ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,164 ผู้ชมทั้งหมด :43,974,293 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :5,196

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
สุดยอดแห่งความขลัง ; เชือกคาดเอว หลวงพ่อโชติ วัดตะโน กทม.
ราคา :
โชว์เครื่องราง
รายละเอียด :

สุดยอดแห่งความขลัง ; เชือกคาดเอว หลวงพ่อโชติ วัดตะโน กทม.

เชือกคาดเสกขลังดีมีเพียงน้อย   คงไม่คล้อยแคล้วคลาดตามวาสนา

ผูกมนต์เงื่อนพิรอดสานตะกร้อร้อยมนตรา   มหาบุญญาสยบนาคาสมญา..,ตะขาบไฟ

        เครื่องรางของขลังเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นมงคล ที่ยอดพระเกจิอาจารย์นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน นิยมสร้างขึ้นเพื่อให้ลูกศิษย์ และผู้เคารพนับถือมีไว้ติดตัวเพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ แต่ละอาจารย์ มีการสร้างที่มีรูปแบบและวัสดุที่แตกต่างกัน เช่น เสือ สิงห์  ตะกรุด ผ้ายันต์ ลูกสะกด ลูกอม  เบี้ยแก้ ปลัดขิก ฯลฯ  ยังมีอีกอย่างหนึ่งที่ในอดีตค่อนข้างจะหายาก และในปัจจุบันหายากยิ่งกว่าเพราะใครมีก็หวงแหน เก็บไว้ไม่ยอมให้ใคร  และถือว่าเป็นสุดยอดเครื่องรางชนิดหนึ่งที่สร้างให้สำเร็จได้โดยยาก และในยุคปัจจุบันแทบไม่มีให้เห็นแล้ว ก็คือ เชือกคาดเอว

      'เชือกคาด'สุดยอดเครื่องรางของขลัง อีกหนึ่งภูมิปัญญาของเกจิอาจารย์ไทย เชือกคาดเป็น "เครื่องรางของขลัง" ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นภูมิปัญญาของเกจิอาจารย์ไทยมาแต่โบราณกาลอย่างแท้จริง

        ในอดีตกาล บรมครูมวยไทยของเราคนหนึ่งชื่อ นายขนมต้ม เคยถล่มนักมวยพม่าถึง ๑๐ คนผลัดมาแล้ว ก็ด้วยคาดเชือกนี่แหละ แต่เชือกคาดนั้น คือ เชือกเส้นใหญ่ที่ใช้คาดเอว เพื่อให้เป็นคงกระพันชาตรี จัดอยู่ในชุดเครื่องคาดของไทยชนิดหนึ่ง  การแต่งกายให้สุภาพก็ต้องมีเข็มขัด ซึ่งพัฒนามาจากเชือกคาดเอวในสมัยโบราณ ส่วนรัดประคดของพระสงฆ์ก็จัดอยู่ในสายคาดเอวเหมือนกัน เชือกคาดจึงเป็นสิ่งที่ผูกพันกับชีวิตของคนไทยมาแต่โบราณ พระเกจิอาจารย์ต่างๆ จึงนิยมสร้างเชือกคาดขึ้นมาเป็นเครื่องรางไว้ป้องกันภัยให้กับลูกศิษย์...สืบทอดวิชามาจนถึงทุกวันนี้

        เชือกคาดเอว ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มีหลายสำนัก เป็นการสืบทอดวิชามาจากโบราณคณาจารย์ยุคเก่าอย่างไม่ขาดสาย อาทิ เชือกคาดไส้หนุมาน หวายคาดเอว หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว , หวายคาดเอว หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว , เชือกคาดเอว หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ , เชือกคาดเอว หลวงพ่อโชติ วัดตะโน , เชือกคาดเอว หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว (ลูกศิษย์หลวงปู่ยิ้ม) , เชือกคาดเอว หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง (ลูกศิษย์หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ) , เชือกคาดเอว พ่อท่านเขียว วัดหรงบนเชือกขมวดหนุมาน หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค, เชือก ๗ ขอดไปได้กลับได้ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม , เชือกคาดเอว หลวงพ่อหลิว วัดสนามแย้, เชือกขอด หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ, เชือกคาดตะกรุด ภุชงค์เบญจฤทธิ์ หลวงพ่อเฮ็น วัดดอนทอง, เชือกคาดเอว หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม ฯลฯ

         หลวงพ่อโชติ รุฬหผโล แห่งวัดตะโน  ตำบลบางแวก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ตามประวัติ...ท่านเป็นเสือเก่า มีวิชาดีตั้งแต่ยังเป็นหนุ่ม ภายหลังจึงอุปสมบทที่วัดกระทุ่ม ปี ๒๔๕๑  เครื่องรางของท่านที่มีประสบการณ์มากที่สุด ก็คือ เชือกคาดเอวนี่แหละครับ ท่านโด่งดังมากองค์หนึ่งในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2  เชือกคาดเอวที่ท่านสร้าง ตั้งใจแจกให้ชาวบ้าน ผู้เคารพนับถือ และทหารที่โดยเฉพาะต้องไปราชการสงคราม เมื่อนำติดตัวไปใช้ปรากฏให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ในด้านคงกระพัน แคล้วคลาด มหาอุด ป้องกันเขี้ยวงาได้  เป็นที่ร่ำลือกันมาก อีกทั้งยังสามารถใช้ปราบภูตผีได้ และสมัยก่อนละแวก วัดตะโน จะเป็นสวน ชาวบ้านส่วนมากก็จะทำอาชีพเกี่ยวกับสวนกันครับ เข้าสวนแต่ละที ต้องคาดเชือกท่านเข้าไปด้วย เพราะสมัยก่อน งูเยอะครับ

        วัสดุที่ใช้สร้างเป็นผ้าบังสุกุลคลุมโลงศพ ของคนที่ตายโหงและเกิดในวันแข็ง เช่น วันอังคาร วันพฤหัสบดี หรือวันเสาร์ มีทั้งผ้าขาว และผ้าจีวรจะหายาก ต้องนำไปซักด้วยน้ำค้างกลางหาวก่อน แล้วจึงนำผ้ามาควั่นเป็นเส้นๆตามแนวยาว ลงอักขระ แล้วจึงกลึงม้วนให้แน่นเป็นเส้นกลมๆ แล้วจึงถักเป็นเงื่อนพิรอดลายเปียตะขาบไฟ ว่ากันว่าท่านปลุกเสกจนเชือกคาด เลื้อยใด้เหมือนงู เมื่อสำเร็จแล้วหัวตะกร้อจะลอดเข้าบ่วงได้เองดุจมีชีวิต ซึ่งพลังจิตแบบนี้มีพระเกจิอาจารย์น้อยรูปที่สามารถทำได้ มีผู้ลองเอาเชือกคาดของท่านไฟเผาปรากฏว่าต้านไฟ ไม่ไหมมีเพียงคราบเขม่าควันไฟเท่านั้น

      ลวดลายการถักของเชือกคาดของท่าน จะสวยงามเป็นระเบียบแน่นหนาไม่หลวม ปลายข้างหนึ่งถักเป็นห่วง และอีกข้างหนึ่งถักสานเป็นลูกตะกร้อ ลายขัดตะกร้อเท่าทีพบ มีตั้งแต่ขัดสาน 2-5 เส้น (ส่วนมากจะพบลายขัดสานสอง และขัดสามเป็นส่วนมาก และแบ่งเป็นตะกร้อหัวเดียว กับตะกร้อสองหัว แบบพิเศษหายาก) เวลาใช้ก็เอาลูกตะกร้อ ใส่ห่วงอีกข้างหนึ่ง คาดเอวแทนเข็มขัด โดยทั่วไปจะมีขนาดความกว้างระหว่าง 1.5 ซ.ม. จนถึง 3 นิ้ว (ในกรณีเดินสามเส้น มีสองเส้นเชื่อมต่อ) ทุกเส้นความยาวไม่แน่นอนแล้วแต่ขนาดของคนที่ท่านจะมอบให้  บางคนที่ได้ไปก็จะเอาไปชุบยางไม้เพื่อให้มีความคงทนในการใช้งาน  การถักมีลวดลายรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่จดจำได้ง่าย (สังเกตได้จากรูป)

       เชือกคาดหลวงพ่อโชติ วัดตะโน นับเป็นเชือกคาดที่มีเอกลักษณ์ เป็นมาตราฐานครับ หัวตะกร้อ หมายถึง =>> แข็งและทน ก็คงกระพันนั่นเองครับ =>> ภายในบรรจุผงพุทธคุณที่ท่านใช้สร้างสมเด็จครับ  ปัจจุบันเชือกคาดเอวที่มีสภาพสมบูรณ์ ๆ หายากมากครับ ใครที่อยากได้จะหาผ้าขาวดังกล่าวไปถวายให้ท่านทำให้ก็ได้ พร้อมกับค่ายกครู 1 สลึง กล้วยน้ำว้า 1 หวี ขนมต้มแดงต้มขาว (อย่างอื่นจะมีหรือไม่ก็ได้ เป็นองค์บริวารประกอบแล้วแต่ฐานะ) ตามประวัติช่วงปลายอายุของท่านตาบอด ก็เนื่องมาจากทำให้ฟรี ไม่เรียกค่ายกครู เท่านั้นแหละ ครูของท่านมาบอกว่า เอ็งจะต้องตาบอดแน่ๆ และท่านก็ตาบอดจริงๆ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๐ มาถึง พ.ศ.๒๕๐๐ สิบปีเต็มๆ ที่หลวงพ่อต้องให้ศิษย์ถักเชือกแล้วเอามาให้ท่านปลุกเสกอีกทีหนึ่ง ...

         เชือกคาดเอวของท่านเด่นในด้านแคล้วคลาด คงกระพัน และป้องกันงูเงี้ยวเขี้ยวขอเด่นเป็นพิเศษ งูไม่อาจอ้าปากขบกัดได้เลย และถ้าวางพาดลงไปบนตัวงูจะไปไหนไม่ได้ เมื่อสมัยเด็กๆ ที่บ้านมีแขวนไว้กับเสาเรือนเส้นหนึ่ง ผู้ใหญ่ห้ามไม่ให้เอาเชือกคาดของท่านไปฟาดเล่นกัน เพราะอาจทำให้เสียสติและเป็นง่อยได้  บางท่านนิยมแขวนไว้ที่พวงมาลัยรถยนต์ให้แคล้วคลาดปลอดภัยซึ่งผู้เขียนก็กระทำเช่นนั้น ขนาดประสบการณ์ของเชือกคาดเอวของลูกศิษย์ท่าน คือ หลวงพ่อหล่ำ วัดสามัคคีธรรม ที่ฟังมาจากลูกศิษย์ใกล้ชิด ก็มีทั้งแคล้วคลาด โชคลาภ ค้าขายดี ลูกศิษย์ชาวสิงคโปร์เอาเชือกคาดเอวของท่านไปแขวนหน้าร้านบอกว่าแขวนแล้วเฮง ทำมาค้าขึ้น มีเท่าไรพวกนี้มาเหมาไปหมดครับ นี่ขนาดของลูกศิษย์ยังขลังเพียงนี้ ของอาจารย์จะขลังเพียงใดทุกท่านลองไตร่ตรองดูเถิดครับ

      การอาราธนาเชือกคาด ใช้พระคาถาดังนี้...ตั้งนะโมฯ ๓ จบ แล้วสวดบูชาระลึกถึงพระศรีรัตนตรัย บิดามารดา ครูบาอาจารย์ และท่านผู้เป็นเจ้าของเชือกคาด เป็นที่สุดแล้วว่า อุทธัง  อัทโธ นะโมพุทธายะ โธอุท ธังอัท ผุดผัดผิด  ปิดด้วยนะโมพุทธายะ มะอะอุ อุอะมะ นะปิดนะหยุดนะ อัตถะอะยาวะ            

 

 

SPECIALS THANK ; พระอาจารย์หนุ่ม วัดบางแวก , ท่านนายกฯ สมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย (ป๋าพยัพ คำพันธุ์) , คณะกรรมการชุดเครื่องรางยอดนิยมทุกท่าน , คุณสาวิตร ลิมปานนท์ , เสี่ยตั้ม คติพุทธ , คุณระ ภูเก็ต , คุณเคน พชร , คุณโต พญาไม้ , คุณตือเจริญ ท่าพระจันทร์ , คุณแสบ นครปฐม , ร้านแซวสวรรค์ ฯลฯ

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
085-8798569
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด