ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,164 ผู้ชมทั้งหมด :43,974,293 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :4,051

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
ตะกรุดหนังเสือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
ราคา :
ถามแดนครับ
รายละเอียด :
ตะกรุดหนังเสือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว กับพระเครื่องรุ่นต่างๆ พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่บุญ) ถือกำเนิดฤกษ์วันจันทร์ที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๙๐ ณ บ้านตำบลท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร (ในสมัยนั้นเรียกว่าบ้านนางสาว) เป็นบุตรของนายเส็ง นางลิ้ม มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๖ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี เมื่อยังเยาว์ ท่านเคยเป็นไข้อาการหนักชนิดหนึ่ง วันหนึ่งถึงกับสลบไสลไม่ได้สติ บิดามารดาเข้าใจว่าตายไปแล้ว ตระเตรียมการจะเอาไปฝัง แต่ท่านกลับฟื้นขึ้นมา เหมือนมีปาฏิหาริย์ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้ชื่อที่บิดามารดาตั้งให้ไว้ว่า "บุญ" เคราะห์ร้ายก็ยังไม่สิ้น เมื่อบิดามารดามีความจำเป็นต้องย้ายไปประกอบอาชีพทำนาที่ ต.บางช้าง อ.สามพราน จ.นครปฐม แล้วตอนอายุ ๑๓ ปีเท่านั้น บิดาก็สิ้นบุญ ป้าจึงนำไปฝากไว้กับ พระปลัดทอง วัดคงคาราม (ชื่อเดิมของวัดกลางบางแก้ว) อ.นครชัยศรี แล้วบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๕ ปี เรียนหนังสือหนังหา ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ในขณะเดียวกัน ก็ได้รับใช้ใกล้ชิดพระปลัดทอง วัดคงคาราม แต่แล้วก็ต้องลาสิกขา ในขณะที่มีอายุใกล้จะอุปสมบท เนื่องจากโรคร้ายยังคุกคามไม่ยอมทุเลา
จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๑๒ อายุ ๒๒ ปี หลังจากหายจากโรคร้ายดังกล่าวแล้ว จึงมีโอกาสเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดกลางบางแก้ว โดยมีพระปลัดปาน วัดพิไทยทาราม ป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "ขันธโชติ" เกี่ยวกับหน้าที่การงานและสมณศักดิ์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๙ เป็นเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว พ.ศ.๒๔๓๑ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พ.ศ.๒๔๔๓ พรรษา ๓๐ เป็นเจ้าคณะหมวด พ.ศ.๒๔๕๙ พรรษา ๔๖ เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับราชทินนามว่า "พระอุตรการบดี" พร้อมกับเป็นเจ้าคณะแขวงในปีนั้นด้วย ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๘๒ พรรษา ๔๙ ได้รับราชทินนามว่า "พระครูพุทธวิถีนายก" เป็นประธานกรรมการคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐมและจังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ.๒๔๗๓ พรรษา ๖๐ ได้รับราชทินนามว่า "พระพุทธวิถีนายก" เป็นประธานคณะสงฆ์มณฑลนครชัยศรี และถึงแก่กาลมรณภาพ เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๘ ในระหว่างที่มีชีวิตอยู่นั้น หลวงปู่บุญ ได้รับเกียรติยกย่องว่าเป็นพระนักพัฒนา โดยบูรณปฏิสังขรณ์วัดกลางบางแก้ว จนรุ่งเรืองขึ้นอย่างผิดหูผิดตา กลายเป็นวัดใหญ่วัดหนึ่งในมณฑลนครชัยศรี นอกจากนั้นท่านยังสร้างหอไตร มณฑป ศาลาการเปรียญ ศาลาลอย หอสวดมนต์ วิหาร โรงเรียนพระปริยัติธรรมบุญรังสฤษดิ์ ศาสนสถานที่ท่านบูรณะดังกล่าว ได้แก่อุโบสถเจดีย์
หลวงปู่บุญ ขันธโชติ ยังส่งเสริมการศึกษาแก่กุลบุตรและธิดา โดยตั้งโรงเรียนประชาบาลบุญวิถีนายกขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือวัดที่ขัดข้องในเรื่องต่างๆ อีกหลายวัด
พระเครื่องวัตถุมงคลหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เกี่ยวกับวัตถุมงคลและ พระพิมพ์พระเครื่อง หลวงปู่บุญท่านสร้างพระเครื่องรางของขลังขึ้นหลายอย่าง และการสร้างสมัยของท่านนั้น มิได้สร้างเพื่อเรียกร้องเงินทองแต่อย่างใด ท่านแจกให้แก่ชาวบ้านญาติโยมไปฟรีๆ เฉพาะผู้ที่อยากจะได้ ในการสร้างพระเครื่องรางและวัตถุมงคลครั้งแรก หรือยุคแรกของท่านนั้น มีหลักฐานบันทึกไว้ในสมัยนั้นว่ามีเพียง พระยาหอม ที่เรียกในสมัยนี้ว่า พระผงยาจินดามณี และ เบี้ยแก้ ทั้งสองอย่างนี้ได้สร้างชื่อเสียงของท่านให้โดดเด่น และโด่งดังขึ้นมาตามลำดับ
ตะกรุดหน้าผาเสือ ของหลวงปู่บุญจัดเป็นตะกรุดชั้นยอดของหลวงปู่ก็ว่าได้ เพราะว่าท่านสร้างไว้ไม่มาก ขบวนการสร้างของท่านก็ลำบากอยากยิ่งเพราะว่ากว่าจะลงได้จะต้องดูฤกษ์ดูยามและต้องทำพิธีบายศรี มีหัวหมูผู้ที่จะทำจะต้องจัดหาเครื่องพิธีมาครบและเอาหนังหน้าผากเสือมาให้ท่าน เสือหนึ่งตัวใช้ได้อันเดียว(ทำได้แค่ดอกเดียว เพราะตบะมหาอำนาจโดนดึงออกมาหมดแล้ว) ตะกรุดหน้าผากเสือของหลวงปู่บุญ ท่านกำหนดเอาหนังส่วนเฉพาะช่วงเหนือของตาเสือขึ้นไประหว่างทั้งสองเฉพาะช่วงนั้นเท่านั้น ดังนั้นหนังเสือตัวเดียวจะทำตะกรุดได้ดอกเดียวและหนังเสือตัวที่ตัดเอามาแล้ว เมื่อทิ้งไว้จะเป็นขมวนผุไปในที่สุด กรรมวิธีการสร้าง เมื่อได้หนังหน้าผากเสือตามลักษณะดังกล่าวมาแล้ว ต้องให้หลวงปู่กำหนดฤกษ์จากนั้นจะตั้งเครื่องสังเวย บูชาเทวดา ครูอาจารย์แล้วท่านจะเข้าพิธีลงอักขระเลขยันต์ในแผ่นหนังหน้าผากเสือ เฉพาะพิธีแต่ละครั้งได้เพียงดอกเดียวเท่านั้น เมื่อลงเสร็จแล้วท่านจะปลูกเสกจนครบ เจ็ดเสาร์ เจ็ดอังคาร จึงจะใช้ได้นับว่ามีกรรมวิธีสร้างที่ค่อนข้างยากมากดังนั้น ใน ชีวิตของหลวงปู่จึงสร้างไว้ไม่มากนักคนมีความปรารถนาแรงเกล้าและมีโอกาสเท่านั้นจึงได้ทำเอาไว้ตะกรุดหน้าผากเสือของหลวงปู่บุญจึงมิได้สร้างขึ้นแบบง่ายๆเหมือนทั่วไปแต่กรรมวิธีโดยเฉพาะที่เป็นแบบอย่างของท่านตามตำรับที่ท่านได้ศึกษามา
ขนาดของตะกรุดหน้าผากเสือหลวงปู่บุญมีขนาดไม่แน่นอนเท่าที่พบขนาดไม่เท่ากันแม้แต่ดอกเดียวลักษณะเป็นหนังหน้าผากเสือม้วน ประมาณ2-3รอบเท่านั้นเพราะหนังซึ่งมีความหนาจะม้วนมากกว่านั้นได้ลำบากและทุกดอกจะถัก เชือกค่อนไว้อย่างแน่นตึงเพราะหนังเสือซึ่งม้วนยากหากไม่ใช้เชือกถักแน่นแล้วจะคลายตัวออกทันที(แต่ที่ถักเชือกแล้วไม่ได้ลงรักเชือกเปื่อยขาดคลายตัวออกไปจนเห็นขนเสือก็เคยมีให้เห็นกัน)ลักษณะการถักมีหลายแบบไม่แน่นอน มีทั้งลักษณะถักคลุมหัวท้ายกับถักไม่คลุมหัวท้าย ส่วนที่เชือกไม่คลุมไว้คือ หัวและท้ายจะเห็นขนเสือโผล่ออกมาบ้างเล็กน้อยเพราะไม่ได้เอาขนออก การลงอักขระเลขยันต์หลวงปู่ท่านลงด้านในมิใช่ด้านมีขนจะยังคงสภาพเดิมอยู่ เช่นนั้น ทุกดอกที่ถักเชือกไว้แล้วส่วนมากมักจะลงรักทับไว้ด้วยเพื่อรักษาเนื้อของเชือกให้คงทนบางดอกปิดทองทับตลอดดอกก็มี
 
ขอขอบพระคุณข้อมูลอาจารย์ ป๋อง สุพรรณ เป็นอย่างสูงครับ
ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
080-1259886
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด