ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,164 ผู้ชมทั้งหมด :43,974,293 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :12,995
ตะกรุดไม้ครู(นิ้วพระอิศวร) หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร กทม. 9 เครื่องรางอมตะของไทยนั้นประกอบไปด้วย 1.หมากดีที่วัดหนัง 2.ถ้าเบี้ยขลังวัดนายโรง 3.ไม้ครูอยู่คู่วัดอินทร์ 4.ส่วนมีดบินวัดหนองโพธิ์ 5.พิสมรวัดพวงมาลัย 6.ครั่งเหลือร้ายวัดโตนดหลวง 7.ราหูคู่วัดศรีษะฯ 8.เเหวนอักขระวัดหนองบัว 9.ลูกเเร่ที่วัดบางไผ่ กรรมวิธีสร้างไม้เท้าพ่อครูของลป.ภู วัดอินทรวิหาร ในกระบวนวัตถุมงคลที่หลวงปู่ภูได้สร้างขึ้น เป็นของที่หายากมาก เพราะท่านสร้างน้อยมากส่วนมากจะแจกเฉพาะศิษย์ใกล้ชิดเท่านั้นเพราะกรรมวิธีการสร้างยากมาก ผู้สร้างจะต้องเป็นสมณะเท่านั้นจนท่านเคยพูดว่า"ไม่มีใครทำได้อย่างกู" วิชานี้คนที่มีบุญวาสนาเท่านั้นถึงจะเรียนสำเร็จไม้เท้าพ่อครูเป็นวัตถุอาถรรพณ์ ก่อนที่จะทำจะต้องหาไม้ไผ่สีสุก (บางตำราก็ว่าไม้รวกโขลงช้างข้าม) ที่เห็นว่าถูกฟ้าผ่าล้มและปลายทอดยาวไปทางทิศตะวันออกทั้งกอ และต้องนั่งเฝ้าดูภายใน ๓-๗ วัน ถ้ามีช้างโขลงมาพบก่อไผ่สีสุก แล้วกระโดดข้ามกอไผ่ไปทั้งโขลงถือว่าเป็นนิมิตมหามงคลจึงจะใช้ได้ก่อนจะตัดต้องประกอบพิธีพลีกรรม บอกกล่าวเทพยดา พระอิศวรเจ้า เจ้าที่เจ้าทาง โดยขอตัดไม้ไผ่ลำที่ทอดยาวไปทางทิศตะวันออก และตัดเอาส่วนปลายเพียง ๓ ปล้องเท่านั้น ในตำราระบุไว้ว่า ไม้ไผ่ลำนี้เปรียบประดุจไม้ยันพระวรกายของท้าวเวสสุวรรณ เมื่อได้ไม้ไผ่มาแล้ว ท่านก็นำมาจิ้มบนศพที่กล้าแข็ง คือ ศพคนตาย วันเสาร์เผาวันอังคาร ให้ครบ ๗ ศพ จึงเป็นเสร็จพิธี ซึ่งตลอดระยะเวลาในการเดินธุดงค์ของท่านนานถึง ๓๐ ปี จึงทำได้สำเร็จ จากนั้นท่านก็จะนำไม้ท่อนนี้เก็บเอาไว้ มาผ่าให้เป็นแผ่นเล็กๆ เรียกว่า ตอกเตรียมใว้สำหรับลงพระนามที่ได้รับจากเบื้องบน การทำพิธีลงพระนามหลวงปู่ท่านจะมองขึ้นไปบนท้องฟ้าครั้งละนานๆ บางครั้งก็ไม่นานเคยมีคนถามหลวงปู่ภูว่า หลวงปู่มองขึ้นฟ้าทำไม ท่านตอบว่ากูรอพระนามจากเบื้องบน เมื่อได้พระนามจากเบื้องบนมาเเล้ว ท่านก็จะทำการบรรจุไม้พระนามเข้าไปในไม้ที่เจาะเตรียมเอาไว้ บางอันอาจจะบรรจุกระดูกแร้งลงไปด้วย อุดด้วยชันโรงใต้ดิน (ขี้สูตรดินราบ) แล้วตอกด้วยลิ่มไม้ปิดเอาไว้ เเล้วลงอักขระทับอีกทีเป็นอันเสร็จพิธีส่วนมากไม้ที่จะทำไม้เท้าพ่อครูก็มีไม้รักซ้อน ไม้พยุง บางคนก็นำไม้ชนิดอื่นมาให้ท่านทำก็มี เมื่อได้ไม้มาแล้วก็เจาะรูเตรียมบรรจุไว้ เรียกว่า “ไม้พ่อครู-นิ้วเพชรพระอิศวร กล่าวกันว่าถ้าใครอยากได้ไม้เท้าพ่อครูจะต้องขอท่านก่อนวันเสาร์ล่วงหน้าหนึ่งวัน ถ้าท่านรับปาก ในวันเสาร์ตอนเช้าผู้ที่มาขอจะต้องจัดเตรียมหัวหมู บายศรีปากชาม มะพร้าวอ่อนกล้วย ขนมต้มแดง ต้มขาว ใส่ถาดไปทำพิธีแล้วเอาไม้ตะพดเจาะรูหัวท้าย หรือหัวเดียวก็ได้ไปถวายท่านท่านก็จะประกอบพิธีบรรจุไม้เท้าพ่อครูพร้อมกับอุดด้วยชันนะโรงใต้ดิน และจักตอกนำมาลงอักขระบรรจุเข้าไปที่เจาะรูไว้หลังจากที่หลวงปู่ทำไม้ครูเสร็จ ก็สุดเเท้เเต่ผู้ที่ได้จะนำเก็บรักษาอย่างไร จะไปถักเชือก ถักลวด หรือ ไม่ถักอะไรเลย ศิษย์ใกล้ชิดได้กล่าวว่า บางเสาร์จะมีหัวหมูเครื่องบายศรีถึง ๙ หัวด้วยกัน แสดงว่าวันนั้นท่านทำถึง ๙ อันการบรรจุไม้เท้า ถ้าข้างเดียวหรือสองข้างกเรียกว่า ไม้เท้าพ่อครูแต่มีบางท่านเรียก นิ้วชี้พระอิศวร หรือ ต้นตายปลายเป็นเมื่อท่านกระทำให้ผู้ใดก็ตาม ท่านจะกำชับหนักหนา ห้ามเอาไปตีใครเป็นอันขาดเพราะจะทำให้ผู้ที่ถูกตีถึงกับเสียจริต (บ้า) รักษาไม่หาย นอกจากจะโดนกลั่นแกล้งถึงกับน้ำตาเป็นสายเลือด หมายถึง สุดที่จะอดกลั้นได้ ***** อิทธิฤทธิ์ของไม้เท้าพ่อครู หลวงปู่ภูท่านได้อัญเชิญเทพยดามารักษาประจำตะกรุดด้วย ใช้บูชาปกป้องคุ้มครองบ้านเรือน ใช้ป้องกันตัวในเวลาคับขัน บูชาอยู่กับบ้านป้องกันโจรผู้ร้ายคุณไสย และภูตผี ปีศาจ ไม่กล้ากล้ำกรายมารบกวน พุทธคุณครอบจักรวาลและสามารถใช้บนได้วิธีบน คือ ทุก วันเสาร์หรือวันอังคารให้นำเอาหมูนอนตอง (หมูสามชั้นต้มพอสุกวางบนใบตอง) วางเลยชายคาบ้านแล้วบนเอาเถิด เทวดาที่รักษาตัวตะกรุดก็จะออกมาหากสำเร็จดังที่บนไว้ก็ขอให้ทำอย่างที่บนไว้ อุทิศส่วนกุศลให้กับหลวงปู่ภู ให้รุกขเทวดาที่รักษาตัวตะกรุด และผู้ร่วมสร้าง ***** คาถาบูชา ให้ว่านะโม 3 จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่ภูแล้วท่องคาถาล้อม ว่าดังนี้ “ ฆะเตสิ ฆะเตสิ กิงกะระณัง ฆะเตสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิสี่คนเดินหน้า ห้าคนเดินหลัง โอมกะรัง กะรัง ” เดินภาวนาไปเรื่อยๆ ปลอดภัยทุกประการ ***** ไม้ครู ชิ้นนี้สวยมากครับ รักแดง และมองเห็นไม้ข้างในได้ชัดเจน ขนาดจุกน้ำปลา ศิลป์นิยม ดูจบแบบสบายใจเลยครับ *****