ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,164 ผู้ชมทั้งหมด :43,974,293 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :8,149
"ตะกรุดประจำตระกูล ให้บูชาประจำบ้าน"
นามตะกรุด..,มหาระงับพิสดาร หลวงพ่อเทียม
วัดกษัตราธิราช อยุธยา
“หลวงปู่เทียม” นับเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณที่รู้จักกันดีของชาวพระนครศรีอยุธยามาช้านานแล้วและยอมรับว่าท่านเป็นผู้สำเร็จ “ตำราพิชัยสงคราม” ของ “สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว” ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของ “พระมหากษัตริย์ยอดนักรบไทย” ซึ่งก็คือ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ผู้ทรงคุณอันประเสริฐและยิ่งใหญ่ในแผ่นดินไทยและเหตุที่บอกว่า “หลวงปู่เทียม” สำเร็จ “ตำราพิชัยสงคราม” ก็เพราะท่านนับเป็นผู้ที่มีความเพียรพยายามศึกษา“ตำราพิชัยสงคราม” ซึ่งสืบทอดมาจาก “สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว” ที่ตกทอดมาถึง “วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” เพราะเป็นวัดที่มีสำนักเรียนตำราพิชัยสงครามสืบทอดมาแต่ครั้งกรุงเก่าซึ่งมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ สำเร็จการศึกษาพระเวทวิทยาคมอันเป็นส่วนหนึ่งของตำราพิชัยสงคราม (ตำราพิชัยสงครามก็คือตำราที่ว่าด้วยความมีชัยชนะในการต่อสู้ และการต่อสู้ในที่นี้หมายถึงการต่อสู้ในราชการสงคราม) มากมายหลายท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็คือ “พระพุทธพิถีนายก (บุญ ขันธโชติ)” หรือที่นักสะสมทั่วไปเรียกท่านว่า “หลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว” อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม รวมทั้ง “หลวงพ่อน้อยวัดธรรมศาลา” อ.เมือง จ.นครปฐม โดยเฉพาะ “หลวงพ่อน้อยวัดธรรมศาลา” รูปนี้ก็ได้เคยบอกต่อศิษย์เอกของท่านผู้หนึ่งที่มีตำแหน่งเป็น “ผู้พิพากษา” แต่สนใจในเรื่องของวิทยาคมและวัตถุมงคลที่เคยเรียนถามท่านว่า “เมื่อสิ้นหลวงพ่อน้อยแล้วจะมีพระคณาจารย์รูปใดอีกที่พอจะพึ่งพาด้านวิทยาคมบ้าง” หลวงพ่อน้อยก็ตอบว่าให้ไปหา “หลวงปู่เทียมวัดกษัตราธิราช” และต่อมาท่านผู้พิพากษาก็เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่เทียมตามคำแนะนำของ “หลวงพ่อน้อย” หลังจากที่ท่านสิ้นแล้ว
อนึ่ง ชื่อเสียงของท่านเลื่องลือมาก โดยเฉพาะในปี 2506 ในพิธีหล่อพระที่ “วัดประสาทบุญญาวาส” จัดสร้างพร้อมนำ “แผ่นจารอักขระ” ของ “คณาจารย์จากทั่วประเทศ” มาหล่อหลอมด้วยไฟแรงสูงเพื่อเทหล่อสร้างพระของวัดประสาทฯ ปรากฏว่า “แผ่นจารอักขระ” ของคณาจารย์อื่น ๆ ล้วนหลอมละลายหมดยกเว้นของ “หลวงปู่เทียม” เท่านั้นที่ไม่ยอมหลอมละลายเลยจึงสร้างความ “อัศจรรย์ใจ” ให้ผู้อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นทั่วหน้า
<<< หลวงพ่อเทียม ทูลเกล้าฯ ถวายตะกรุดมหาระงับแบบพิสดาร >>>
ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงบำเพ็ญพระราช กุศลถวายผ้ากฐินส่วนพระองค์ ณ วัดศีลขันธาราม ตำบลอ่างแก้ว อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2517 // ท่านจึงมอบให้พระสำรวย ฐิตปุญโญ รองเจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราช นำรูปจำลองของท่านพร้อมด้วยตะกรุดมหาระงับแบบพิสดาร ลงตามตำรับเดิมของ วัดประดู่ทรงธรรม เป็นโลหะตะกั่วถักด้วยด้ายและลงรักปิดทอง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ยาม 12 นิ้ว ขึ้นทูลเกล้าถวายแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว // โดยมีหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายด้วยตนเองไม่ได้
ตะกรุดมหาระงับพิสดาร หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช กรุงเก่าอยุธยา สร้างตามตำรับเดิมของวัดประดู่ฯ ขนาด 12 นิ้ว เนื้อตะกั่วนม
ประวัติความเป็นมาของตะกรุดมหาระงับแบบพิสดาร
“โอมระงับมหาระงับ หลับสิ้นทั้งบ้าน โอมชิดมหาชิด
โอมปิดมหาปิด สิทธิสวาหะฯ”
พระยันต์นี้ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยต้นตำหรับของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ได้ผูกพระยันต์เป็นตะกรุดถวายสมเด็จพระนเรศวร สะพายคู่พระวรกายออกศึก ชนะทัพหงสาวดี ที่ทุ่งหนองสาหร่าย ตำหรับวิทยาการต่างๆ ตกทอดจากอดีต ถูกเก็บรักษาไว้ ณ วัดประดู่ทรงธรรม จวบจนกระทั่ง พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม สิริปุญโญ) ได้หยิบขึ้นมาจัดทำจนเป็นที่โด่งดังเลื่องลือมาแล้วในอดีต
อุปเท่ห์การใช้ตะกรุดมหาระงับพิสดาร ตามใบฝอยของวัด ระบุไว้ว่า..,สามารถระงับภัยต่างๆ เช่น โจรภัย , อัคคีภัย , และปีศาจ ระงับเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นภายในบ้าน และให้อธิฐานทำน้ำพระพุทธมนต์ ดื่มและอาบ ระงับคดีความได้ ฯ
ราคาทำบุญจากวัด ดอกละ 1000 บาท นับว่าเป็นตะกรุดของท่านที่แพงที่สุดที่ออกให้ทำบุญในสมัยนั้นก็ว่าได้ (เปรียบเทียบกับราคาทองสมัยนั้น ณ ประมาณปี 2510 ทองบาทละ 350 บาท ตะกรุด 1 ดอก แลกกับ ทอง 3 บาท นับว่าเป็นตะกรุดที่แพงที่สุดในสมัยนั้น)
มนต์มหาระงับ (ย่อ) ตั้งนะโม 3 จบ แล้วว่า..."พุทธังศัตรูร้าย นะจังงัง ถอยอย่า นะละสัง พระพุทธังปิด พระธังมังปิด พระสังฆังปิด พระเจ้าแผลงฤทธิ์ ปิดสังวาลชั้น9"
อิทธิฤทธิ์ และอานุภาพของยันต์ =>> ยันต์นี้วิเศษยิ่งนัก เป็นมหาจังงัง มหาระงับแก่คนทั้งหลาย ป้องกันอันตรายทุกอย่าง ยิง ฟัน แทง ไม่เข้า หากมีสมาธิจิตที่แน่วแน่จริงๆ ท่านว่าสามารถทำให้หายตัวได้
คาถาสำหรับปลุกเสกยันต์ตะกรุดมหาระงับ (สวด ๑๐๘ จบ)
"นะ ปิดตา โม ปิดใจ พุท ปิดปาก ธา ปิดหู ยะ หลับนิ่งอยู่ฯ // อิติปาระมิตาติงสา ระงับอินทา อะติสัพพัญญูมาคะตา