ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,182 ผู้ชมทั้งหมด :41,467,831 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :1,856

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
พระพุทธชินราช หลวงพ่ออวน วัดหนองพลับ (Super Limited Edition)
ราคา :
โชว์เครื่องราง
รายละเอียด :

 

@@@ ท่านเป็นเกจิขลัง!!! แห่งเมืองสระบุรี หลวงพ่ออวน วัดหนองพลับ (Super Limited Edition) @@@

<<< ขนาดใหญ่กลักไม้ขีด!!! วรรณะผิวขาวนวลนมข้นหวาน พิมพ์พระพุทธชินราช หลังรูปเหมือนท่าน ฝังตะกรุด 5 ดอก >>>

สวยแชมป์ๆ สร้างน้อยหายากสุดๆๆๆ มีจารทั้งองค์

==============================

เจ้าอธิการอวน อจฺจาทโร

อดีตเจ้าคณะตำบลหนอควายโซ และ เจ้าคณะตำบลกิตติมศักดิ์

นามเดิมชื่ออวน นามสกุลปุเนติ เกิดวันอังคาร แรม 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 บิดาชื่อจันทร์ มารดาชื่อสิม บ้านเลขที่ 12 ตำบลหนองกุง อำเภอตลาด จังหวัดมหาสารคาม

มพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน 7 คน เด็กชายอวน ปุเนติ เมื่อเยาว์วัยได้รับเข้าการศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนวัดวัดท่าตูม ตำบลเขวา อำเภอตลาด จังหวัดมหาสารคาม (ปัจจุบันจังหวัดกาฬสินธุ์) จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แล้วในสมัยนั้นบิดามารดาก็อยากให้ลูกได้ศึกษาต่อแต่ไม่มีโรงเรียนเหมือนในปัจจุบัน จึงนิยมส่งลูกหลานเล่าเรียนพระที่วัด จึงให้บวชเป็นสามเณรดั้งแต่อายุ 9 ขวบ ที่วัดบ้านโพนสว่าง ตำบลหนองกุง จังหวัดมหาสารคาม เมื่ออายุ 10 ขวบ ออกพรรษาแล้วได้เดินทางไปกราบนมัสการหลวงพ่อคำที่วัด บ้านโนนสวาย จังหวัดสุรินทร์ เพื่อศึกษา ปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานในป่าช้าผีดิบ ในเวลาต่อมาได้มาจำพรรษาอยู่กับ พระจันทร์ที่วันเหล่าพอหาได้ศึกษาหลักธรรมอยู่นานถึง 2 ปี โดยศึกษาหนังสือธรรม (ขอมลาว) จนสำเร็จเข้าใจดีแล้ว ได้กรอบลาพระครูจันทร์ ไปอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านกุดปลาดุก ตำบลหนองผักแซว อำเภอปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ต่อมาได้เดินทางกลับไปกราบนมัสการหลวงพ่อคำซึ่งเป็นอาจารย์องค์แรก หลวงพ่อก็พาเดิน ธุดงค์โดยมีพระ 2 รูป สามเณร 2 รูป ซึ่งในขณะนั้นหลวงปู่ก็เป็นสามเณรอยู่ในคณะนั้นด้วยได้ออกเดินธุดงค์ไปสถานที่สำคัญต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสกลนคร เป็นต้น และยังได้ธุดงค์ไปถึงประเทศลาว พม่า เขมร ตามคำบอกเล่าของท่านเอง

มีตอนหนึ่งท่านเล่าว่าขณะเดินธุดงค์ไปประเทศพม่าพบคนป่าจะเอาหอกแทงท่านหลวงปู่ก็พูดว่า “อนิจจา” ด้วยกำลังจิตของหลวงปู่คนป่าเลยหนีเข้าป่าไปและได้เรียนถามท่านว่าระหว่างทางที่เดินธุดงค์ในป่าดงดิบเช่นนั้นหลวงปู่ได้พบเห็น สัตว์ป่า ช้าง เสือ หมี งูจงอาง บ้างไหม ท่านก็เล่าว่าไม่พบเห็นพบแต่ร่องรอยเท้า อุจจาระ ปัสสาวะท่านเดินธุดงค์เดินเลาะไปตามตีนเขา หยุดพักตามหมู่บ้าน ชาวอีก้อ แม้ว ออกบิณฑบาตพอมีฉัน หลวงปู่ได้เดินธุดงค์ได้ แรมเดือน และเวลาหลาย ๆ ปีแล้วได้ย้อนกลับมายังวดหลวงพ่อคำอีก

อุปสมบท

เมื่ออายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ได้ทำการบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเหนือ ตำบลร้อยเอ็ด อำเภอร้อยเอ็ด (อำเภอเมือง) จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี พระเทพเมธี เจ้าคณะมณฑล เป็นพระอุปัชฌาย์และพระศาสนดิลก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2466 เวลา 18.05 (โดยการอุปสมบทหมู่มีนาค 200คน หลวงปู่เป็นนาคเอก) พออุปสมบทแล้วได้เดินทางไปอยู่กับหลวงพ่อคำอีก และได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดท่าตูม จังหวัดมหาสารคาม และได้อยู่ที่วัดร้อยเอ็ดอีกเพื่อเข้ามาศึกษานักธรรมจนจบได้นักธรรมชั้นตรี ท่านตั้งใจศึกษาธรรมธอีก จึงมุ่งมั่นที่จะมาศึกษาธรรมที่กรุงเทพฯ จึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯแต่เนื่องจาก หลวงปู่ไม่มีที่พัก ญาติโยมเลยพาไปฝากวัดปากน้ำแต่ก็ไม่ได้เรียนหนังสือได้แต่สวดมนต์ เมื่อครั้งที่อยู่วัดปากน้ำได้มีคนเป็นไข้ทับระดูมาหาหลวงปู่และถามหลวงปู่ว่ามียารักษาไหม หลวงปู่จึงบอกยาให้ไปซื้อยามาต้มกิน แล้วก็หายเป็นปกติ ครั้นต่อมามีคนมาให้รักษามากขึ้น ชื่อเสียงของหลวงปู่ได้แพร่ขยายจนเป็นเหตุให้ หลวงปู่ออกจากวัดปากน้ำ เพื่อหาที่เรียนหนังสือแล้วได้ขั้นรถไฟมาลงที่สถานีหนองแซง และได้อยู่ที่วัดหนองน้ำสร้าง มีอยู่วันหนึ่งที่ วัดหนองน้ำสร้างมีงานศพ เจ้าภาพได้นิมนต์พระวัดเหนือ (วัดหนองพลับ) ไปสวดพระอภิธรรม 1 รูป หลวงปู่ได้พูดคุยกับพระรูปนั้น และได้ทราบว่าวัดหนองพลับมีการเรียนการสอนนักธรรม หลวงปู่จึงได้ย้ายมาจำพรรษา ที่วัดหนองพลับสมัยที่หลวงพ่อบัวเป็นเจ้าอาวาส จนสอบได้นักธรรมชั้นโท – เอก ในนามสำนักศาสนศึกษา วัดสมุหประดิษฐาราม อำเภอเสาไห้ เมื่อจบนัก ธรรมชั้นเอก หลวงปู่ได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจำวัดหนองพลับ เรื่อยมา
ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
085-8798569
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด