลาภ” “ที่รักของพระลักษมี” “ลูกของพระศรี” “เส้นขนที่ขมวดเป็นเกลียวของสัตว์ร้าย” “ที่ประทับของพระศรี” เป็นต้น พระศรี หรือ พระลักษมี เป็นเทวีที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ถือเป็นชายาหรือศักติของพระวิษณุ ซึ่งเป็น ๑ ใน ๓ องค์เทพเจ้าสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพีแห่งโภคทรัพย์ ความมั่งคั่ง ความเจริญรุ่งเรือง และความรัก [๒]
กล่าวโดยสรุป สัญลักษณ์ศรีวัตสะที่พบในประเทศไทย เชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นมงคล คือ ความอุดมสมบูรณ์ ที่เป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระศรี หรือ พระลักษมี ชายาของพระวิษณุ ตามความเชื่อของลัทธิไวษณพนิกาย ในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ดังจะเห็นได้จากเหรียญ ตราประทับ หรือสิ่งของที่มีความเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ในความหมายถึงความเป็นมงคล ความอุดมสมบูรณ์ และความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักร ลักษณะของลวดลายศรีวัตสะที่ปรากฏบนเหรียญเงินในสมัยทวารวดีมีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งรูปแบบดังกล่าวคงรับอิทธิพลมาจากอินเดียโดยตรง หรืออาณาจักรใกล้เคียง เช่น พม่าและเวียดนาม นอกจากนี้สัญลักษณ์ศรีวัตสะที่ปรากฏบนเหรียญในสมัยทวารวดี ยังปรากฏร่วมกับสัญลักษณ์มงคลอื่นๆ ซึ่งกลายเป็นรูปแบบเฉพาะตัวของเหรียญลายศรีวัตสะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การทำเหรียญที่มีสัญลักษณ์ศรีวัตสะร่วมอยู่ด้วยนั้น จึงน่าจะเกิดจากความเชื่อของคนพื้นเมืองที่มีศรัทธาต่อลัทธิไวษณพนิกาย ที่นับถือพระวิษณุ ตามความเชื่อดั้งเดิมที่รับมาจากอินเดีย ผ่านการติดต่อค้าขายกับดินแดนอื่นๆ สังเกตได้จากการพบเทวรูปของพระวิษณุเป็นจำนวนมากตามแหล่งวัฒนธรรมทวารวดีที่กระจายตัวอยู่ในแหล่งโบราณคดีบริเวณภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย
Credit: https://www.facebook.com/180626195372775/posts/683659308402792/