ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,185 ผู้ชมทั้งหมด :41,789,082 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :1,009

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
แมลงภู่แบบงาแกะ(งาไม่แช่ว่าน ผิววรรณะขาวนมข้น)
ราคา :
มาใหม่
รายละเอียด :

แมลงภู่แบบงาแกะ(งาไม่แช่ว่าน ผิววรรณะขาวนมข้น) เป็นเครื่องรางสำหรับแม่ทัพนายกองขึ้นไป ตัวจริงหายากและราคาแพง ศิลปะชั้นครูโดยแท้ค่ะ ชิ้นนี้ขนาดตัวเล็ก สภาพสวยเดิมไม่ผ่านการใช้มาแต่อย่างใด เก่า แห้ง มันส์ จี๊ด

 

"แมลงภู่" ชาวล้านนาและชาวไทยใหญ่เรียกขานกันว่า "แมลงปู๊ หรือ แมลงบู๊" มีถิ่นกำเนิดมาจากทางพม่าและทางไทยใหญ่และเข้ามาสู่ดินแดนล้านนา เป็นเครื่องรางที่เรืองอิทธิฤทธิ์ กษัตริย์พม่า คหบดี จนถึงสามัญชน มีติดตัวกันแทบทุกคน

การสร้างแมลงภู่นั้นจะมีการสร้างจากไม้และงา (ไม้สำหรับทหาร และ สามัญชนทั่วไป)

 

ส่วนเนื้องาช้าง สร้างน้อย สร้างไว้สำหรับชั้นแม่ทัพ นายกองขึ้นไป  ไม้จะดุมล้อเกวียน,ไม้แดง,ไม้งิ้วดำ ถ้าเป็นเนื้องาจะใช้งากำจัด (งาช้างตกมันหักคาต้นไม้มาแกะเพื่อเพิ่มผลทางมหาเสน่ห์)

 

ถ้าเป็นเนื้องานั้นจะต้องแช่ด้วยน้ำว่านก่อน (แมลงภู่งาที่ผ่านการแช่น้ำว่าน ส่วนใหญ่งาจึงมีสีออกคล้ำ น้ำตาลแดง หรือ ดำ ) การแช่ด้วยน้ำว่านก่อนนั้น คือ 

1.เพื่อเพิ่มฤทธีทางด้านมหาเสน่ห์

2.เพื่อให้งานั้นอ่อนตัวแกะได้ง่าย ไม่แตกหัก)มาทำการแกะสลักแมลงภู่อย่างวิจิตรงดงามประดุจดั่งแมลงมีชีวิตจริง โดยแมลงภู่จะมีการแกะตั้งแต่ขนาดตัวเล็ก(ตัวลูก)ไปจนถึงตัวใหญ่(ตัวจ่าฝูง ) หรือตัวครู

 

อานุภาพของแมลงภู่มีดังนี้

1.เด่นทางมหานิยมคนรักคนหลง

2.อยู่ดีมีโชค ซื้อง่ายขายคล่อง

3.ป้องกันภยันตรายทั้งปวง

4.ดับอวิชาการทำร้ายด้วยคุณไสย

5.กันโจรภัยได้

6.ปกป้องคุ้มครองภัยที่จะกระทำต่อเด็กเล็ก

7.เดินทางใกล้ไกล กันภูติผีและคนร้าย เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

จะเห็นได้ว่า "แมลงภู่" นี้มีอานุภาพเพียงใดและนี้จึงเป็นเหตุผลให้ "แมลงภู่" ถูกจัดเป็นหนึ่งในสุดยอดเครื่องรางล้านนา

 

:: ขอขอบพระคุณ อาณุภาพแมลงภู่แปลจากตำราโบราณ โดย ผ.ศ.วิลักษณ์ ศรีป่าซาง ที่ปรึกษาชมรมเครื่องรางล้านนา ::

 

:: และขอขอบคุณข้อมูลจาก พี่เชน เชียงใหม่ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ::

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
081-4553363
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด