ในปัจจุบันนี้เครื่องรางของขลังยุคเก่าๆ นั้นเริ่มหายากมากขึ้นทุกวัน และมีจำนวนหมุนเวียนน้อยไม่เพียงพอต่อปริมาณความต้องการของคณะบุคคลผู้มีศรัทธาปสาทะมีความเชื่อและเลื่อมใส ผู้เขียนจึงขอแนะนำเครื่องรางแฮนด์เมดยุคใหม่ ซึ่งมาแรงด้วยประสบการณ์เน้นๆ ของผู้ที่บูชาพญาสี่หูห้าตา มีทั้งถูกหวย เล่นการพนันใบบ่อนคาสิโนต่างประเทศ อธิฐานสำเร็จผล โด่งดังทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศไปถึงมาเลเซีย สิงค์โปร์ ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ด้วยเป็นผลสืบเนื่องมาจากเจตนาการสร้างอันบริสุทธิ์เพื่อสร้างศาสนสถานอันศักสิทธิ์ เพื่อสร้างเสาศาลาพำเพ็ญบุญอธิฐานบารมีเป็นปฐมบท ซึ่งสำเร็จเสร็จทันใจดังใจปรารถนาในระยะเวลาเพียง7วัน
หลวงปู่ครูบาบุญยัง ปุญญังกโร อริยสงฆ์แห่งเมืองสามครูบา ผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ทั้งกายและใจ ท่านเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดของครูบาชัยยะวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน ได้เจริญรอยสืบทอดในปฏิปทาของครูบาชัยยะวงศาอย่างเข้มงวด ไม่ฉันอาหารที่มีเนื้อสัตว์และฉันเพียงมือเดียวใน1 วัน หลวงปู่ครูบุญยังมีพลังญาณสมาธิแก่กล้า และมีเมตตามาก เป็นหนึ่งในพระอริยสงฆ์ที่น่ากราบไหว้ของล้านนา ท่านบวชอยู่บนเขาตั้งแต่เป็นเณร ต่อมามาเป็นศิษย์ครูบาวงศ์ รับปากครูบาวงศ์ จะอยู่ที่นี่จนชีวิตจะหาไม่ ท่านพูดแบบติดตลกว่าถ้าองค์ครูบาวงศ์ยังอยู่จะไปต่อลองซะหน่อย เเต่ท่านไม่อยู่แล้วก็คงไม่ไปใหนเพราะต้องรักษาสัจจะ
พญาสี่หูห้าตา (พระอินทร์จำแลง) ครูบาบุญยัง สามารถแบ่งเป็นรุ่นต่างๆ ได้ 6 รุ่น (ไม่รวมรุ่นลองพิมพ์ มี 6 องค์ และที่เป็นรุ่นพิเศษเป็นไม้เท้าอีก 9 องค์เท่านั้น)
รุ่นแรก (รุ่นสร้างเสาศาลาบำเพ็ญบุญอธิฐานบารมี) เสก 30/8/53 ขนาดบูชา 38 องค์ ไม้สักทอง องค์เล็ก จำนวน 108 องค์ เป็นไม้งิ้วดำ 5 องค์ ไม้ประดู่ดุมล้อเกวียน ซึ่งผ่านการหมุนเวียนมานับครั้งไม่ถ้วน อุปเท่ห์การใช้ทางหมุนเงินหมุนทองให้มีความคล่องสูง จำนวน 103 องค์ (มีเลขไทยใต้ฐานทุกองค์ ฐานไม่ทาสีแดง) วัตถุประสงค์ เจตนาดั้งเดิมออกให้ทำบุญสร้างเสา ศาลาบำเพ็ญบุญอธิษฐานบารมี จำนวน 63 ต้น แต่ตอนนี้ทะลุเป้าไปแล้วเพียง 7 วัน ก็ได้ยอดทะลุเป้าไปแล้ว ที่ 72 ต้น (ราคาเสาต้นละ 3000.- ) และออกให้ทำบุญเพื่อเป็นค่าเหล็กเส้น และเหล็กโครงสร้างศาลาเบื้องต้น (ยอดรวมค่าเหล็ก ประมาณเกือบ สองแสนครับ)
รุ่น2 (รุ่นพิธีสืบชะตาหลวงฯ) เสก 24/9/53 ไม้รักแดงทั้งหมด จำนวน 108 องค์ (มีเลขไทยใต้ฐานทุกองค์ ฐานทาสีแดง)
รุ่น3 (รุ่นพิธีจันทร์เพ็ญฤกษ์) เสก 21/11/53 จำนวน 108 องค์ งาช้าง จำนวน 38 องค์ (พิเศษด้านหลังลงพระนามย่อ มงคล 38 ประการ ครูบาบุญยังเมตตาจารให้ที่ท้องพญาสี่หูห้าตาเป็นกรณีพิเศษทุกองค์ และผู้เขียนได้เช่าจากพี่นที ร้อยเอ็ด ในราคาหมื่นห้าพันบาท พี่นทีก็น้อมถวายปัจจัยทั้งหมดทำบุญต่อครูบาบุญยังอีกที เสร็จแล้วผมก็นำกลับมาเลี่ยมทองถวายให้เป็นองค์ประจำครูบา เบอร์25 ผู้มีความกตัญญูตามมงคลสูตรที่25 ) และไม้งิ้วดำ อีกจำนวน 70 องค์ (มีเลขไทยใต้ฐานทุกองค์ ฐานทาสีแดง)
หมายเหตุ ; สี่หูห้าตา รุ่น1-3 จะอักขระภาษาบาลีไทยใหญ่ ที่ลงอยู่ด้านหลัง คือ คั่นถ่า แปลความหมายว่า มีตัวตนบุคคล (เปรียบเสมือนธาตุสี่นะมะพะทะของภาคกลาง) และใต้ฐาน คือ นะป๊ะแหย่ม แปลความหมายว่า พระเจ้า3พระองค์ในสมัยก่อนผู้มีฤทธิ์เดชมาก และภายในองค์สี่หูห้าตาจะบรรจุปรอทไว้ทุกองค์เหมือนกับแมลงภู่คำไทยใหญ่ อุปเท่ห์ในการป้องกันคุณไสย มนต์ดำ ดูดพิษร้ายต่างๆเป็นต้น
รุ่น4 (รุ่นฉลองศาลาอธิฐานบารมี 26/3/54) เนื้อนวะโลหะจำนวน 999 องค์ ก้นอุดผงมวลสารและเกศาครูบา มีตอกเลขอารบิกฐานด้านข้างทุกองค์
รุ่น5 (รุ่นนำฤกษ์เบิกทางบุญ 24/8/54) ขนาดบูชา (นับเป็นขนาดบูชา รุ่นที่2) ไม้สักทอง ดำริการสร้างจำนวน 73 องค์ (แต่แกะได้จริงเพียง 38 องค์เท่านั้น) และขนาดบูชาเนื้อโลหะ (นับเป็นขนาดบูชา รุ่นที่3) จำนวน 500 องค์ เพื่อสมทบทุนถวายองค์กฐินและจัดสร้างหอระฆัง วัดห้วยน้ำอุ่น อ.ลี้ จ.ลำพูน
รุ่น6 (รุ่นสุดท้าย สร้างหอระฆัง ต้นปี55) เนื้องาช้าง ฝังตะกรุดทองคำ จำนวน 200 องค์ และไม้งิ้วดำ ฝังตะกรุดเงิน จำนวน 355 องค์
จากตำนานนิทานพื้นบ้าน "สี่หู ห้าตา" (ครูบาชัยวงศาพัฒนา) กาลครั้งหนึ่ง ในสมัยพุทธกาล มีชายหนุ่มกำพร้าผู้หนึ่ง ฐานะยากจนขัดสนมาก แต่ยังมีที่ทำกินเพียงน้อยนิดไว้สำหรับปลูกข้าว มีอยู่ปีหนึ่งดูเหมือนว่า ฝนฟ้าจะไม่เป็นใจให้ชายหนุ่มมากนัก ต้นข้าวที่ปลูกไว้ แห้งตายมากพอสมควร แต่ยังเหลืออยู่บ้าง....มีพระอินทร์บนสวรรค์อีกท่านหนึ่ง ซึ่งมองเห็นชีวิตและความเป็นอยู่ของชายหนุ่มผู้นี้ พระอินทร์ผู้มีศักดิ์คิดอยากจะลงมาช่วยเหลือชายหนุ่มกำพร้า ให้พ้นจากความทุกข์ยาก จึงแปลงร่างมาปรากฏ เป็นสัตว์ประหลาดตัวหนึ่ง ซึ่งมีหู สี่หู มีตาอีกห้าดวง ในโลกมนุษย์ไม่มีสัตว์ประเภทนี้เลยก็ว่าได้ และสัตว์ประหลาดตัวนี้ ได้มาทำลายต้นข้าวที่ยังเหลืออีกส่วน บังเอิญชายหนุ่มซึ่งได้มาพบเห็น ต้นข้าวที่ถูกทำลาย ก็เกิดความโมโหขึ้นมาทันที คิดจะฆ่าสัตว์ตัวนี้ แต่ก็ไม่มีอาวุธใดและพยายามหาวิธีจะกำจัดให้พ้นๆไป แต่ก็ไม่รู้จะทำด้วยวิธีใดอีก ระยะเวลาผ่านไป จนกระทั่ง ชายหนุ่มจับสัตว์ประหลาดได้ จึงพามายังที่พัก เป็นกระท่อมหลังเล็กๆ ได้ผูกติดไว้ติดกับต้นเสา พอตกเย็นใกล้จะถึงหัวค่ำ ชายหนุ่มก็ได้หาอาหารที่มีอยู่ตามประสาคนจน พอมีพอกินและให้อาหารสัตว์ตัวนั้น มันก็ไม่ยอมกินอาหารแต่อย่างใด แต่มันทำตัวดูเหมือนว่ากำลังหนาวจัด คงต้องการความอบอุ่นมาก ชายหนุ่มจึงหาฟืนแล้วก็ก่อไฟให้มัน จนระยะเวลาผ่านไป ชายหนุ่มรู้สึกง่วงนอนมาก จึงคิดจะกลับไปนอนพักผ่อน พอหันมาอีกที เห็นสัตว์ประหลาดตัวนั้นกำลังจับถ่านไฟแดงที่ร้อนจัด กินเข้าไปอย่างไม่รู้สึกร้อนแต่อย่างใด... \\\ จนกระทั่งชายหนุ่มเผลอหลับไป มารู้สึกตัวอีกทีก็สว่างพอดี และยังรู้สึกงงอยู่มาก ที่ได้พบสัตว์แปลกประหลาดตัวนี้ แต่ยังพบความแปลกประหลาดมากไปกว่านั้นอีก ที่ชายหนุ่มต้องตกตลึงมาก คือสัตว์ตัวนั้นกินถ่านไฟ ซึ่งไม่เคยพบเจอมาก่อน และยังขับถ่ายออกมาเป็นทองคำแท้อีก ชายหนุ่มกำพร้าจึงร่ำรวยขึ้นมาเรื่อยๆ......ชายหนุ่มจึงกลับมาทบทวนความคิดอีกครั้ง....เออ!!.....ดีนะที่เราไม่ได้ฆ่าสัตว์ประหลาดตัวนั้น มิเช่นนั้นเราคงไม่มีทรัพยสมบัติมากมายอย่างนี้.....แสดงให้เห็นว่า ชายหนุ่มกำพร้าผู้นี้ ก็ยังมีความเมตตาอยู่บ้าง ถึงแม้ต้นข้าวที่ถูกทำลาย จนเกิดความเสียหาย จนโมโหมาก แต่ก็ยังคิดจะละเว้นชีวิตให้สัตว์ตัวนั้น.....นิทานเรื่องนี้ อ้างอิงมาจากเรื่องเล่าของหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา(ครูบาวงศ์) อยากให้ทุกคนมั่น "รักษาศีล5 ภาวนาให้มากๆ และมีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา".....ถ้าคนเรายึดถือสิ่งเหล่านี้ได้ ชีวิตเราจะพบแต่ความสุขตลอดกาล......///// ความหมายของแมงสี่หูห้าตา ตามตำนาน "แมงสี่หูห้าตา" ฉบับครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาอธิบายว่า จำนวนสี่หูและห้าตานั้นแสดงถึงหลักธรรมทางพุทธศาสนา คือพรหมวิหาร 4 และศีล 5 ตามลำดับ เป็นการให้คติแก่พุทธศาสนิกให้พึงรักษาและปฏิบัติหลักธรรมดังกล่าว
คำบูชาสี่หูห้าตา (พระอินทร์แปลงรูป)
“สาธุ อะหัง นะมามิ พระอินทร์ อากาเสจะ พุทธทิปังกะโร นะโมพุทธายะอิอะระณัง อะระหัง กุสะลาธัมมา สัมมาสัมพุทโธ ทุสะนะโส นะโมพุทธายะ พระโสนามะ ยักโข เมตตามหาลาภา ปิยังมะมะ ทันตะ ปริวาสะโภ วาสุนี หะเต โหนตุ ชัยยะมังคลานิ” การสวดคำบูชา สวดทุกวัน กันไฟไหม้ ฟ้าผ่า อันตรายต่าง ชนะภัยทั้งปวง บรรเทาทุกข์ จากการเจ็บป่วย และเป็นมหาโชค มหาลาภ แก่ผู้ที่บูชากราบไหว้ ดีนักแล.
|