ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,184 ผู้ชมทั้งหมด :41,674,289 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :13,009

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
ตะกรุด โทน หลวงพ่อธรรมฐี (หลวงพ่อบุญใหญ่) วัดเจดีย์คีรีวิหาร
ราคา :
โทรถาม
รายละเอียด :

...@@ ตะกรุด โทน หลวงพ่อธรรมฐี (หลวงพ่อบุญใหญ่) วัดเจดีย์คีรีวิหาร @@...

 

          +++พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร  (บุญใหญ่  อินทปณโญ) 

 

          " หลวงปู่บุญใหญ่"  เป็นชื่อที่ชาวอุตรดิตถ์  เรียกพระเถระผู้ทรงคุณวุฒิรูปหนึ่งตามสมศักดิ์ของท่าน คือ พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร (บุญใหญ่  อินทปญโญ)  อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์คีรีวิหาร และเจ้าคณะแขวงเอกเมืองพิชัย  มณฑลพิษณุโลก  ท่านเกิดเมื่อวันที่  7  เมษายน  พ.ศ. 2415   บิดาชื่อหม่อม  มารดาชื่อ แก้ว  มีพี่น้องจำนวน  3  คน ได้แก่  นางแตะ  พุฒเนียม  นางคำ  สุขวุ่น  และหลวงปู่บุญใหญ่ (ชื่อเดิม บุญ   พุฒเนียม)

 

ในสมัยวัยเยาว์  หลวงปู่บุญใหญ่ได้มีความสนใจวิชาในทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก  เมื่ออายุได้ 12  ปี   โยมบิดามารดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ของหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์น้อย  วัดป่ายาง (อุปัชฌาย์รูปแรกของอำเภอลับแล)  ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและอักษรล้านนาจนความรู้แตกฉาน  เมื่ออายุได้  15  ปีได้บวชเป็นสามเณร  ท่านเริ่มสนใจในวิชาไสยศาสตร์และเวทมนต์คาถาเป็นอย่างมาก หลวงพ่อพระอุปัชฌาย์น้อยก็เมตตาประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้แขนงต่าง ๆ  ให้หลวงปู่บุญใหญ่จนหมดสิ้น  เมื่ออายุครบ  20  ปี  หลวงปู่จึงได้อุปสมบทหรือเป๊ก  (เป๊ก  หมายถึง  การบวชพระที่เป็นสามเณรโดยที่ไม่สึกเป็นฆาราวาส) โดยมีหลวงพ่อน้อย  วัดป่ายางเป็นพระอุปัชฌาย์  ได้นามฉายาว่า "อินทปญโญ"  ขณะที่บวชเป็นพระ  ท่านได้อยู่ปรนนิบัติหลวงพ่อน้อย ศึกษาพระปริยัติธรรม และปฏิบัติธรรมควบคู่กันไป  ต่อมาจึงได้กราบลาพระอุปัชฌาย์ย้ายมาจำพรรษา และปฏิบัติธรรมที่วัดทุ่งเอี้ยง เพื่อที่จะได้อยู่ใกล้โยมบิดามารดา

 

สมเด็จพระสังฆราช ฯ เสด็จประพาสภาคเหนือ

ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งเอี้ยงหลายพรรษา  จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งเอี้ยง พ.ศ. 2453 สมเด็จพระสังฆราช  กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภูชงค์)  ได้เสด็จประพาสภาคเหนือมาประทับที่วัดทุ่งเอี้ยง  ซึ่งอยู่ห่างจากวัดป่าแก้วไม่มากนัก  พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นเจดีย์เก่า  จึงตรัสถามหลวงปู่ว่า "  นั่นเป็นวัดหรืออย่างไรเห็นเจดีย์เก่าแก่อยู่ " หลวงปู่จึงกราบทูลว่า       "  เป็นวัดร้างมานานแล้ว  ชาวบ้านเรียกว่าวัดป่าแก้ว "  สมเด็จพระสังฆราชจึงตรัสถามหลวงปู่ต่อว่า " วัดร้างนั้นอยู่ในทำเลที่ดีอยู่ในเนินที่สูงไม่มากนัก  พร้อมทั้งเจดีย์เก่าอยู่  ข้าพเจ้าว่าคงเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง  น่าจะบูรณะซ่อมแซมและไปอยู่ที่นั่น  ถ้าท่านจะไปบูรณะและไปอยู่จริงข้าพเจ้าจะตั้งชื่อให้ใหม่ว่า  วัดเจดีย์คีรีวิหาร "    

 

หลังจากสมเด็จพระสังฆราช  กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์   เสด็จกลับไปแล้ว   ในปี พ.ศ. 2454  หลวงปู่บุญใหญ่ และชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมกัยบูรณะซ่อมแซมเจดีย์คงคืนสภาพเดิม  มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  5  วา  สูง  13 วา ขณะที่ซ่อมแซมเเจดีย์ได้พบเครื่องลายคราม  เงินกลม และพระพุทธรูปทองคำ  หน้าตักกว้าง  2  นิ้ว  สูง  3  นิ้ว เป็นจำนวนมาก    หลวงปู่จึงได้นำเอาของมีค่าทั้งหมดนำมาบรรจุไว้ในองค์พระธาตุเจดีย์  และขณะที่กำลังบูรณะอุโบสถ(หลังเก่า)  นั้นได้พบแผ่นศิลาจารึก  1  แผ่น ตัวอักษรในแผ่นศิลาจารึกนั้นอ่านไม่ออก (ไม่ใช่ภาษาไทย) ข้าหลวงอุตรดิตถ์ (ผู้ว่าราชการจังหวัด)  ได้จัดส่งไปไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  เมื่อซ่อมแซมเจดีย์และอุโบสถเสร็จแล้ว  ก็ได้สร้างกุฎิ และศาลาการเปรียญขึ้นอีกหนึ่งหลัง  เมื่อสร้างเสร็จแล้วหลวงปู่ก็ได้ย้ายมาจำพรรษา  ณ  วัดเจดีย์คีรีวิหาร   ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดและเจ้าคณะแขวงเอกเมืองพิชัย  มณฑลพิษณุโลก และได้รับพระราชทานสมศักดิ์ว่า  "  พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร "

 

การสร้างวัตถุมงคล

 

หลวงปู่บุญใหญ่ท่านมีพระที่เป็นพระสหายธรรมที่มีชื่อเสียงหลายท่าน  เช่น  หลวงพ่อคง  วัดบางกะพร้อม ,  หลวงพ่อจง  วัดหน้าต่างนอก  เป็นต้น  ซึ่งมีกไปมาหาสู่กันอยู่บ่อย ๆ จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าวิทยาคมของท่านนั้นสูงส่งไม่ต่างจากสหายของท่าน

 

ท่านได้สร้างพระเครื่องอยู่ประเภทหนึ่งที่ผู้อยู่ในวงการพระเครื่องต่างก็สับสนในเรื่องของที่มา  ได้แก่ พระผงคลุกรัก ซึ่งพระผงคลุกรักนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2470  โดยท่านได้ให้นายช่างทำโบสถ์ที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นมาแกะแบบพิมพ์  โดยใช้ไม้แบบพิมพ์ และท่านยังได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้น  มาร่วมพิธีหลายท่าน เช่น  หลวงพ่อฝ้าย  วัดสนามไชย  อ.พรหมพิราม  จ.พิษณุโลก (เจ้าตำรับกระสุนคด)  หลวงพ่อเรือง  วัดพระยาปันแดน   พระมหาธังกร  วัดน้ำคือ  จ.แพร่   หลวงพ่อนาค  วัดป่าข่อย   และหลวงพ่อฮวบ  วัดสามัคยาราม  เป็นต้น   เมื่อทำพิธีพุทธาภิเษกเสร็จ  หลวงปู่ได้มอบพระผงคลุกรักให้กับพระเกจิอาจารย์เหล่านั้นกลับไปวัดด้วย  จึงทำให้ภายหลังมีผู้ที่ได้รับพระเครื่องเหล่านี้จากมือหลวงพ่อองค์ใด ต่างก็เข้าใจว่าหลวงพ่อองค์นั้นเป็นผู้สร้างและที่พบเห็นกันมากที่สุด คือ จ.พิษณุโลกของหลวงพ่อฝ้าย  วัดสนามไชย  อ.พรหมพิราม

 

      (((ขอบคุณข้อมูลคับ )))^^

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
0836639652–0626154665
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด