ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,188 ผู้ชมทั้งหมด :41,555,699 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :2,889

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
1ใน5 แห่งสุดยอดพญายันต์ล้านนา ตะกรุดยันต์นาคเขาคำล้านนา มหาพญานาคราช
ราคา :
เพื่อการศึกษา
รายละเอียด :

"1ใน5 แห่งสุดยอดพญายันต์ล้านนา"


"ตะกรุดยันต์นาคเขาคำล้านนา มหาพญานาคราช"


เนื้อเงินเก่า ยาว4 นิ้ว เส้นสายลายยันต์งดงาม


ดอกนี้เป็นหนึ่งในดอกที่ผมใช้เองประจำตัว 


ได้คลี่ออกให้ชมเป็นวิทยาทาน เพื่อการอนุรักษ์สืบสานตำนานหนึ่งในมหาพญายันต์ล้านนาให้คงอยู่คู่แผ่นดินล้านนาตลอดกาล


ตำราและตะกรุดนาคคอคำนี้ เป็นตำรายันต์ที่มีคู่ชาวล้านนามานานมาก(จากการค้นหา ไม่มีในภาคอื่นที่มีการสร้างยันต์นี้) เดิมทีตำรานี้มาจากเมืองเชียงตุง อาจจะย้อนกลับไปในอดีต ครั้งแรกเริ่มทำการสังคายนาพระไตรปิฏก เหล่าบรรดาพระภิกษุทั้งหลายต้องกล่าวคาถาบูชาเทวดาที่มีฤทธิ์อันเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา โดยที่เทวดาที่มีฤทธิ์เหล่านั้นปรารถนาพระพุทธภูมิและคอยปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อความเรียบร้อยดำเนินไปด้วยดีแห่งการสังคายนาพระไตรปิฎกนี้ กาลเวลาผ่านมาก็เกิดการบูชาพระคาถานี้มากขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลจนมีพระคณาจารย์ในอดีตได้คิดค้นเป็นพระยันต์นี้ขึ้นมาจนมีชื่อเรียกว่า “นาคคอคำ หรือว่า นาคเขาคำ”


และในอดีตก็ได้มีครูบาอาจารย์ที่สืบทอดและสร้างยันต์นี้เท่าที่ค้นประวัติ และที่มีชื่อเสียงคือ


1.ครูบาพระมหาเมธังกร วัดน้ำคือ จ.แพร่ ท่านได้สร้างไว้เป็นระดับตำนานและไม่มีเอกลักษณ์ใดๆ แต่ท่านก็ได้สร้างไว้ ตลอดจนถึงครูบาอาจารย์ในยุคนั้น หรือเก่ากว่านั้นก็ได้สูญหายไปตามกาลเวลา


2.ครูบา ปัญญา วัดบ้านต๋อม จ.พะเยา (เป็นผู้รับประคำครูบาเจ้าศรีวิชัยมาเก็บรักษาไว้ และยังเป็นผู้ที่ถ่ายทอดวิชานาคเขาคำให้กับ ครูบา ศรีนวล วัดเจริญเมือง)


3.ครูบาบุญทา วัดสันป่าเหียง ต.มะเขือแจ้  อ.เมือง จ.ลำพูน (ครูบาหล้า ตาทิพย์ได้เรียนและสืบตำรามา)


5.ครูบาสม วัดป่าแดด ครูบาท่านเรียกว่า ยันต์ นาค หรือ ยันต์สำเภานาค(และผู้เป็นอาจารย์ของพระครูสิริ วัดปากกอง)


6.ครูบาศรีนวล  ญาณสิริ วัดเจริญเมือง อ.พาน จ.เชียงราย ผู้ที่สร้างตะกรุดนาคเขาคำอันลือลั่น


7.ครูบาหล้า จันโทภาโส (ครูบา หล้า ตาทิพย์ ) วัดป่าตึง สันกำแพง เชียงใหม่(ท่านจะทำให้เฉพาะผู้ที่มาขอ และจะลงมือทำให้เฉพาะวันอังคาร ข้างขึ้นเท่านั้น)


8.ครูบาสม วัดโป่งกว๋าว  อ.สะเมิง เชียงใหม่( ท่านก็ได้สร้างไว้ ในตะกรุดชุดน้ำบ่อห่าง ซึ่ง1ในนั้นก็มียันต์นาคนี้ด้วย)


9.ครูบาบุญมา วัดแม่สลาบ สารภี เชียงใหม่


10.ครูบา บุญตัน ไชยะสิทธิ วัดสันมะแปบ อ.สันกำแพง เชียงใหม่


11.ครูบาอิน อินโท ท่านมีตำรา แต่ท่านไม่ได้สร้าง(เท่าที่รู้มา)


และยังมีครูบา สายเมืองแพร่ สายพะเยา และสายจ.น่าน อีกมาก เพียงแค่อักขระผิดเพี้ยนกันไปลักเล็กน้อยเพราะเป็นการสืบทอด ตกทอดกันมานานมากๆนั่นเอง


              ที่เรียกว่ายันต์นาคคอคำ หรืเขาคำนี้คือ ลักษณะ ตัวยันต์เป็นรูปพญานาค คล้ายเรือสำเภา ซึ่งมีหงอนแหลม ประดับด้วย ครองสอ อาจจะบ่งบอกได้ว่าเป็นพญาแห่งนาคทั้งปวงเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนาหรือผู้ที่ศรัทธาพระพุทธศาสนาก็ได้ บนหลังพญานาคเป็นตารางยันต์ที่มีชื่อเทวดาทั้ง4คือ


1.พระยาอินทราอธิปดีราชา


2.พระพรหมราชา


3.อาฬาวะกะยักษ์สิริธรรมมิกราช


4.อสูระราชา หรือ พญามาร


อาจกล่าวได้ว่ายันต์นาคคอคำนี้เป็น1 ใน5 แห่งพญายันต์ ของล้านนาก็ว่าได้


พญายันต์แห่งล้านนามีดังนี้ครับ


1.ยันต์ดาบสรี๋กัญชัย


2.ยันต์ราหู (คุ้มครองดวงชะตา)


3.ยันต์หนีบที่ชื่อว่า (พระยันต์จักรวัตติ แก้วมณีโชติ หรือ อะหิหัสะ)


4.ยันต์นาคคอคำ นาคเขาคำ หรือเรียกว่า ยันต์สำเภานาค


5.ยันต์ใบลานสรี๋ปันต้น เกสรปันใบ


ในส่วนพระพุทธคุณที่โบราณคณาจารย์ท่านได้กล่าวไว้ว่า มีมากบรรยายทั้งวันก็ไม่หมด พอจะสรุปได้ดังนี้คือ


1.จะเป็นเมตตาเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งปวง 

2.อยู่คงต่อศาตราอาวุธ ทุกชนิด 

3.เป็นผู้มีลางสังหรณ์เยี่ยมจะมีเทวดาคอยคุ้มครองแก่ผู้ที่เคารพบูชาพระยันต์นี้และพระพุทธศาสนา 

4.จะทำกิจการงานใดเจริญงอกงาม ร่มเย็นเป็นสุขทั้งตนเองและครอบครัว 

5.เป็นสง่าราศีต่อผู้ที่พบเห็น 

6.จะไม่ถูกทำร้ายด้วย สัตว์ที่มีพิษทั้งปวง 

7.ปราถนาสิ่งใดอธิฐานมักสมด้วยความปราถนานั้นๆ


เครดิตข้อมูล : ขอขอบคุณข้อมูลจาก ร้านอักษรธรรม ทั้งที่ในบันทึกนี้ ตลอดจนความรู้เชิงลึกเพิ่มเติมที่ได้มอบให้มาจากการพูดคุยเสวนาเรื่องเครื่องรางล้านนากันในวันนี้

ขอขอบคุณมากครับ

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
0894303877
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด