ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,188 ผู้ชมทั้งหมด :41,555,699 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :6,891

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
สุดยอดเครื่องรางหายาก ระดับตำนานแห่งสยามประเทศ!!!
ราคา :
ขายแล้ว
รายละเอียด :

๙๙๙ สุดยอดเครื่องรางหายาก ระดับตำนานแห่งสยามประเทศ!!! =>>  "ชูชก หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน" สมุทรสาคร

เนื้อไม้พุฒซ้อน ขนาดสูง 2 นิ้ว 2 หุน ฐาน 1*1.2 cm สวยสะเด็ด ผิวหิ้ง ขี้ยุงตึม!!!

<< นับเป็นองค์ที่2 ในรอบหนึ่งทศวรรษ 10 ปี และนับว่าเป็นองค์ที่สวยสมบูรณ์ ระดับขั้นเทพจริงแท้ เอกลักษณ์ของพ่อปู่ชูชก คือ มัดผมเหมือนพราหมณ์ มือขวาถือไม้เท้า สะพายย่ามไหล่ซ้าย นับเป็นเจ้าการขออันดับ๑ ตั้งแต่อดีตกาล ขอสาวสวยก็ได้สาว ขอเด็กก็ได้เด็กคู่ กัณหาและชาลี ฯลฯ >>

 

หลวงปู่รอด พุทฺธสณฺโฑ : เทพเจ้าวาจาศักดิ์สิทธิ์ วัดบางน้ำวน ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 

 

     จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายรูป เป็นจังหวัดชายทะเล ตั้งอยู่ปากแม่น้ำท่าจีน หลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่าในอดีตมีชุมชนใหญ่เรียกว่า "บ้านท่าจีน" ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยา ปี 2099 พระองค์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ยกบ้านท่าจีนขึ้นเป็น เมืองสาครบุรี เพื่อเป็นหัวเมืองสำหรับเรียกระดมพลเวลาเกิดสงครามและเป็นเมืองด่านหน้า ป้องกันผู้รุกรานทางทะเล

       

      พระเกจิอาจารย์ในอดีตที่เกิดในยุคเดียวกันของจังหวัดสมุทรสาคร คือ หลวงปู่รุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อเฮง วัดบ้านขอม หลวงพ่อแขก วัดบางปลา หลวงพ่อแก้ว วัดนางสาว โดยเฉพาะหลวงปู่รอด พระเกจิอาจารย์มงคลนาม ซึ่งได้รับฉายาว่า “เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง ผู้มีวาจาอันศักดิ์สิทธิ์”  

               

    หลวงปู่รอด พุทฺธสณฺโฑ หรือ พระครูรอด  พุทฺธสณฺโฑ อดีตเจ้าอาวาสวัดบางน้ำวน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในอดีต มีพุทธาอาคม เช่น เมตตามหานิยม วิชาคงกระพันชาตรี วิชาทำธงกันฝน ป้องกันฟ้าผ่า วิชาเสกของหนักให้เบาดั่งปุยนุ่น  วิชาทำตะกรุด วิชาทำผ้ายันต์บังไพร วิชาแพทย์แผนโบราณ ฯลฯ วิชาที่ท่านเรียนกับพระอุปัชฌาย์แค ก็คือ เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี นอกจากท่านจะเรียนวิทยาคมแล้ว ท่านก็ยังเรียนวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วย จนเป็นที่ไว้ใจของพระอุปัชฌาย์ หลังจากที่พระอุปัชฌาย์แคมรณภาพลง ท่านก็ได้รับการนิมนต์จากชาวบ้านขอให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทนภายหลังท่านได้ออกธุดงค์ ไปยังประเทศพม่าเพื่อศึกษาวิชาให้แก่กล้าเป็นเวลาหลายปี 

 

     คชสิงห์หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน สมุทรสาคร หนึ่งในสุดยอดคณาจารย์แห่งลุ่มน้ำแม่กลอง ที่สร้างวัตถุมงคลยอดนิยมหลายชนิด เล่ากันว่าดวงตาของหลวงปู่รอดนั้นเป็นแววเหมือนดั่งมีกงจักรอยู่ภายในดวงตา ในสมัยนั้นไม่มีใครกล้าจ้องตากับท่าน

 ชูชก แห่งวัดบางน้ำวนนั้นนับเป็นอีกหนึ่งสุดยอดเครื่องรางที่หายากมากมานานแล้วตั้งแต่อดีต ตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้ยิ่งหายากแบบทวีคูณ มีหมุนเวียนอยู่ในวงการน้อยมากจนแทบจะนับตัวได้ 

     นอกจาก นั้นยังมีเครื่องรางของขลัง เช่น ชูชก ถือว่าเป็นต้นตำหรับเป็นตำนานที่ได้นำไม้ที่เป็นมงคลมาแกะ เช่น ไม้ขนุน ไม้พุฒ งาช้าง แกะเป็นชูชก ส่วนงาท่านจะนำเอางากำจัด งากำจาย งากระเด็น ซึ่งมีความเชื่อกันว่าเป็นของคงทนสิทธิ์ มีดีอยู่ในตัวไม่มีอะไรมาทำให้เสื่อมสลายได้ นอกจากกฎแห่งกรรม สิงห์ หรือ ราชสีห์ ก็เป็นเครื่องรางของขลังอีกชนิดหนึ่ง ที่ผู้ใหญ่ผู้ที่จะมีอำนาจให้ยั่งยืนก็ใฝ่หาสิงห์หลวงปู่รอด

 

          ปัจจุบัน วัตถุมงคลของท่านไม่ว่าจะเป็นเหรียญหล่อ เหรียญปั๊ม เครื่องรางของขลัง วัตถุที่เป็นมงคล เช่น ผ้ายันต์ หรือตะกรุด หรือแผ่นยันต์หัวเสา ก็เป็นที่นิยมปรารถนาของศิษยานุศิษย์และบุคคลทั่วไป ที่มีความเชื่อว่าวัตถุมงคลของหลวงปู่รอด เมื่อได้มาแล้วพกพาอาราธนาติดตัวก็จะรอดพ้นจากภัยพิบัตินานัปการ รอดพ้นจากความยากความจน รอดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ และที่สำคัญรอดพ้นจากความทุกข์ ทั้งกายและใจ ตรงกันข้ามจะดลบันดาลให้มีความสุข ความเจริญ มี อายุยืนยาวนานตลอดกาลนาน

 

คุณลักษณะพิเศษ ของท่าน มีคุณลักษณะพิเศษหลายประการ ได้แก่

 

 ๑. ดวงตาท่านเป็นวาวเหมือนดังกงจักรอยู่ในตารูปกลม ใสดุจเพชรตาแมว ไม่มีใครกล้าจ้องหน้ากับท่านเพราะมีอำนาจซ่อนเร้นอยู่ในนัยน์ตา

 ๒. ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ให้การอุปสมบทให้ได้ แต่จะไม่ยอมรับลาสิกขากับผู้ใด หากจะลาสิกขาให้ไปลากับพระรูปอื่น เพราะถือว่า ท่านบวชของท่านมาจะไม่ทำลายจากพระสู่ฆราวาสเด็ดขาด

 ๓. ท่านจะไม่ยอมลอดของต่ำ เช่น ใครมานิมนต์กิจ ถ้าเป็นบ้าน ๒ ชั้น ท่านจะไม่ยอมลอดไต้ถุนบ้านขึ้นไปชั้นบน ต้องใช้บันไดพาดขึ้นทางหน้าต่าง

ปาฏิหาริย์ หลวงปู่รอด

              มีเรื่องเล่ากันมากมายเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ของหลวงปู่ ได้แก่

 ๑. เมื่อถึงงานประจำปี ปีใดเกิดมีเมฆฝนทำท่าว่าจะตก ท่านจะเสกธงฝังตะกรุดแล้วให้ชักขึ้นเสา พอธงขึ้นสู่ยอดเสา กลุ่มเมฆก็เคลื่อนไปทางอื่น ทุกคนในงานเห็น ทำให้น่าอัศจรรย์

 ๒. เรื่องวาจาสิทธิ์ คราวหนึ่งมีคนมาพักที่วัด มียุงชุมมากขนาดมาเป็นกลุ่ม ๆ กัดจนนอนไม่ได้ หลวงปู่สั่งให้ไปนอนในอุโบสถ บอกไม่มียุง เมื่อเข้าไปนอนแล้ว ยุงไม่กัดแม้แต่ตัวเดียว น่าอัศจรรย์ 

 ๓. สิงห์กลายเป็นเสือ ป้องกันคนลักขโมยของหน้ากุฏิหลวงปู่ วันหนึ่งมีคนมาลักขโมยของที่หน้ากุฏิหลวงปู่ เห็นเสือเดินอยู่หน้ากุฏิเกิดความกลัวจึงหนีไป

 ๔. เรื่องกระสุนคด ครั้งหนึ่งมีเด็กวัดนัดชกต่อยกันที่ทุ่งนา หลวงปู่แผ่เมตตาจิตเห็น จึงยิงลูกกระสุนคดออกไปทางหน้าต่างไปโดนหัวเด็กที่มีเรื่องถึงกับหัวโน เด็ก ๆ ก็แยกกลับ

 

ปรากฏในมหาเวสสันดรชาดก 
พระเวสสันดร
อันเป็นชาติสุดท้ายของการสั่งสมบารมีเพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต


ชูชกเป็นพราหมณ์อยูในเมืองกลิงคราษฎร์ เที่ยวท่องขอทานไปทั่ว และด้วยนิสัยประหยัด มัธยัสถ์ รู้จักอดออม เงินที่ขอเขามาเก็บไว้จึงมากมายเข้าขั้นเศรษฐี ชูชกนำไปฝากเพื่อนพราหมณ์ไว้  

 

ครั้นเมื่อกลับไปทวงถาม  ปรากฎว่าเพื่อนได้ใช้เงินหมดไปแล้ว 
เลยยกลูกสาวคือนางอมิตดาวัยแรกรุ่นสวยงามให้แทน



ทั้งที่ชูชกมีรูปร่างอุบาทว์อัปลักษณ์ยิ่งนัก แต่นางอมิตดาก็ขยันปรนนิบัติสามีเป็นอย่างดี
 นางตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร ดูแลบ้านเรือนไม่มีขาดตกบกพร่อง  ความประพฤติที่ดีเพียบพร้อมของนางอมิตดาทำให้เป็นที่สรรเสริญของบรรดา พราหมณ์ทั้งหลายในหมู่บ้านนั้น ในไม่ช้า บรรดาพราหมณ์เหล่านั้นก็พากันตำหนิติเตียนภรรยาของตนที่มิได้ประพฤติตนเป็น แม่บ้านแม่เรือนอย่าง นางอมิตดา

ทำให้พวกภรรยาพราหมณ์อิจฉาริษยามาคอยด่าทอนางอมิตดาอยู่ทุกวัน

นางอมิตดามาเล่าให้ชูชกฟัง ชูชกจึงบอกว่าต่อไปนี้นางไม่ต้องทำการงานสิ่งใด 
ชูชกจะเป็นฝ่ายทำให้ทุกอย่าง  นางอมิตดาจึงว่า ..


"ภรรยาที่ดีจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร จะปล่อยให้สามีมาปรนนิบัติรับใช้ เราทำไม่ได้หรอก ลูกหญิงที่พ่อแม่อบรมสั่งสอนมาดี ย่อมจะไม่นั่งนอนอยู่เฉยๆ ดีแต่ชี้นิ้วให้ผู้อื่นปรนนิบัติตน นี่แน่ะ ชูชก ถ้าท่านรักเราจริง ท่านจงไปหาบริวารมาปรนนิบัติรับใช้เราดีกว่า"

 

ชูชกได้ฟังดังนั้นก็อัดอั้นตันใจ ไม่รู้จะไปหาข้าทาสหญิงชายมาจากไหน นางอมิตดา จึงแนะว่า 

"ขณะนี้ พระเวสสันดรเสด็จออกมาจากเมืองสีพี มาทรงบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า พระองค์เป็นผู้ใฝ่ในการบริจาคทาน

ท่านจงเดินทางไปขอบริจาคพระชาลี กัณหา โอรสธิดาของพระเวสสันดรมาเป็นข้าทาสของเราเถิด"

 

ชูชกจึงไปทูลขอ พระโอรสธิดาเพื่อเป็นข้าช่วงใช้ของตน พระเวสสันดรทรงมีพระทัยยินดีที่จะทรงกระทำบุตรทาน

คือ การบริจาคบุตรเป็นทานเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น

เมื่อได้ตัวพระชาลี กัณหา แล้วระหว่างเดินทางกลับบังเอิญผ่านไปหน้าที่ประทับพระเจ้าสญชัยทรงทอด พระเนตรเห็นพระนัดดาทั้งสองก็ทรงจำได้ จึงให้เสนาไปพาเข้ามาเฝ้า ชูชกทูลว่า พระเวสสันดรทรงบริจาคพระชาลีกัณหาให้เป็นข้าทาสของตนแล้ว

พระเจ้าสญชัยก็โปรดให้เบิกสมบัติท้องพระคลังมาไถ่ตัวพระนัดดาจากชูชก และโปรดให้จัดข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดูชูชก 

ชูชกพราหมณ์เฒ่าขอทาน ไม่เคยได้บริโภคอาหารดีๆ ก็ไม่รู้จักยับยั้ง บริโภคมาจนทนไม่ไหว ถึงแก่ความตายในที่สุด 

 

ตามพระคัมภีร์กล่าวว่าชูชกได้ชื่อว่ามีลักษณะเป็น “ บุรุษโทษ “ หรือ “ ปุริสโทษ “ คือมีลักษณะไม่ดี ๑๘ ประการ ซึ่งในพระคัมภีร์หรือแม้แต่วรรณกรรมชาดกล้านนาเรื่องเวสสันดรชาดก ฉบับมหาเกสรปัญโญ ที่จารไว้เมื่อ 
พ.ศ. ๒๓๖๔ กล่าวไว้เหมือนกัน ดังนี้..ค่ะ

๑. พลฺงกบาท เท้าทั้งสองข้างใหญ่ และคด
๒. อฺทธนขะ เล็บทั้งหมด กุด-ดำ (บางตำราก็ว่า เน่า อีกต่างหาก)
๓. โอพฺทธปิณฑิกะ ปลีน่องทู่ยู่ยาน
๔. ทีโฆตตโรฏฐะ ริมฝีปากบนห้อยย้อยลงมาทับริมฝีปากล่าง
๕. จปละ น้ำลายไหลย้อยเป็นยางยืด
๖. กฬาระ มีเขี้ยวยาว งอกออกพ้นปากเหมือนเขี้ยวหมู
๗. ภฺคคนาสกะ ดั้งจมูกคด หักฟุบ (น่าจะคด-หัก-แบน)
๘. กุมโภทร ท้องป่องเป็นกระเปาะ ทางล้านนาเขาว่า “ ดังไหตาล “
๙. ภฺคคปิฏฐิ สันหลัง ไหล่หัก ค่อม คด โกง
๑๐. วิสมจฺกขุ ตาถลนลึก ตาสองข้างไม่เท่ากัน ไม่เสมอกัน
๑๑. โลหมฺสสุ มีหนวดเคราสีแดงเหมือนลวดทองแดง
๑๒. หริตเกส มีผมโหรง (ผมบางหรอมแหรม) สีผมเหลืองเหมือนสีลาน (บางแห่งก็ว่าสีลวดคำ หรือลวดทอง)
๑๓. วลินะ ร่างกายมีหนังเหี่ยว เส้นเอ็นปูดนูน ดูเกะกะ
๑๔. ติลกาหตะ ตามตัวเต็มไปด้วยตุ่มไฝ กระ (เหมือนโรยงา..ว่างั้น)
๑๕. ปิงคละ มีลูกตาเหลือง เหลือก เหล่
๑๖. วินะตะ ร่างกายคดในที่ทั้งสาม คือ คอ หลัง และเอว
๑๗. วิกฏะ เท้าทั้งสองข้างแป หันไปคนละทิศทาง
๑๘. พรหาขระ ขนตามตัวหยาบเหมือนแผงขนหมู

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
085-8798569
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด