ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,188 ผู้ชมทั้งหมด :41,555,699 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :146

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
ท้าวเวสสุวัณยอดนิยมอันดับ๑ (พิมพ์B ฐานไข่ปลา 1 ใน 200 องค์)
ราคา :
โชว์เครื่องราง
รายละเอียด :

๙๙๙ ท่านธนบดีเจ้าแห่งทรัพย์..,นามท่านท้าวเวสสุวรรณ 

 

ท้าวเวสสุวัณยอดนิยมอันดับ๑ ของเมืองไทย

เจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ กทม.

 

พิมพ์B (ฐานไข่ปลา) 1 ใน 200 องค์ แบบเก๋าๆ ผิวหิ้ง จัดมันส์จี้ดดดด!!!

 

“จอมเทพแห่งอตุรทิศ ผู้บันดาลความร่ำรวย และขจัดภูติผีปีศาจ”

 

    ท้าวเวสสุวรรณ นับว่าเป็นท้าวจตุโลกบาลองค์สำคัญที่มีผู้กราบไหว้บูชามากที่สุดองค์หนึ่ง ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ (สันสกฤต: वैश्रवण Vaiśravaṇa; บาลี: वेस्सवण Vessavaṇa) เป็นอธิบดีแห่งอสูรย์ หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งผี เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือ มียักษ์เป็นบริวาร

         

 

     คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็ก เพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควานแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตร (“อาฏานาฏิยปริตร บทวิปัสสิสสะ นะมัตถุฯ” ซึ่งอยู่ในบทสวดมนต์ ๗ ตำนาน ว่าด้วยพระพุทธมนต์ที่สามารถป้องกันอุปัทวันตรายทั้งปวง บางแห่งกล่าวไว้ว่า สามารถป้องกันภัยจากอมนุษย์ ทำให้มีสุขภาพดี และมีความสุข) ว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา มาเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่น ๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาน

 

 

        ท้าวกุเวรหรือท่านท้าวเวสสุวรรณนั้น ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ยืนถือกระบองยาวหรือคทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่า มหาราชลีลา มีลักษณะอันโดดเด่นคือ พระอุระพลุ้ยอีกด้วย กล่าวกันว่า ผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือมีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวเวสสุวรรณ สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันภัยจากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียน อย่างในมีดจักรนารายณ์ หลวงพ่อเดิม ลงเป็นคาถาเทพศาตาวุธ 1 ใน 5 อย่างนั้น คือ กระบองท้าวเวสฯ ดังนี้  “เวสสุวัณนัสสะ คทาวุธธัง” (ดูจากภาพประกอบอ้างอิง) ในภายหลังภาพลักษณ์ของท้าวกุเวรที่ปรากฏในรูปของชายพุงพลุ้ยเป็นที่เคารพนับถือ ในความเชื่อว่าเป็นเทพแห่งความร่ำรวย แต่ท้าวกุเวรในรูปของท้าวเวสสุวรรณซึ่งมาในรูปของยักษ์เป็นที่เคารพนับถือว่า เป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภูติผีปีศาจ

 

         (จากสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 หน้า 1439) กล่าวถึง ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณไว้ว่า กุเวร-ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์ มียักษ์ และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้น บางทีก็เรียกว่าท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬเรียก "กุเวร" ว่า "กุเปรัน" ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่า เป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์ และทศกัณฐ์ไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวรไป ท้าวกุเวรมีรูปร่างผิวขาว มีฟัน 8 ซี่ และมีขาสามขา (ภาพท้าวเวสสุวรรณจึงมักเขียนท่ายืนถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวรชื่อ "อลกา" อยู่บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุ ชื่อว่า "สวนไจตรต" หรือ "มนทร" มีพวกกินนรและคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวรเป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ คนจีนเรียกว่า "โต้เหวน" หรือ "โต้บุ๋น" คนญี่ปุ่นเรียกว่า "พสมอน"

 

 

      ความหมายของชื่อ "ท้าวเวสสุวัณ" นั้น เวส แปลว่า พ่อค้า หมายถึง พ่อค้าอันมีทรัพย์ อันได้แก่ ทองคำ เนื่องจากท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) เคยมีอดีตชาติเป็นพราหมณ์ เปิดโรงงานค้าขายหีบอ้อยจนร่ำรวย และได้นำเงินทองบริจาคให้ผู้ยากไร้ เมื่อเกิดใหม่จึงได้ครองเมืองวิสานะนคร ผู้คนจึงเรียกว่าเวสาวัณ ด้วยกุศลดังกล่าวจึงได้รับพรจากพระพรหมให้เป็นอมตะไม่ตาย และให้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติต่างๆ ทั่วแผ่นดิน บ้านเรารู้จักกันในชื่อ "ปู่โสมเฝ้าทรัพย์" หรือในชื่อ "ธนบดี" แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์ หรือ "ธเนศวร" แปลว่า เจ้าแห่งทรัพย์ อุจฉาวสุ(มั่งมีได้ดั่งใจ) ยักษราช(ขุนแห่งยักษ์)  รัตนครรณ(พุงแก้ว) อีศะสขี(เพื่อนพระศิวะ) ฯลฯ อีกทั้งมีหน้าที่คอยจดความดีของคนทางทิศอุดรขึ้นไปจารึกและประกาศให้ปวงเทพยดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์รับรู้ ผู้คนจึงนิยมจัดสร้าง หรือ จำหลักรูปท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) และเคารพบูชาเพื่อความมั่งคั่งอีกด้วย วัตถุมงคลที่นิยมทำเป็นรูปท้าวเวสสุวัณก็จะมีมากมาย อาทิ ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) ของท่านเจ้าประคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นต้น

 

 

       พระมงคลราชมุนี นามเดิม สนธิ์ นามสกุลพงศ์กระวี นามฉายา ยติธโร ชาตะกาลกำเนิด ณ วันศุกร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ เบญจศก จุลศักราช 1265 เวลา 6.00 น. เศษตรงกับวันที่ 17 กรกฎาคม พุทธศักราช 2446

เมื่อเจ้าคุณมงคลราชมุนีมีอายุได้ 11 ขวบ ขณะนั้นโยมผู้ชายของท่านได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว โยมผู้หญิงของท่านจึงได้นำท่านมาฝากไว้กับพระภิกษุบุญ (หลวงตาบุญ) ซึ่งเกี่ยวเป็นญาติกับโยมผู้หญิงของท่านที่วัดสุทัศน์เทพวราราม คณะ 15 เพื่อให้ศึกษาอักขระสมัยฝ่ายบาลี ตามคตินิยมที่เล่าเรียนกันในยุคนั้น คือ เริ่มเรียนคัมภีร์สนธิ คัมภีร์นาม คือไปตามลำดับ

 

       ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2458 อายุของท่านได้ 13 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรโดยมี พระมงคลราชมุนี (ผึ่ง ปุปฺผโก) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูปลัดสุวัฒนพรหมจริยคุณ ฐานานุกรมในพระพรหมมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ ในระหว่างที่ท่านบรรพชาเป็นสามเณรอยู่นั้น ท่านก็ได้ศึกษาเล่าเรียนต่อไปตามปกติ จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2459 ท่านได้ย้ายไปอยู่ที่วัดกลางบางแก้ว ตำบลบางแก้ว อำเภอนครไชยศรี จังหวัดนครปฐม ในความปกครองของเจ้าคุณพุทธิวิถีนายก (หลวงปู่บุญ) เจ้าคณะจังหวัดนครปฐมในยุคนั้น ตราบจนถึง พ.ศ. 2460 ท่านจึงได้ย้ายกลับมาอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ ตามเดิม

 

       ในตอนที่ท่านจะกลับมานี้ ตามที่ท่านได้เคยกรุณาเล่าให้บรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยฟังว่าขณะเมื่อท่านเข้าไปกราบลา เจ้าคุณพุทธวิถีนายกเพื่อจะกลับกรุงเทพฯ เห็นจะเป็นเพราะความกรุณาที่ท่านเจ้าคุณพุทธฯ มีต่อท่าน เพราะได้เอ่ยปรารภไม่อยากให้ท่านกลับกรุงเทพฯเลย ท่านมีความประสงค์ที่ต้องการที่จะเอาไว้แทนตัวท่าน (เนื่องจากเจ้าคุณพุทธวิถีนายกองค์นี้เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในเชิงวิปัสสนาธุระ มีผู้เคารพนับถือท่านมาก) แต่เมื่อท่านเจ้าคุณพุทธฯ ท่านเห็นว่าไม่สามารถจะขัดขวางหน่วงเหนี่ยวเอาไว้ได้ ก็จำเป็นต้องอนุโลมผ่อนตามพร้อมกับประสาทคำพยากรณ์ให้ไว้ว่า "คนลักษณะอย่างเณรมันต้องเป็นอาจารย์คน"  ซึ่งคำพยากรณ์ของท่านเจ้าคุณพุทธฯ ดังกล่าวนี้ก็ได้ประสิทธิผลสมจริงทุกประการ

 

      พ.ศ. 2466 ได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยมีสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระพรหมมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลราชมุนี (ผึ่ง ปุปฺผโก) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระครูปลัดสุวัฒนพระพรหมจริยคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระพิมลธรรม (นาค สุมมนาโค) เจ้าอาวาส วัดอรุณราชวราราม เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระเทพเวที และยังสถิตอยู่ที่วัดสุทัศน์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เสด็จพระอุปัชฌาย์ขนานนามฉายาว่า "ยติธโร" หลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยตลอดมา

 

       พระคุณเจ้าพระมงคลราชมุนี ท่านเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยจริยวัตรและปฏิปทา อันควรแก่การยกย่องเคารพนับถือหลายประการ ในด้านอัธยาศัยใจคอ ท่านเป็นผู้ที่มีใจคอหนักแน่นเยือกเย็นสุขุม และอ่อนโยน  ศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่ท่านเชี่ยวชาญเจนจบเป็นพิเศษ แทบจะหาผู้เสมอเหมือนได้ยากคือ "ไสยศาสตร์" วิทยาการอันลี้ลับที่กล่าวถึงการใช้เวทมนตร์คาถา ท่านสนใจในวิชาประเภทนี้มาก ดูเหมือนว่าเริ่มแต่เป็นสามเณรเมื่อครั้งออกไปอยู่วัดกลางบางแก้ว กับท่านเจ้าคุณพุทธวิถีนายก

 

     นอกจากนี้ท่านยังได้บำเพ็ญงานในด้านพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับกรณีพิเศษอีก คือ ทุกคราวที่ทหารหาญของประเทศไทยต้องออกไปสู่สมรภูมิ ท่านได้ประกอบพิธีสร้างพระเครื่องรางขึ้นแจกจ่ายแก่บรรดาเหล่าทหารเพื่อเป็นเครื่องบำรุงขวัญ เริ่มแต่กรณีพิพาทอินโดจีนจนกระทั่งสงครามเกาหลี ท่านได้ประกอบพิธีสร้างท่านกำลังอาพาธหนักอยู่ท่านก็ได้พยายามประกอบพิธีสร้างพระเครื่องดังกล่าวนี้ขึ้นจนเป็นผลสำเร็จ และได้ทำการแจกจ่ายให้แก่เหล่าทหารทั้งทัพบกและทัพเรือโดยทั่วถึงกันหมด

 

<<  มูลเหตุที่ ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ท่านได้สร้าง รูปหล่อท้าวเวสสุวรรณ >>

 

        ด้วยอานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์ของท้าวเวสสุวรรณที่สามารถใช้ป้องกันภูตผีปีศาจ มิให้มารบกวนมนุษย์ได้นี่เองท่าน เจ้าคุณศรีฯ(สนธิ์) วัดสุทัศนฯจึงได้จัดสร้างรูปเคารพท้าวเวสสุวรรณขึ้นมารุ่นหนึ่ง ขนาดเล็กพอจะพกติดตัวได้สร้างโดยกรรมวิธีหล่อแบบโบราณ เบ้าประกบ ใต้ฐานตะไบหยาบเหมือนกับการสร้างพระกริ่งของท่าน

     

      อาจารย์เกี๊ยก ทวีทรัพย์ ผู้ชำนาญเรื่องพระกริ่งและรูปหล่อเกจิอาจารย์รุ่นเก่าได้กรุณาให้ข้อมูลว่า..,การที่ท่าน เจ้าคุณศรีฯได้เททองหล่อรูปท้าวเวสสุวรรณก็ เพราะว่าท่านได้สร้างโบสถ์หลังใหม่พร้อมกับพระประธานไว้ที่วัดศรีจอมทอง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ที่เป็นวัดแถบบ้านเกิดของท่าน ในตำบลป่าหวาย ท่านได้เริ่มสร้างพระอุโบสถมาตั้งแต่ พ.ศ.2490 เป็นลำดับมา วัดนี้อยู่ในกลางป่า ทำให้คนงานที่ไปทำงานเกิดอาการหวาดกลัวมาก เพราะถูกผีหลอกอยู่บ่อยๆ  จนชาวบ้านและช่างที่กำลังก่อสร้าง ได้มาร้องเรียน ว่าถูกผีหลอกอยู่เสมอๆ จนขวัญหนีดีฝ่อไม่เป็นอันทำงาน !!! ท่านจึงได้สร้าง ท้าวเวสสุวรรณ เพื่อให้คนงานใช้ติดตัวป้องกันและขจัดภูตผีปีศาจ นั่นเอง

     

    เมื่อท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ได้ทราบเรื่องราวแล้ว และท่านได้กลับมาที่วัดสุทัศน์ จึงได้สร้างเทวรูปท้าวเวสสุวัณ แบบรูปลอยองค์ ลักษณะคล้ายกับยักษ์วัดแจ้ง คือยืนถือกระบองแล้วนำไปแจกแก่ญาติโยมเพื่อไว้กันผีปอบ และหลังจากที่ท่านได้นำไปแจกแล้ว เรื่องผีปีศาจก็เงียบหายไป ทำไม ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) จึงสร้าง รูปท้าวเวสสุวัณไว้กันผี

(ประวัติการสร้าง ในปีพ.ศ.2492) ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์)  << ท่านสร้างน้อยมาก เทใน 2 วาระด้วยกัน ดังนี้ วาระแรก วันที่ 10 ธันวาคม 2492 (จำนวน 50 องค์) และเทในวาระที่2 วันที่ 24 ธันวาคม 2492 15.35น. (จำนวน 200 องค์) รวมทั้งหมดแค่เพียง 250 องค์ แบ่งเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานผ้าทิพย์ และพิมพ์ฐานไข่ปลา (บัวเม็ด) >>)

       ท่านจึงได้สร้างรูปท้าวเวสสุวัณไปแจกญาติโยมตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เนื้อท้าวเวสสุวัณจะเป็นเนื้อทองเหลืองผสม วรรณะออกเหลืองอมเขียว ปัจจุบันเริ่มหายากแล้ว ของปลอมก็พบอยู่มากครับ นอกจาก รูปท้าวเวสสุวรรณ จะปกป้องคุ้มครองจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ แล้ว ยังมีผลทางโชคลาภโภคทรัพย์

       วัตถุมงคลท้าวเวสสุวรรณจึงมีพุทธคุณ ในทางคุ้มครองป้องกันสรรพภัยต่างๆ ทั้งชิวิตและทรัพย์สิน ช่วยป้องกันอุปัทวอันตราย การกระทำย่ำยีด้วยคุณไสยมนต์ดำภูติผีต่างๆ และบันดาลความร่ำรวย โชคลาภเงินทอง

<< คาถาท้าวเวสสุวรรณ >> "อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโมพุทธายะ”

         ภาวนาพระคาถานี้ ๙จบ แล้วตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากท่านท้าวเวสสุวัณ จะสำเร็จสมความมุ่งมั่นปรารถนา ปกป้อง คุ้มครองตัว เดินทางปลอดภัยปราศจากอุบัติเหตุภยันอันตรายทั้งปวง หากบูชาในช่วงระยะเวลา  ๓ เดือนขึ้นไป จะสังเกตุได้อย่างดีว่ามักจะมีโชคมีลาภลอยมาอยู่เสมอบรรดาภูตผีทั้งหลายต่างเกรงกลัวกันนัก

      หากต้องการสักการบูชาขอพร หรือปรารถนาสิ่งใดๆให้กระทำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ โดยบูชาด้วย กุหลาบแดง ๙ ดอก  จุดธูป ๙ดอกภาวนาคาถานี้ ๙ จบแล้วตั้งจิตอธิษฐานตามความปรารถนา จะประสพผลสำเร็จทุกประการ หรือ จะภาวนาคาถานี้เวลาเดินทางไปค้างแรมต่างถิ่น ๙๙๙

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
085-8798569
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด