ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :251 สินค้าทั้งหมด :11,067 ผู้ชมทั้งหมด :39,518,325 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :2,292

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
ปั้นเหน่งจักรพรรดิ์เครื่องรางติดวิญญาณชิ้นนี้พิเศษพอกผงอาถรรพ์
ราคา :
ถามแดนครับ
รายละเอียด :

ปั้นเหน่ง เครื่องรางอาถรรพ์

ปั้นเหน่ง มาจากคำว่า ปันดิง หรือ ปันเดง ในภาษาชวาหมายถึงเครื่องรางประดับเอวจำพวกหัวเข็มขัด ถือเป็นอาภรณ์อย่างหนึ่งที่มีหัวโลหะฉลุลวดลายงดงามประดับของมีค่า มีสายคาดประดับไว้ที่เอว ทำให้เห็นว่าเป็นเข็มขัด จึงแปลกันว่า เข็มขัด แต่ถ้าตริตรองให้ชัด คำว่าเข็มขัด กับคำว่าเครื่องประดับเอว ที่ใช้เป็นอาภรณ์นั้นมีในต่างกัน ในบทความถ้าชมปั้นเหน่ง ก็มักชมหัวที่เป็นโลหะฉลุเป็นส่วนใหญ่.

สำหรับปั้นเหน่งในไทยนั้น ตามตำนานเล่ากันว่า สมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งที่แม่นาคออกอาละวาดหลอกหลอนผู้คนอย่างหนัก โดยเฉพาะที่สี่แยกมหานาค(ในปัจจุบัน) ทำให้สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ได้มาทำการสะกดวิญญาณความเฮี้ยน และเจาะกระโหลกผีแม่นาคเอามาขัดจนมัน ลงอักขระอาคม ทำเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ซึ่งหลังจากนั้นได้นำปั้นเหน่งไปเก็บรักษาไว้ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ครั้นเมื่อท่านชราภาพมากแล้ว ได้มอบปั้นเหน่งกระดูกหน้าผากแม่นาคนั้นไว้กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ซึ่งในภายหลังท่านได้เป็นหม่อมเจ้าสมเด็จพุฒาจารย์(ทัต) ต่อมาท่านได้ประทานปั้นเหน่งแม่นาคให้กับหลวงพ่อพริ้ง หรือพระครูวิสุทธิ์ศิลาจารย์ แห่งวัดบางปะกอก และภายหลังได้นำเอาปั้นเหน่งแม่นาคนั้นมาถวายแด่ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ในเวลาต่อมาก่อนที่ปั้นเหน่งดังกล่าวถูกเปลี่ยนมือไปอีกหลายทอด และได้หายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย

การสร้างปั้นเหน่ง

สำหรับปั้นเหน่งของทางล้านนานั้น เป็นเครื่องรางของชาวไทยใหญ่ที่อาศัยในแผ่นดินล้านนาสร้างไว้เมื่อหลายร้อยกว่าปีมาแล้ว การสร้างปั้นเหน่งตามตำราต้องใช้กะโหลกของผีที่ตายโหงเช่น ตายท้องกลม ถูกฟ้าผ่าตาย… รวมถึงการเลือกเอากะโหลกของผู้ที่ดวงแข็ง อย่างประเภทที่เป็นเสือเป็นโจรเก่ามาทำ จึงจะถูกต้องตามตำราคือมีความเข้มขลังนั่นเอง.

การสร้างปั้นเหน่งไม่ได้ทำง่ายๆ หนึ่งหัวจะทำปั้นเหน่งได้เพียงชิ้นเดียวเท่านั้น ผู้สร้างจึงต้องมีวิชาอาคมที่กล้าแกร่ง และปลุกเสกให้ถูกฤกษ์ยามตามตำรา  การสร้างปั้นเหน่งนั้น ถ้าเป็นปั้นเหน่งจากศรีษะคนจะเลือกเอาเฉพาะส่วนหน้าผากมาทำ(ก็มีบ้างที่ไม่ใช่ปั้นเหน่ง แต่เป็นเครื่องรางสายเดียวกันที่ใช้กะโหลกสัตว์ หรือ กะดองเต่ามาทำ แต่ก็พิจารณาแยกได้ว่า ชิ้นไหนทำจากกระดูกของสัตว์) เมื่อนำมาใช้เป็นเครื่องราง.

ตามความเชื่อชาวล้านนา และผู้ที่ชื่นชอบเครื่องรางต่างรู้ดีว่า ปั้นเหน่งนั้นเป็นของดีที่ใช้ได้หลายทางเช่น :

– พกไว้ติดตัวจะช่วยให้แคล้วคลาด มหาอำนาจ และเมตตามหานิยม

– อฐิษฐานพกไว้เมื่อเดินทาง จะทำให้ปลอดภัย เพราะเชื่อว่ามีวิญญาณเจ้าของกะโหลก และเทพ หรือยักษ์ที่ผู้สร้างได้เชิญมาสถิตย์ เพื่อปกปักรักษาผู้ที่ได้ครอบครอง

– เก็บบูชาไว้กับบ้านเรือน ช่วยเจ้าของบ้านทำมาหากิน ให้โชคลาภ ช่วยดูแลบ้านให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย

– ป้องกันคุณไสย ตลอดจนภูติผีปีศาจ และสัตรูหมู่มารที่คิดร้าย

จงอธิษฐานขอในเรื่องที่เป็นไปได้ ไม่เกินกรรม เช่น การเจรจา ค้าขาย การขอโชคลาภ เป็นต้น…

สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ผู้มีปั้นเหน่งไว้ครอบครอง ไม่ควญลืมเรื่องการหมั่นทำบุญกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้าของกะโหลก เทพยาดา หรือยักษ์ที่สิงสถิตย์ในปั้นเหน่ง ตลอดจนดวงวิญญาณของครูบาอาจารย์ผู้สร้าง ถ้าทำได้ตามนี้เชื่อว่าท่านจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองชั่วกาลนานตลอดไป.

สุดยอด เครื่องรางของขลัง พร้อมอิทธิปฏิหาริย์ที่ได้รับการกล่าวขานถึง คือ ผู้ใดได้บูชา ย่อมเป็นสิริมงคล นำความสำเร็จ ร่ำรวย รุ่งเรือง สู่ชีวิต.

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
080-1259886
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :

SELECT session_id FROM useronline WHERE session_id='c72558b37714a8fca4948508248a7407' and file='/shop-detail.php?shop-id=160&product-id=34530' 145 Table './krueng_db/useronline' is marked as crashed and should be repaired