ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,188 ผู้ชมทั้งหมด :41,555,699 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :1,422

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
@@@ จัดโปรปีใหม่ 2562 HNY 2019 (รายการที่ 34) @@@
ราคา :
33000
รายละเอียด :
@@@ จัดโปรปีใหม่ 2562 HNY 2019 (รายการที่ 34) @@@

(ราคาทุนโปร วันพ่อ..,33,000.-)

Tel..,085-8798569

================================

@@@ รูปซีเปีย หลวงปู่ศุข “พระครูพรหมนคร บวรราชมุนี ชินสีห์ภาณุวัฒน์ สังฆปาโมกข์" วัดป่าหวาย สิงห์บุรี @@@

เจ้าของเหรียญ ปี๒๔๖๕ เหรียญเก่าแก่ที่สุดของ จ.สิงห์บุรี

วัดป่าหวาย ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๙๑ บ้านโรงช้าง หมู่๑ ต.โรงช้าง อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

วัดป่าหวาย เดิมชื่อ "วัดคงคาเดือด" ใครเป็นผู้สร้างวัดคงคาเดือดไม่มีหลักฐานปรากฏ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๔๒๐ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๕) วัดดั้งเดิมตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศตะวันออก เป็นที่น้ำแทง น้ำเซาะ และตลิ่งหน้าวัด ได้พังเข้ามาในเขตวัดประมาณ ครึ่งวัด

ต่อมาเมื่อปี ๒๔๗๕ นายไล้ ชอบใช้ และนายเที่ยง ฉายวิโรจน์ ได้ถวายที่ดินให้ตั้ง "วัดป่าหวาย" แห่งใหม่ ซึ่งห่างจากที่ดินเก่าเพียง ๓๐๐ เมตร และได้ย้ายมาตั้งบนที่ดินแห่งใหม่ ปัจจุบันวัดป่าหวายมีเนื้อที่ ๒๑ ไร่ ๓ งาน ๑๓ ตารางวา

เมื่อ "วัดคงคาเดือด" เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดป่าหวาย" ได้มี หลวงปู่ศุข เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกในนามใหม่วัดป่าหวาย ซึ่งท่านเป็นพระคณาจารย์ที่แก่กล้าด้านคาถาอาคม และเชี่ยวชาญทางไสยเวทในทุกๆ ด้าน เป็นที่เคารพนับถือของสาธุชนทั่วไปเป็นอย่างสูง

ในด้านประวัติโดยสังเขปของ หลวงปู่ศุข เท่าที่สืบค้นได้นั้น ท่านมีนามเดิมว่า “ศุข ชลประทาน” เป็นชาวเมืองพรหมบุรี (สมัยต่อมาเมื่อพ.ศ.๒๔๓๘ เมืองพรหมบุรีถูกกำหนดมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของ จ.สิงห์บุรี) ท่านชาตะวันพฤหัสบดี ปี ๒๓๗๕

ท่านมีใจฝักใฝ่ทางพุทธศาสนามาตั้งแต่เยาว์วัย จึงเริ่มเข้าสู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์โดยการบวชเณร เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยไม่ได้มีการบันทึกไว้ว่า ท่านอุปสมบทที่วัดไหน และใครเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับสมญานามว่า “พรหมรังสี” เหมือนกับสมญานามของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี

หลังจากนั้น หลวงปู่ศุขได้ออกธุดงควัตรไปในป่าทั่วประเทศเพื่อฝึกจิตให้เข้มแข็งและโปรดเวไนยสัตว์ทั่วไป พบพระคณาจารย์ท่านใดที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็จะฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาคาถาอาคมและวิชาไสยเวท จนมีความเชี่ยวชาญในทุกด้าน

ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าหวาย ได้เป็นพระอุปัชฌาย์และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น “พระครูพรหมนคร บวรราชมุนี ชินสีห์ภาณุวัฒน์ สังฆปาโมกข์" ตำแหน่งเจ้าคณะเมืองพรหมบุรี และได้รับพัดยศพิเศษด้ามงาช้างพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ในฐานะพระฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระฝ่ายอรัญวาสี (พระป่าที่ปฏิบัติบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานอยู่เป็นนิจ)

หลวงปู่ศุข เป็นพระคณาจารย์ที่ทรงอภิญญาสมาบัติ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม มีพลังจิตที่สูงอย่างเลิศล้ำ แม้แต่ไก่ป่าท่านยังเลี้ยงจนเชื่อง

เวลาเช้า ขณะท่านเดินออกบิณฑบาตจากญาติโยม ไก่ป่าที่ท่านเลี้ยงไว้ จะเดินตามท่านไปเป็นฝูง เป็นภาพที่แปลกตาและพบเห็นได้ยาก

นอกจากนี้ท่านยังแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ เช่น หายตัวได้ ร่นระยะทางได้ รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า เสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตน เสกกิ่งไม้เป็นเรือใช้ข้ามแม่น้ำ ฯลฯ เป็นต้น

ในด้านวิชาไสยเวท ท่านเชี่ยวชาญทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นมหาอุด แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม และแก้คุณไสย กำราบภูตผีปีศาจต่างๆ

กิตติศัพท์ของท่านจึงเลื่องลือไปไกลแสนไกล แม้แต่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ก็ยังโปรดและนิมนต์ให้เข้าวังไปสนทนาธรรม และเข้าร่วมพระราชพิธีทางพุทธศาสนาอยู่เสมอ

หลวงปู่ศุข มีความคุ้นเคยและเป็นสหธรรมิกกับ ท่านเจ้ามา (พระพุฒาจารย์มา) เจ้าอาวาสรูปที่ ๗ ของวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) กทม.

เนื่องจากไปพบกันขณะออกธุดงควัตร มีการแลกเปลี่ยนวิชาไสยเวทและไปมาหาสู่กันอยู่เสมอเป็นประจำ คราใดที่วัดสามปลื้มมีการปลุกเสกวัตถุมงคล จะนิมนต์หลวงปู่ศุขให้ไปปลุกเสกร่วมกับท่านเจ้ามาอยู่เสมอ เช่น การปลุกเสกพระชัยวัฒน์ของท่านเจ้ามา เป็นต้น

ในด้านอายุนั้น หลวงปู่ศุข มีอายุแก่กว่าท่านเจ้ามา ๕ ปี (ท่านเจ้ามา ชาตะพ.ศ.๒๓๘๐)

อนึ่ง ในช่วงที่ท่านเจ้ามาเป็นเจ้าอาวาสวัดสามปลื้ม โดยมี ท่านมุ้ย (พระมงคลทิพมุนี) เป็นรองเจ้าอาวาส และเป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมของท่านเจ้ามา

ซึ่งท่านมุ้ยนี้มีความเคารพศรัทธาในตัวหลวงปู่ศุข มากและได้ขอศึกษาวิชาไสยเวทจากท่านไปหลายอย่างด้วยกัน

เมื่อท่านเจ้ามามรณภาพลงเมื่อปี ๒๔๕๗ สิริอายุ ๗๘ ปี ท่านมุ้ยก็ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ ๘ ของวัดสามปลื้ม ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ในด้านวัตถุมงคล หลวงปุ่ศุข ได้จัดสร้างขึ้นหลายประเภท เช่น ตะกรุด เด่นทางมหาอุด คงกระพันชาตรี เบี้ยแก้ เด่นทางแก้คุณไสย ถอนพิษอสรพิษ ป้องกันภูตผีปีศาจ สีผึ้ง เด่นทางโชคลาภ เมตตามหานิยม และเหรียญรูปเหมือน เด่นทุกทาง

กล่าวสำหรับ เหรียญรูปเหมือนของหลวงปู่ศุข มีลักษณะเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ มีหยักด้านข้าง มีหูในตัว ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ศุขนั่งเต็มองค์ หันหน้าตรง ห่มคลุมรัดอก มือทั้งสองข้างประสานไว้ที่หน้าตัก เบื้องล่างมีโบสะบัดชายทั้งสองข้าง และมีตัวอักขระขอมอ่านได้ว่า “พรหมรังสี” ซึ่งเป็นสมญานามทางสงฆ์

 

 

 
 
 

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
085-8798569
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด