ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,183 ผู้ชมทั้งหมด :41,724,939 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :1,252

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ หนังเสือชัดเจน
ราคา :
มาใหม่
รายละเอียด :

หนึ่งในตะกรุดทูลเกล้าถวายองค์ราชัน

"ตะกรุดข้า 500 ทุกดอก ถ้ายิงออกไม่ต้องเอาไป"
อมตะวาจาหลวงพ่อนอ

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ ใบเซอร์สมาคม

ขนาด 2.5 นิ้ว หัวเปิดเห็นหนังเสือชัดเจนยิ่งกว่าชัด ลงรักผสมชาตมันส์มาก

เบญจภาคีตะกรุดหน้าผากเสือของเมืองไทย ดังนี้

1.หลวงปู่นาค วัดอรุณ ธนบุรี

2.หลวงปู่บุญ กลางบางแก้ว นครปฐม

3.หลวงพ่อหว่าง เทียนถวาย ปทุมธานี

4.หลวงพ่อนอ กลางท่าเรือ อยุธยา

5.หลวงพ่อเต๋ สามง่าม นครปฐม


หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา


ประวัติหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ ท่านชาตะ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2435 ณ บ้าน ต.ศาลาลอย อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา โยมบิดาตั้งนามว่า “นอ” อายุ 7 ขวบ ได้เข้าเล่าเรียนอักขระสมัยกับพระสวยที่เป็นหลวงลุงที่วัดกษัตราธิราช และได้บรรพชาเป็นสามเณรที่นั่น อายุครบบวชจึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดศาลาลอย

ได้เล่าเรียนวิชาอาคมกับพระอาจารย์นาคและพระอาจารย์วงษ์ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่มีอาคมแก่กล้า เป็นที่นับถือในหมู่คนทั่วไป โดยพระอาจารย์วงษ์เก่งทางด้านคงกระพัน พระอาจารย์นาคเก่งทางด้านมหาอุด โดยได้ศึกษามาจากสำนักวัดประดู่ทรงธรรมพระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อนอ ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางท่าเรือเพราะญาติโยม ที่เคยเห็นสรรพคุณของท่านมาก่อนได้นิมนต์มาช่วยสร้างวัด เพราะตอนนั้นวัดกลางท่าเรือเป็นวัดที่แทบจะเป็นวัดร้าง หลวงพ่อนอจึงได้ตั้งใจเด็ดเดี่ยวกับกรรมการวัดว่า “ไม่เป็นไรหรอก เมื่อไว้ใจให้ฉันมาช่วยสร้างวัด คอยดูนะฉันจะจารตะกรุดสร้างวัดให้พวกแกดู” การนั้นก็เป็นความจริงในกาลต่อมา โดยที่หลวงพ่อนอท่านลงตะกรุดโทน ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ตามตำรับวิชาการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือจากท่านอาจารย์ที่ประสิทธ์ประสาทวิชานี้ให้กับท่านคือ พระพิมลธรรม (หลวงปู่นาค) แห่งวัดอรุณฯ เจ้าของสมญานามตะกรุดหนังหน้าผากเสืออันดับ๑ ของเมืองไทย

และเพื่อให้ของที่ท่านทำเองมีเอกลักษณ์ มีความแตกต่างจากของอาจารย์ท่านที่พันเชือกมันเป็น 3 ปล้องโดยถักเชือกหุ้มหัวท้ายตะกรุด เท่าที่พบส่วนมากจะถักลายกระสอบเกลียวละเอียด หรือเกลียวห่าง และลายจระเข้ขบฟันก็มีเช่นกัน แกนกลางเป็นตะกรุดเนื้อโลหะ เช่น ตะกั่ว ทองแดง ฝาบาตร เพื่อความแข้งแรงทนทาน

(ดังเช่น ตะกรุดหลวงพ่อพิธที่มีอั่วทองเหลืองเป็นแกนกลางของตะกรุด) แล้วจึงม้วนเข้าหนังหน้าผากเสือ พร้อมทั้งร้อยไหม ๙ สี (แค่ไหมของท่านอย่างเดียวก็ประสบการณ์เหลือล้นแล้วครับ จากคำบอกเล่าของคุณบุญรอด น้อยดี ร้านแดนไทย ปรมาจารย์พระเครื่องเมืองละโว้ เมื่อพูดถึงเรื่อง ของหลวงพ่อนอแล้วเขามักจะพูดให้ฟังว่า ... “โอ้!! ของหลวงพ่อนอนะหรือ ใช้กันเฉพาะเชือกไหม ๙ สีของท่านก็ยอดแล้ว ใช้ได้หลายอย่างไม่ต้องพูดกันละ และเขาก็มีเชือกไหม ๙ สี ของหลวงพ่อนอคาดเอวอยู่ตลอดเวลา”)

แล้วขมวดหัวเป็นบ่วงสำหรับคาดเอวได้ นับว่าเป็นการผสมผสานต่อยอดวิชาการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือ และวิชาลงตะกรุดโทนเนื้อโลหะของท่านรวมกันในดอกเดียว

วัตถุประสงค์ท่านกระทำด้วยเจตนาบริสุทธิ์ ตั้งใจทำอย่างเต็มที่เพื่อหาปัจจัยสมทบทุนสร้างโบสถ์และเสนาสนะซึ่งปีหนึ่งๆทำพิธีใหญ่โต ทำได้ครั้งละไม่มากนัก เนื่องจากวัสดุหายาก คือหนังหน้าผากเสือ (โดยมากต้องสั่งจองกันยาวเป็นบัญชีหางว่าวไปเลย ผู้ได้รับไปแล้วนับว่าโชคดีเป็นอย่างยิ่ง ตะกรุดมีค่าควรเมือง ตีราคาเป็นตำลึงทอง มีค่ามากว่าเงิน 500 มากนักหนา) ปรากฏว่าตะกรุดของท่านท้ายิงได้ทุกดอก ยิงออกไม่ต้องเอาเงินมาทำบุญ ราคาทำบุญจากวัด 500 บาท (ประมาณปี 2495 – 2500) ถือว่าแพงมากในสมัยนั้น ซึ่งเทียบกับราคาทองสมันนั้นบาทละไม่เกิน 300 บาท

และที่สำคัญมีการลองยิงในวัดที่เดียว จึงเป็นประสบการณ์ที่โด่งดังไปทั่วเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ถึงของดีจริง มีค่ามากกว่าทองสามารถคุ้มครองป้องกันภัยได้จริง
ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือเครื่องรางยุคเก่าจัดลำดับให้หนังหน้าผากเสือหลวงพ่อนออยู่ในลำดับยอดนิยมอันดับ ๕ ครับ แต่ปัจจุบันหนังหน้าผากเสือหลวงพ่อนออยู่ในความนิยมอันดับที่ 4 ครับ ตามลำดับดังนี้ -หลวงปู่นาค - หลวงปู่บุญ –หลวงพ่อหว่าง – หลวงพ่อนอ – หลวงพ่อเต๋


เกร็ดประวัติที่มาของตะกรุดหน้าผากเสือ
รุ่นทูลเกล้า กล่าวคือ


หลวงพ่อนอท่านได้เมตตาลงตะกรุดหนังหน้าผากเสือถวายพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2495 (จากบันทึกของสำนักราชเรขาธิการ ลงวันที่ถวาย 10 สิงหาคม 2495 และพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดไตรครองนำมาถวายหลวงพ่อนอ 1 ชุด ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2496)

แต่เดิมนั้นหลวงพ่อนอท่านสร้างจะใช้แต่หนังเสือเพียงอย่างเดียวมาทำการปลุกเสก เมื่อเสร็จก็ทำการแจกจ่ายให้ชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่ในละแวกนั้นนำไปใช้พกติดตัวทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้ตะกรุดโดนเหงื่อเสียรูปทรงง่าย หลวงพ่อคงทราบจากชาวบ้านหรือลูกศิษย์จึงคิดพัฒนาโดยการนำไม้ไผ่มาเหลาไว้เพื่อใช้เป็นแกนกลางก่อนที่จะนำหนังเสือมาพันไว้รอบแกนไม้ไผ่อีกที จากนั้นจึงนำมาถักเชือกลงรัก ซึ่งต่อมายุคหลังๆ แกนกลางจะใช้เป็นโลหะ

การสร้างตะกรุดต่างๆ มีการนำวัตถุหลายๆ อย่าง หลายประเภทมาสร้าง หนังเสือก็เป็นส่วนหนึ่งเพราะเป็นอาถรรพณ์วัตถุศักดิ์สิทธิ์ในตัว มีทั้งเมตตามหานิยม พลังมหาอำนาจ และแคล้วคลาด

ขั้นตอนในการบรรจุวิทยาคมของหลวงพ่อนอ
ซึ่งขั้นตอนในการปลุกเสกไม่มีอาจารย์ท่านใดเหมือนแน่นอน ก่อนปลุกเสกท่านจะใช้เหล้าเพื่อบูชาครู จากนั้นตัวของท่านจะแดงมาก ท่านจะปิดกุฎิปลุกเสกเงียบๆ คนเดียวอยู่ในกุฎิ

ช่วงเวลาปลุกเสกลูกศิษย์จะได้กลิ่นสาปเสืออบอวลทั่วทั้งบริเวณตลอดจนเป็นเรื่องเล่าขานสือต่อมาไม่รู้จบของพิธีกรรมปลุกเสกที่เข้มขลังในยุคนั้น ตะกรุดหนังหน้าผากเสือเป็นเครื่องรางที่มองดูผิวเผินก็ดูจะธรรมดาๆ แต่จริงๆ แล้วทุกท่านก็คงประจักษ์กันมานักต่อนักแล้ว

แม้นจะเป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อหรือประสบการณ์กับตนเองในเรื่องของพุทธคุณไม่เป็นรองวัตถุมงคลใดๆ เลย โดยจะเห็นได้จากปัจจุบันตะกรุดหนังหน้าผากเสือสำนักนี้มีราคาค่างวดสูงมากยิ่งขึ้น แรงแซงทางโค้ง เนื่องจากเจตนาการสร้างดี พุทธคุณเป็นที่ประจักษ์ มีเอกลักษณ์ชัดเจน เป็นมาตรฐาน และเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในวงการเครื่องรางของขลังขณะนี้ครับ

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
0909857494
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด