ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,188 ผู้ชมทั้งหมด :41,555,699 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :2,112

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
ราชสีห์คำรามห้ามอาวุธ อ.เฮง (ดีกรีแชมป์ จารพิเศษ องค์ดารา!!!)
ราคา :
โชว์เครื่องราง
รายละเอียด :

@@@ ยันต์ราชสีห์คำรามห้ามอาวุธ มหาอำนาจ อ.เฮง ไพรวัลย์ 

(ผืนแชมป์งานใหญ่ ห้างพันธุ์ทิพย์ ปี 57 องค์ดารา ลงในเพจ..,ฅนขลัง คลังวิชา 

=>> สำหรับสายบู๊ สายอาจารย์เฮง ต้องสักชาดราชสีห์..,ที่แผ่นอก!!! 

****** มีจารดินสอ ลงพิเศษ 6 จุด ; นะโมกขศักดิ์ , นะ โม พุท ธา ยะ ****** @@@

================================

สร้างประมาณปี 248 กว่า มีจารดินสอบริเวณระหว่างหลังกับหางสิงห์ ลงยันต์เช่นเดียวกับเหรียญพรหมสี่หน้าของท่าน

ที่มาของยันต์ราชสีห์คำรามห้ามอาวุธ คือ ยันต์ ๓ แถว ที่สิงห์คำรามเป็นคาถาพระเจ้าห้ามอาวุธ ดังนี้ =>>

"สัตถาทะนุง อากัตทิตุงทัตตะวา วิสะเชตุงทานาสิ ทานาสิ" 

นะเทพรัญจวน ยันต์เกราะเพชร ยันต์พระเจ้า ๑๖ พระองค์

ยันต์..."โส" รัตนมาลา

(บทเต็มของโส =>> "โสกาวิระตะจิตโตโย โสกัปปัตเตปะโมเทนโต โสภะมาโนสะเทวะเก โสภะวัณณังนะมามิหัง"

ภาวนาทุกวัน ตามกำลังวัน ป้องกันอันตราย ทุกข์ภัยพิบัติ สารพัดเหล่าภัย ศัตรูทั้งหลาย แคล้วคลาดห่างไกล)

เมอะมะอุ

อักขระรอบในผ้ายันต์ ลงบท...

"นะมัตโตเทวะพรหมเมหิ นะระเทเวหิสัพพะทา นะทันโตสีหะนาทังโย นันทะวันตังนะมามิหัง"

อักขระรอบนอกผ้ายันต์ ลงบท...

"ตะมัตถังปะกาเสนโต ตัวกูคือพระยาราชสิงโห กูก็มีตะปะเตชะ ดังพระยาไกรสรสิงหะชะติ 

โอมะสิทธิจิตตัง จิตติตะวัง พุทธะรัตตะนัง ธัมมะรัตตะนัง สังฆะรัตตะนัง

อิทธะเจตะโสทัลหังคันหาหิถามมัสสา นะชาลิติ อุออิงอะอิ จิตตังวา คันทะนังวา พานิชโชวา พานิชชาวา เอหิ เอหิ เอหิ เทวานติ ปิยังมะมะ"

============================

หากจะพูดถึงฆารวาสผู้เรืองเวทย์วิทยาคมแห่งเมืองกรุงเก่า หลายท่านคงนึกถึงท่านอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ ด้วยว่าท่านเป็นผู้มีความรู้และศึกษาตำรับตำราสายวัดพระญาติและวัดประดู่โรงธรรมอย่างแตกฉานท่านหนึ่ง วัตถุมงคลที่ท่านอาจารย์เฮงจัดสร้างก็เป็นที่นิยมเสาะหาในวงการพระเครื่อง ท่านอาจารย์เฮงลอยเรืออาศัยอยู่ในคลองข้าวเม่าบริเวณหน้าวัดสะแกจึงมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับหลวงปู่สี และพระในวัดสะแกเป็นอย่างดี

(Cr..,พี่วิรัตน์ ท่าพระจันทร์ , พี่นัท แฟนพันธุ์แท้ , เพจฅนขลัง คลังวิชา)

===============================

ஐ สีหราชมหาอำนาจ ஐ
.. อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ ..
❀❀❀❀❀❀❀❀
............
หากกล่าวถึงฆราวาสผู้เรืองอาคมแห่งเมืองกรุงเก่านั้นมีหลายท่าน แต่ฆราวาสผู้เลื่องลือทางสร้างวัตถุมงคลได้ประณีตงดงาม ทั้งเชื่อถือว่าวัตถุมงคลของท่านทุกชิ้น ที่ผ่านการปลุกเสกแล้วนั้น เปี่ยมพุทธคุณสูงยิ่งอย่างไม่ต้องสงสัย อาจารย์ฆราวาสท่านนี้ คือ อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ อาจารย์ดีศรีอยุธยา ท่านเคยบวชและศึกษาวิชาอยู่กับ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม เรียนรู้วิชาไว้ได้มากมายหลายอย่างทั้งทำได้ขึ้นขลังมาก จัดเป็นผู้มีอัจฉริยะภาพในทางวิทยาคุณอย่างเอกอุ มีความสามารถจดจำคาถาอาคมต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วเหนือผู้อื่
............
ขนาดหลวงพ่อกลั่นองค์อาจารย์ยังออกปากชมไม่ขาด ว่ากันว่าสมัยที่หลวงพ่อกลั่นชราภาพแล้ว เคยมีฅนโดยผีเข้าสิงญาตินำมาให้หลวงพ่อกลั่นแก้ไข ปรากฏว่าผีตนนี้แข็งมากประกอบกับหลวงพ่อกลั่นท่านไม่แข็งแรง จึงเสียเวลาไล่อยู่เป็นนานหลวงพ่อกลั่นท่านเหนื่อย ท่านพิจารณาแล้วให้ศิษย์ไปตามอาจารย์เฮงซึ่งบวชอยู่ในขณะนั้น ปรากฏว่าอาจารย์เฮงให้พาฅนป่วยไปที่กฏิท่าน แล้วท่านใช้ไม้หวายเคะที่พื้นกระดานภาวนาครูหนึ่ง แล้วท่านใช้นิ้วชี้ใส่ร่างผู้ที่ผีนั้นสิงอยู่ ผีที่สิงร่างอยู่ก็ร้องลั่นดัง วี๊ด !! ล้มหงายหลังลงนอนแผ่ ผีออกอย่างง่ายดาย อาจารย์เฮงเสกด้ายสายสิญจน์ผูกข้อมือแล้วให้กลับไป 
............
❀❀❀❀❀❀❀❀
............
ภายหลังหลวงพ่อกลั่นท่านออกปากชมศิษย์ผู้นี้มากว่า **เราไล่จนเหนื่อยแทบแย่ ท่านเฮงไล่แผล็บเดี๋ยวออก ท่านเฮงนี้ไม่ธรรมดา** ว่ากันว่าหากอาจารย์เฮงไม่ลาสิกขา ท่านอาจารย์เป็นตัวแทนของหลวงพ่อกลั่นเลยก็ว่าได้ แต่ด้วยความที่ท่านชอบศึกษาไสยเวทย์เรียกว่าเรียนหมดใครว่าดีต้องเรียน ทำให้อาจารย์เฮงท่านออกจะเป็นฅนร้อนวิชา ทั้งวิชาบางอย่างขัดกับเพศสมณะท่านจึงตัดสินใจลาสิกขา แต่เมื่อลาสิกขาแล้วท่านก็ยังถือศีลภาวนาไม่เคยขาด ท่านย้ายที่อยู่บ่อยลักษณะแบบฅนร้อนวิชา 
............
สมัยที่ท่านอาจารย์เหม เวชกร มาเป็นศิษย์หลวงปู่เดินหน เคยเล่าถึงเรื่องอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ ไว้ให้ศิษย์หลวงปู่เดินหนฟังว่า **อาจารย์เฮงท่านเป็นผู้มีอัจฉริยะภาพสูง เป็นผู้ที่มีความรู้ไปเสียหมดทั้งสิ้น แม้นเรื่องอาหารการกินท่านยังเชี่ยวชาญ เรียกว่าปรุงอาหารได้ไม่แพ้แม่ครัวใหญ่เลยทีเดียว แม้นวิชาต่อช้างจับช้างท่านก็รู้และเชี่ยวชาญมาก ภายหลังเมื่ออาจารย์เฮงถึงแก่กรรม ยังได้นำตำราต่อจับช้างของท่านมาตีพิมพ์หาทุนในงานศพท่าน** อาจารย์เฮงท่านเป็นฅนไม่โลภ ไม่สนใจสะสมสมบัติใดเลย อาศัยพักในเรือล่องไปผูกเรืออาศัยนอนในคลองตามความสุขท่าน 
............
❀❀❀❀❀❀❀❀
............
อาจารย์เหม เวชากร เคยเล่าว่าอาจารย์เฮงเคยสอนท่านให้พิจารณาบ้านเรือนที่พัก โดยให้ทำจิตเป็นสมาธิให้สงบไม่สอดสาย แล้วอธิษฐานขอบารมีครูบาอาจารย์แสดงนิมิต หากเดินเข้าบ้านหลังใดแล้วรู้สึกปรอดโปร่ง ชุ่มชื่นมีกระแสเย็น บ้านหลังนั้นเจ้าที่ดีบ้านดีอยู่แล้วเจริญร่มเย็นเป็นผลทางดีงาม หากบ้านใดเดินเข้าไปแล้วแน่นหน้าอก หายใจขัดอึดอัดสับสน หรือให้ร้อนหน้าร้อนกายวูบวาบ หรือเข้าไปแล้วมีความรู้สึกคล้ายไฟดูดเบา ๆ อย่างนี้ เจ้าที่ไม่ดีหรืออาจมีวิญญาณร้ายแอบแฝงอยู่ในที่แห่งนั้น มีวิญญาณหวงที่แห่งนั้นหรือไม่อาจไปผุดเกิดได้ วิญญาณพวกนี้มักให้ผลร้ายไม่อำนาจความเจริญแก่ผู้อยู่อาศัย ไม่บ้านหลังใดรู้สึกในทางร้ายท่านให้เลี่ยงเสียอย่าไปซื้อหรือใช้อยู่อาศัย ค้าขายก็ไม่เจริญงอกงามกับที่ประเภทนี้ 
............
อาจารย์เหม เล่าว่าคราวหนึ่งท่านไปดูบ้านหลังหนึ่งเพื่อซื้อ เมื่อจะเข้าไปได้ทำตามที่อาจารย์เฮงแนะนำ ปรากฏว่าเมื่อเดินเข้าไปรู้สึกร้อนรุ่มไม่สบายตัว พอเดินขึ้นไปบนชั้นสอนความรู้สึกยิ่งอึดอัดรุ่มร้อน ท่านจึงเดินออกจากบ้านหลังนั้น ตัดสินใจไม่ซื้อบ้านหลังนั้นแม้นภายนอกจะดูดีแถมราคาไม่แพง ภายหลังท่านอดสงสัยไม่ได้จึงย้อนกลับมาสอบถามบ้านใกล้เคียง ได้ทราบความจริงว่าบ้านหลังนั้นเคยมีผู้คอตายที่ชั้นสอง ใครมาอยู่ก็ไม่ได้นานมักทะเลาะเบาะแว้งหรือมีเหตุต่าง ๆ เรียกว่าเฮี้ยนและผีดุว่าอย่างนั้น แต่นั้นมาอาจารย์เหมจึงเชื่อมั่นและใช้วิชาของอาจารย์เฮงแบบนี้มาตลอด เรื่องราวลี้ลับเหล่านี้บางครั้งก็ส่งผลได้ หากเรียนรู้วิชาเหล่านี้ไว้ก็เห็นว่าน่าจะดีไม่น้อยสำหรับ ไม่ต้องไปเรียกอาจารย์ที่ไหนมาพึ่งตนเองได้ก็ดีเหมือนกัน 
............
❀❀❀❀❀❀❀❀
............
สมัยหนึ่งอาจารย์เฮงท่านเข้ามาอยู่ในพระนคร เพราะลูกศิษย์ลูกหาท่านสมัยนั้นเป็นนายทหาร และเจ้าใหญ่นายโตผู้มากบารมีก็มาก ได้เชิญท่านมาพักที่ตรอกพระยาเชียงเพชร ใกล้วัดของหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข) ซึ่งก่อนหน้านั้นพวกคณะราษฎร์เป็นศิษย์ของอาจารย์เฮงหลายฅน ต่อมาศิษย์อาจารย์เฮงจึงมีมากมายทั้งข้าราชการ พ่อค้าวานิช จนถึงนักเลงหัวไม้ สมัยก่อนพวกรถลาก (รถเจ๊ก) ปากตรอก เมื่อเห็นชายหนุ่มลงจากรถราง จะรีบตะโกนถามว่า **บุ๋น หรือ บู๋** ถามแค่สองสำนัก
............
ความหมายของบุ๋น คือ หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน ท่านเก่งทางเมตตา ค้าขาย โชคลาภ ผู้สร้างพระปิดตาอันโด่งดัง
............ 
ความหมายของบู๊ คือ อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ ที่ต้องเข้าลึกไปเกือบสุดตรอก ผู้ที่มาโดยมากมาขอทางเหนียวคง มหาอำนาจ 
............
เหตุนี้ใครชอบทางเจ้าชู้เมตตาเข้าไปวัดเชิงเลน ส่วนทางบู๊ต้องอาจารย์เฮงท่านขลังจัด สำนักอาจารย์เฮงจะสักรูปหนุมาน ๘ กร, สักสังวาลเพชร, สักราชสีห์ด้วยชาดสีแดงที่ผ่านอก โดยมากทหารหรือตำรวจข้าราชการทางปราบปราม ทั้งเจ้านายผู้ต้องการทางอำนาจอาจารย์เฮงจะสักรูปราชสีห์ด้วยชาดสีแดง บางฅนไม่อยากเห็นรูปสักท่านจึงจะลงน้ำมันงา แต่ว่าความขลังสู้แบบชาดแดงไม่ได้ ชาดแดงเป็นของสูงหากนำมาเสกใช้สักวิเศษนัก ซึ่งก็มีบ้างที่ไม่อยากสักยันต์บนแผ่นหนัง ภายหลังจึงมีศิษย์ขอให้อาจารย์เฮงลงยันต์เป็นแบบ แล้วจึงไปทำเป็นแบบพิมพ์ลงบนผืนผ้า 
............
❀❀❀❀❀❀❀❀
............
ผ้ายันต์อาจารย์เฮงชนิดพิมพ์นี้ลงด้วยสีแดงผสมชาดแดง พิมพ์ลงบนผ้า โดยอาจารย์เฮงเป็นผู้ปลุกเสกเอง ทั้งเสกลงธาตุและเปิดทวารลงอาการ ๓๒ ครบตามตำราทุกผืน เพราะอาจารย์เฮงท่านยึดมั่นตำรามาก ทำอะไรประณีตไม่ยอมให้ใครลงแทนเลย ท่านทำของต้องดีที่สุดทั้งรูปลักษณ์ต้องงดงาม เห็นได้ว่าของท่านอาจารย์เฮงทุกอย่างศิษย์งดงาม และการสร้างทำประณีตมากทุกอย่าง เรียกว่าท่านเก็บทุกรายละเอียดไม่มีบกพร่องเลย เหตุนี้ของขลังของท่านจึงเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน จัดเป็นฆราวาสที่สร้างของขลังมีค่านิยมในการสะสมสูงสุดก็ว่าได้ ผ้ายันต์ราชสีห์แบบนี้หากไปพบที่ใด ขอให้ทราบไว้ว่านี้เป็นผ้ายันต์ราชสีห์ของอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ สุดยอดฆราวาสแห่งเมืองกรุงเก่า จึงนำมาลงไว้ให้ทุกท่านได้ศึกษากันดังนี้
............
❀❀❀❀❀❀❀❀
สนใจบทความติดตามได้ 
โดยกด ==>>✪Likeเพจ✪<< == 
ทุก ✪Like/Share✪ คือกำลังใจ
ขอบพระคุณทุกท่านที่สนใจ •:*
❀❀❀❀❀❀❀❀
..........
เขียน / เรียบเรียง โดย : ฅนขลัง คลังวิชา
..........
Cr. ภาพประกอบบทความจาก
คุณวิรัตน์ ท่าพระจันทร์

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
0858798569
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด